Canon ประสบความสำเร็จ ผลิตชิ้นส่วนเซรามิกซับซ้อนสูง ด้วย 3D Printer

อัปเดตล่าสุด 28 พ.ย. 2561
  • Share :
  • 585 Reads   

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน Canon ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยี 3D Printing สำหรับพิมพ์ชิ้นงานเซรามิกที่มีรูปทรงซับซ้อน, โครงสร้างแบบรูพรุน (Pore Structure), และ โครงสร้างแบบกลวง (Hollow Structure) ที่มีความแม่นยำสูง ควบคู่กับกระบวนการเผาที่มีความแม่นยำ และเกิดการหดตัวของเซรามิกน้อยที่สุด โดย Canon ได้ตั้งเป้าพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อ เพื่อให้กลายเป็นมาตรฐานในการผลิตชิ้นส่วนทนความร้อนสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรเป็นหลัก

ที่แล้วมา การพิมพ์งานเซรามิก ต้องใช้เซรามิกที่มีเรซิ่นเป็นส่วนผสม ซึ่งประสบปัญหาการหดตัวของชิ้นงานหลังการเผาไฟมากถึง 20% แต่ Canon ได้พัฒนาวัสดุเซรามิกซึ่งใช้  Aluminium Oxide มาแทนที่เรซิ่น และเหมาะสำหรับระบบ Selective Laser Melting (SLM) ซึ่งใช้กันทั่วไปในงานพิมพ์โลหะ ทำให้ได้เป็นวัสดุเซรามิกที่มีการหดตัวต่ำ และสามารถพิมพ์ชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ

จากการทดลองใช้วัสดุชนิดนี้ในการพิมพ์โครงสร้างแบบรังผึ้ง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 19 มิลลิเมตร พบว่า หลังผ่านการเผาไฟแล้ว มีการหดตัวของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเพียง 0.8% เท่านั้น