เรือโดยสารไฟฟ้าอะลูมิเนียม “นพมัลลี” ขนาด 20 เมตร ผลิตโดย สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น คืบหน้า คาดพร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวทะเลภูเก็ต พ.ย. 2563

เผยโฉม “เรือไฟฟ้า” นำร่องวิ่งบริการท่องเที่ยวภูเก็ต พ.ย. นี้

อัปเดตล่าสุด 9 ต.ค. 2563
  • Share :
  • 748 Reads   

“อธิรัฐ” บุกบางปลาม้า ติดตามความก้าวหน้าผลิตเรือไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงานสะอาด พร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวทะเลภูเก็ต พ.ย.นี้

วันที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 11.00 น. นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เดินทางไปยังบริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด ณ ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพื่อเยี่ยมชนสายการผลิตเรือนวัตกรรมไทยและชมการผลิตเรือโดยสารไฟฟ้าของบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด เป็นเรือทะเลขนาด 20 เมตร ที่ได้รับความร่วมมือจากกรมเจ้าท่า, บริษัทบ้านปูฯ รวมทั้ง สวทช.

สกุลฎ์ซี เรือไฟฟ้าลำแรกในไทย

ซึ่งบริษัทมีแผนต่อเรือ จำนวน 2 ลำ เพื่อการท่องเที่ยวทางทะเลในพื้นที่จ.ภูเก็ต และขณะนี้ต่อเสร็จแล้ว 1 ลำ เตรียมส่งมอบกลางเดือน ต.ค.นี้ ส่วนอีก 1 ลำอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยมีกำหนดเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวภายในเดือน พ.ย.นี้

สำหรับข้อมูลของเรือไฟฟ้า มีชื่อเรือ “นพมัลลี” เป็นเรือโดยสารทางทะเลขนาดใหญ่ที่มีสองลำเรือ ใต้ท้องเรือโปร่ง สามารถรักษาความสมดุลของเรือให้มีความคล่องตัวและนิ่ง

โดยมีขนาดเรือ ความยาว 20 เมตร ความกว้าง 6.38 เมตร ความสูง 4.92 เมตร น้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักเรือรวม 35 ตัน ผลิตโดยวัสดุอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติพิเศษ คือ น้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิม ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

สกุลฎ์ซี เรือไฟฟ้าลำแรกในไทย

ภายในห้องโดยสารมีทั้งหมด 78 ที่นั่ง รองรับผู้โดยสารได้สูงสุดเที่ยวละ 90 คน ซึ่งมอเตอร์เรือ เป็นชุดขับเคลื่อนมอเตอร์จำนวน 2 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 250 KW (Max) ยังมีเทคโนโลยีพลังงาน 1.แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 625 กิโลวัตต์ชั่วโมง 2.การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าบริเวณท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต

เวลาในการชาร์จไฟ สามารถชาร์จไฟเต็มใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถแล่นได้ประมาณ 4 ชั่วโมง 30 นาที มีความเร็วเรือมีความเร็วปกติ 15 นอต และความเร็วสูงสุด 17 นอต

และนอกจากนี้บริษัทยังมีโครงการพัฒนายานพาหนะที่สนับสนุนด้านคมนาคมอื่น ๆ เช่น รถโดยสารอลูมิเนียม 7 เมตร ที่มีการออกแบบเพิ่มความแข็งแรง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารซึ่งจะใช้ทดแทนรถตู้, รถเมล์ 12 เมตรต้นแบบดัดแปลงเป็นระบบไฟฟ้าภายใต้โครงการพัฒนารถโดยสารประจำทางในประเทศไทยที่ร่วมมือกับขสมก., กฟน., กฟผ., กฟภ. และสวทช., ระบบแคร่ รถไฟไฮบริดดีเซล และรถไฟรางเบา

 

อ่านต่อ: