ISID Thailand เปิดตัวสถานะ Siemens PLM Platinum Partner ดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Smart Factory

ISID Thailand เปิดตัวสถานะ Siemens PLM Platinum Partner ดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Smart Factory

อัปเดตล่าสุด 7 ก.พ. 2565
  • Share :
  • 5,766 Reads   

ISID Thailand พร้อมดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Smart Factory เปิดตัวสถานะ Siemens PLM Platinum Partner เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย

นาย Kenichi Karasawa กรรมการผู้จัดการ บริษัท ISID Thailand เปิดเผยว่า “เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตจะมีส่วนสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสู่ Smart Factory ได้รวดเร็วขึ้น”

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2021 ISID South East Asia (Thailand) Company Limited ร่วม Siemens Industrial Limited - Digital Industies Software จัดแถลงข่าวการประกาศแต่งตั้ง ISID Thailand ขึ้นเป็น “Siemens PLM Platinum Partner” โดยนาย Kenichi Karasawa กรรมการผู้จัดการ ISID Thailand รับมอบโล่จาก นายสมบูรณ์ อนันตธนะสาร หัวหน้าส่วนธุรกิจซอฟต์แวร์ Siemens Industrial Limited ซึ่ง ISID Thailand เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้รับสถานะนี้ และด้วยระดับพันธมิตรที่พิเศษนี้ก็จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งจากความร่วมมือกับ Siemens หรือจากแคมเปญของ ISID 

ทำไม ISID Thailand จึงได้รับสถานะ Siemens PLM Platinum Partner 

ISID Thailand นำซอฟต์แวร์ของ Siemens เข้ามาช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา ทำให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรมอย่างมาก และในปี 2021 ซึ่งเป็นอีกปีที่ท้าทายจากสถานการณ์การระบาดของโควิดนี้เอง ISID Thailand ยังคงมุ่งมั่นทำให้ประสบความสำเร็จในโปรเจคต์ใหญ่กับผู้ผลิตยานยนต์รายหนึ่ง และนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ได้รับสถานะ Siemens PLM Platinum Partner 

นาย Kenichi Karasawa เล่าว่า “บริษัทแม่ของเราคือ ISID Japan ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1975 โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Dentsu ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทโฆษณาชั้นนำของโลก และ General Electric จากสหรัฐอเมริกา

ISID Japan เป็นผู้บุกเบิกด้านซอฟต์แวร์ CAE ในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นผู้บุกเบิกในการนำซอฟต์แวร์ I-deas ของบริษัท SDRC เข้ามาจัดจำหน่ายในญี่ปุ่นตั้งแต่เมื่อ 46 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน I-deas ได้ถูกพัฒนาเป็นโปรแกรม 3DCAD “NX” และผู้ที่รับช่วงการพัฒนานี้ก็คือ Siemens”

ด้วยประสบการณ์การทำงานกับซอฟต์แวร์ Siemens ซึ่งได้ผ่านช่วงแห่งการพัฒนาของซอฟต์แวร์มาอย่างยาวนาน ทำให้ ISID มีความเชี่ยวชาญทั้งความรู้และทักษะของการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ได้อย่างเต็มที่ และการนำพาโรงงานต่าง ๆ เปลี่ยนผ่านเพื่อนำซอฟต์แวร์มาใช้งานอย่างราบรื่น 

การได้รับการยอมรับในฐานะ Siemens PLM Platinum Partner ของ ISID Thailand ในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิตไทย ด้วยประสบการณ์จากการบริการลูกค้าที่ประสบความสำเร็จหลายรายทั่วโลกของ Siemens และองค์ความรู้อันยาวนานของ ISID 

ทั้งสองสิ่งนี้จะช่วยในการแก้ปัญหาและทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเข้าใกล้ความเป็น Smart Factory ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่ความต้องการปรับแผนการผลิตที่ซับซ้อนให้เหมาะสมและง่ายดายในเวลาอันสั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา

นายสมบูรณ์ อนันตธนะสาร เปิดเผยว่า “การได้รับสถานะ Siemens PLM Platinum Partner ได้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างจริงจัง และความพร้อมของบุคคลากรที่มีคุณภาพ 

ซึ่งที่ผ่านมา ISID ได้ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของ Siemens ทำให้เราสามารถสนับสนุนด้านการออกแบบ การวางแผน ไปจนถึงการผลิตได้ด้วยซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น NX, Teamcenter, Tecnomatix, Opcenter Advance Planning and Scheduling, MindSphere, และอื่น ๆ อีกมาก”

ความเหนือชั้นของ Siemens software

ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา Siemens ได้ลงทุนด้านซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมมากกว่า 1 หมื่นล้านยูโร เพื่อทำให้เป็นผู้นำทั้งทางด้าน Automation และ Digitalization ซึ่ง Siemens ก็ได้รับการยอมรับในด้านความเลิศทางวิศวกรรม นวัตกรรม และความน่าเชื่อถือ 

Siemens เป็นบริษัทเดียวที่สามารถทำ End-to-End Solutions ให้กับลูกค้าได้ ตั้งแต่ซอฟต์แวร์เพื่อกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์, CAD/CAM, Engineering Simulation ในด้าน Mechanical และ Electrical, ไปจนถึง Digital Twin 

PLM Software ของ Siemens จึงครอบคลุมทุกกระบวนการของอุตสาหกรรมการผลิต ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการผลิต ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำของโลกที่ถูกสะสมและนำมาใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัท

Siemens software ไม่จำกัดแค่เพียงอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วน แต่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นข้อพิสูจน์ถึงความแตกต่างระหว่างซอฟต์แวร์ของ Siemens และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ในตลาด

สิ่งที่เป็นจุดแข็งก็คือ ความเข้ากันได้ระหว่าง 3D CAD NX และ PLM Teamcenter ซึ่งมีประสิทธิภาพโดดเด่นโดยไม่จำกัดอยู่แค่การออกแบบเครื่องจักรกล แต่ยังรองรับการออกแบบระบบไฟฟ้า และซอฟต์แวร์อีกด้วย

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ของ Siemens ยังมีศักยภาพในการตอบสนองต่อยุคสมัยของ Digital Transformation หรือ DX ที่ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้จะเข้ามาสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดได้ ช่วยให้สายการผลิตมีความยืดหยุ่น รองรับการผลิตที่หลากหลาย สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ไปจนถึงซอฟต์แวร์ Xcelerator ที่สนับสนุนผู้ผลิตทั้งด้าน Digital Twin, การผลิต, และประสิทธิภาพการผลิตอีกด้วย

ความท้าทายของการเดินทางสู่ Smart Factory

ในปัจจุบันที่สิ่งต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายเช่นนี้ ผู้ประกอบการที่ผลิตแบบเดิม ๆ ย่อมไม่อาจอยู่รอดในตลาดได้หากคู่แข่งมีการปรับตัวก่อน ธุรกิจที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงเป็นธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่จะมีการปรับตัวในด้านการผลิตให้เข้าสู่ยุคของ Smart Factory ด้วยการนำเทคโนโลยี Digitalizaton และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กร

นายสมบูรณ์ เปิดเผยว่า “ในสมัยก่อนเราจะได้ยินว่า “ปลาใหญ่” กิน “ปลาเล็ก” แต่ในยุคสมัยนี้กลายเป็นว่า “ปลาเร็ว” กิน “ปลาช้า” ดังนั้น 

อุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว คือ อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

แนวโน้มของการปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดทั้งในไทยและในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ส่วนตัว อุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของ Siemens ก็มีการปรับตัวแล้ว

ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบเดิม ๆ เพื่อให้แข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้ ซึ่งเมื่อเล็งเห็นถึงแนวโน้มนี้แล้ว จะทำให้ผู้ประกอบการเริ่มคิด มองหาจุดยืนของตัวเอง และค้นหาว่าต้องทำอย่างไรจึงสามารถแข่งขันได้ ”

ด้านนาย Kenichi Karasawa กล่าวว่า “ในการปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือ การที่ฝ่ายบริหารของบริษัทแนะนำให้สายการผลิตติดตั้งเทคโนโลยี IoT โดยไม่มีการตั้งวัตถุประสงค์ และ KPI ที่ชัดเจน ทำให้การติดตั้ง IoT อาจจะสิ้นสุดแค่เพียงเป็นเครื่องมือที่ใช้มอนิเตอร์สถานะของเครื่องจักรในสายการผลิต การใช้พลังงาน และอื่น ๆ แต่หลังจากนั้นไม่มีการต่อยอดเพื่อให้การลงทุน IoT คุ้มค่ายิ่งขึ้น

สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการในการปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory คือ การตั้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในช่วง 5 ปี ถึง 10 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยก็คือ ผู้ประกอบการ SMEs หาก SMEs สามารถสร้างเม็ดเงินได้มากก็จะยิ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ได้พัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบ Subscription หรือ สมัครสมาชิก ที่จะกลายเป็นเทรนด์สำคัญทำให้ SMEs ลงทุนได้ง่ายขึ้นและสะดวกกว่าที่ผ่านมา” 

การเข้าสู่ Smart Factory จึงเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเริ่มได้จากจุดที่สำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบัน จากนั้นจึงค่อยพัฒนาต่อเนื่องไปยังจุดอื่น ๆ ต่อไป โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การ Integrate กันของโซลูชันต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องในอนาคต

 

ชมคลิป ISID Thailand เปิดตัวสถานะ Siemens PLM Platinum Partner ดันไทยสู่ Smart Factory