10 แนวโน้ม กระทบภาคการผลิต

10 แนวโน้มด้านเทคโนโลยีและการลงทุนที่จำเป็นต่อภาคการผลิต

อัปเดตล่าสุด 23 ก.พ. 2565
  • Share :
  • 2,567 Reads   

จากการลงทุนด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีมานี้ ทำให้สภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมการผลิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและมีอิทธิพลต่อภูมิทัศน์ในภาคการผลิตแห่งอนาคต 

โดย International Data Corporation (IDC) ได้เผยแพร่การคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมผลิต ฉบับปี 2022 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก *ไม่รวมญี่ปุ่น* ซึ่งระบุถึงการคาดการณ์ 10 อันดับแรกสำหรับระบบนิเวศที่ขับเคลื่อนด้วยการทำงานร่วมกันผ่านการทำงานระยะไกลตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป และการลงทุนด้านไอทีที่สนับสนุนการทำงานอัตโนมัติและการผลิตที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล 

Advertisement

นาย Sampath Kumar Venkataswamy ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัย แผนก Manufacturing Insights แสดงความเห็นว่า ธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตตระหนักถึงความสำคัญของ Digital Tranformation มากยิ่งขึ้น ตอบรับกับการดิสรัปที่เกิดขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อลดความเสี่ยงขององค์กรไปจนถึงการลงทุนด้านดิจิทัล ซึ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคที่ต้องการความรวดเร็ว

การคาดการณ์ 10 อันดับแรกด้านการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ของ IDC ให้คำแนะนำแก่ผู้นำธุรกิจเกี่ยวกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีและการลงทุนที่จำเป็น เพื่อสร้างองค์กรที่คล่องตัว ประสานการทำงาน และมีความยืดหยุ่น ดังนี้

อันดับ 1 : กระบวนการผลิตที่ทำงานได้จากทุกที่ 
ภายในปี 2024 บริษัท 33% ในระดับ A2000 ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะพัฒนากระบวนการทำงานใหม่ทั้งหมดในรูปแบบ Remote-First ซึ่งก็คือการทำงานจากที่ไหนก็ได้ 

อันดับ 2 : การพยากรณ์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ 
ภายในปี 2024 การคาดการณ์ซัพพลายเชนในภูมิภาคนี้ 40% จะเป็นแบบอัตโนมัติผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำขึ้น 5%

อันดับ 3 : ข้อเสนอการให้บริการ 
ภายในปี 2024 ครึ่งหนึ่งของบริษัทรับจ้างผลิตแบบ OEM ระดับ A2000 จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านงานบริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ได้เกินกว่า 90% ขึ้นไป และเพิ่มอัตรากำไรในงานบริการ 5%

อันดับ 4 : Vision จะเป็นเซนเซอร์ที่สำคัญ
ภายในปี 2027 ธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิต 25% ของเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น จะใช้การวิเคราะห์ด้วยภาพในการทำงานเพื่อมุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพ เสริมสร้างประสบการณ์ และความปลอดภัย ซึ่งจะก้าวไปไกลมากกว่าแค่การใช้เเพื่อตรวจสอบคุณภาพและงานรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน

อันดับ 5 : ระบบนิเวศข้อมูล 
ภายในปี 2025 ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นจำนวน 25% จะมีการการแบ่งปันข้อมูลในระบบนิเวศของตัวเอง (คู่ค้า ลูกค้า ซัพพลายเออร์) ซึ่งจะช่วยเพิ่มค่า OEE (Overall Equipment Effectiveness) ของโรงงานขึ้นราว 10% 

อันดับ 6 : การขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในรูปแบบ B2B 
ภายในปี 2024 ธุรกิจการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นจำนวน 60% จะลงทุนในการขายแบบ B2B บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการขายและการตลาดได้ 15%

อันดับ 7: ระบบนิเวศของแอปพลิเคชัน
ภายในปี 2024 ธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิต 60% ของเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นจะมีการใช้งานแอปพลิเคชันร่วมกับพาร์ทเนอร์ในระบบนิเวศของตัวเอง เพื่อปรับปรุงการมองเห็นและประสิทธิภาพการดำเนินงาน และรับรองความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และคุณภาพ

อันดับ 8 : แพลตฟอร์ม Low-code
ภายในปี 2026 กว่า 40% ของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นจะใช้แพลตฟอร์ม low-code พัฒนาแอปพลิเคชันของตัวเองเพื่อเชื่อมต่อการผลิต และลดการติดตั้งโปรแกรมลง 33%

อันดับ 9 : การรวมระบบผ่าน API
ภายในปี 2023 ผู้ผลิตในระดับ A2000 จำนวน 40% จะใช้กลยุทธ์การรวมระบบด้วย API (Application Programming Interface) เพื่อเชื่อมโยงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้เป็นแพลตฟอร์มเดียว เพื่อปรับปรุงความคล่องตัวและการมองเห็นทั่วทั้งองค์กร

อันดับ 10 : เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ 
ภายในปี 2025 ผู้ผลิตในระดับ A2000 จำนวน 40% จะใช้เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับในการลดความเสี่ยงและเพิ่มความโปร่งใส เพื่อตอบสนองต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม

#แนวโน้มเทคโนโลยี #เทรนด์การลงทุน #แนวโน้มอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมการผลิต #เทรนด์เทคโนโลยี #เทรนด์อุตสาหกรรม #Manufacturing #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent 

 

บทความยอดนิยม

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH