Metamobility Metaverse Hyundai

Metamobility ผสาน Metaverse สู่การเดินทาง การใช้ชีวิต และการใช้ในภาคอุตสาหกรรม

อัปเดตล่าสุด 10 ม.ค. 2565
  • Share :
  • 1,869 Reads   

ฮุนได มอเตอร์ เผยแนวคิด Metamobility ที่ผสาน Metaverse สู่การเดินทาง การใช้ชีวิต ไปจนถึงการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ผ่าน Smart Devices ในงาน CES 2022

Advertisement

ฮุนได มอเตอร์ (Hyundai Motor Company) ได้เผยวิสัยทัศน์ภายใต้หัวข้อ “Expanding Human Reach” ภายในงาน CES 2022 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 5 - 7 มกราคม 2022 โดยได้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดการนำองค์ความรู้จากธุรกิจหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการพัฒนาการเดินทางแห่งอนาคต

การเชื่อมต่อโลก และ Metaverse เข้าด้วยกัน ผ่านหุ่นยนต์ และ Metamobility 

Chang Song หัวหน้าแผนก Transportation-as-a-Service (TaaS) จากฮุนได, Ulrich Homann รองประธานบริษัทไมโครซอฟต์, และ Marc Raibert ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท Boston Dynamics ได้ร่วมเสวนาถึงความเป็นไปได้ของ Metaverse และ Metamobility โดยฮุนไดเชื่อว่าในอนาคต Metaverse จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และคาดว่าจะทำให้เกิดความต้องการแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่ก้าวหน้ากว่า Virtual Reality (VR) 

ด้วยเหตุนี้เอง ฮุนไดจึงได้คิดค้นคอนเซ็ปต์ Metamobility ขึ้นมา ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อของ Smart Devices เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสประสบการณ์แบบ VR ได้ในโลกของความเป็นจริง

ฮุนไดคาดการณ์ว่า ยานยนต์อัตโนมัติและรถยนต์ไร้คนขับจะเป็นหนึ่งใน Smart Devices ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ Virtual Space โดยมีหุ่นยนต์เป็นสื่อกลาง เช่น ผู้โดยสารของรถยนต์อัตโนมัติสามารถใช้งาน VR ภายในยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสื่อบันเทิง ห้องประชุม ไปจนถึงแพลตฟอร์มเกม 3 มิติ

สิ่งที่ทำให้ Metamobility ต่างจาก VR ในปัจจุบัน คือ ข้อจำกัดทางเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ VR ไม่ต่างจากการมองภาพ แต่ไม่อาจสัมผัสได้จริง ซึ่งสิ่งที่จะเข้ามาเสริมในจุดนี้ คือ การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และ Digital Twin มาใช้งานร่วมกับเซนเซอร์นานาชนิด ช่วยให้ประสบการณ์ใน Metaverse เหมือนจริงยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี Digital Twin มาใช้จำลองบ้านของผู้ใช้เข้าไปใน Metaverse ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านแม้จะเดินทางไกล หรือใช้ Avatar Robot เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถให้อาหารสัตว์เลี้ยงที่บ้าน ไปจนถึงกอดสัตว์เลี้ยงได้เหมือนตัวเองอยู่บ้านจริง ๆ อีกด้วย

โดยหลักการทำงานคือ ผู้ใช้จะควบคุมหุ่นยนต์ผ่าน Metaverse ซึ่งไม่จำกัดแต่เพียงการใช้งานทั่วไป แต่ยังครอบคลุมถึงการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ใน Smart Factory ซึ่งหากแนวคิดนี้เกิดขึ้นจริง จะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโรงงานในอนาคต ที่การควบคุมหุ่นยนต์ในโรงงานสามารถทำได้โดยง่ายจากทางไกลผ่านหุ่นยนต์และ VR 

Chang Song หัวหน้าแผนก Transportation-as-a-Service (TaaS) จากฮุนได แสดงความเห็นว่า แนวคิด Metamobility จะทำให้ระยะทางไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป 

 

#Metamobility #Metaverse #Hyundai #Smart Factory #เทคโนโลยี #M Report #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH