10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งปี 2020 โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ (ตอนที่ 2)

อัปเดตล่าสุด 30 ธ.ค. 2562
  • Share :
  • 809 Reads   

หอการค้าไทย เผยแนวโน้ม 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งปี 2020 จากการวิจัยทางธุรกิจ โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เกิดการดิสรัปท์ในหลายมิติ ส่งผลต่อหลายธุรกิจ หอการค้าไทย ได้ออกมาเผยถึงเทรนด์ธุรกิจ หรือธุรกิจดาวรุ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้านี้ บทความก่อนหน้านี้ได้นำเสนอไปแล้ว 5 อันดับแรก มาติดตามกันต่อกับอันดับที่ 6 - 10


ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 6 มีธุรกิจที่น่าจับตามอง 2 ธุรกิจด้วยกัน คือ

“ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม”


 

ปัจจัยสนับสนุน

1) รูปแบบการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว เช่น การสั่งอาหารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Application และบริการส่งถึงที่ หรือการรับจัดเลี้ยงในงานประชุม/งานสังสรรค์
2) การแปลรูปสินค้าอาหารด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ
3) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องดื่มมีมากขึ้น เช่น เพื่อสุขภาพ อาหารฮาลาล อาหาร Fusion Food
4) สังคมเมืองที่เริ่มหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการดูแลภาพลักษณ์ภายนอกมากขึ้น โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้สารอาหารครบ
5) หน่วยงานของรัฐบาลส่งเสริมคนรักสุขภาพและหันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ปัจจัยเสี่ยง

1) ปัญหาภัยธรรมชาติ ส่งผลให้สินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น
2) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจต่างชาติ
3) คู่แข่งทางธุรกิจสูง และแข่งขันกันตัดราคา
4) การเปลี่ยนแปลงการบริโภคตามกระแสนิยม
5) มาตรการกีดกันทางด้านการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษี
6) ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการใช้จ่ายเงินของคนวัยทำงาน


“ธุรกิจบน Street Food”

ปัจจัยสนับสนุน

1) การได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
2) มีนโยบายสนับสนุนการเปิดถนนคนเดิน เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว
3) มีนโยบายสนับสนุนให้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ด้วยการยกระดับมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย
4) ชื่อเสียงด้าน Street Food ของประเทศไทยที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ
5) เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว นักชิมทั้งชาวไทยและต่างชาติ
6) มีการจัดระเบียบพื้นที่ค้าขายบนทางเท้าให้มีความเหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวไทย
7) ในปัจจุบันมีช่องทางการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น เช่น โฆษณาผ่านโซเชียล การรีวิวบอกต่อของผู้บริโภค การส่งสินค้าผ่าน Application เช่น Lineman, GrapFood, GET เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยง

1) ความสะอาดและความปลอดภัยของอาหาร ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
2) คู่แข่งทางธุรกิจมีจำนวนมาก
3) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
4) นโยบายการจัดระเบียบผู้ค้าบนทางเท้า
5) ผู้คนในสังคมเมืองเริ่มหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น
6) อัตรายจากการปรุงอาหาร และความสะอาดซึ่งอาจทำให้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นลดลงได้


ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 7  “ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ”


 

ปัจจัยสนับสนุน

1) จากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุ
2) สภาพสังคมยุคปัจจุบันที่คนวัยท างานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวน้อยลง
3) มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น
4) ความก้าวหน้าทางวิทยาการท าให้มีอาหารและยาที่ดี
5) การสนับสนุนนโยบายจากภาครัฐและการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สูงอายุ
6) มีแนวโน้มพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งการบริการพื้นฐานที่ดูแลด้านสุขภาพไปสู่การบริการที่ครบวงจร

ปัจจัยเสี่ยง

1) ธุรกิจที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับผู้ใหญ่มีการแข่งขันสูงขึ้น
2) สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุยังมีไม่มาก
3) ค่าครองชีพมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
4) ระดับรายได้ของผู้สูงอายุที่ยังคงมีไม่สูง
5) อาชญากร หลอกลวงผู้สูงอายุ
6) ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในการให้บริการกับผู้สูงอายุ
7) ความคาดหวังนอกเหนือขอบเขตของการให้บริการ


ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 8 มีธุรกิจที่น่าจับตามอง 2 ธุรกิจด้วยกัน คือ

“ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินฝากระบบเทคโนโลยี”

ปัจจัยสนับสนุน

1) นโยบายการละเว้นค่าธรรมเนียมทางการเงิน ในการโอน การชำระเงิน และอื่น ๆ
2) การพัฒนาแหล่งการชำระเงินตามร้านค้า ผู้ประกอบการที่มีการชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
3) พฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
4) การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์เพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสดโดยการเพิ่มระบบการเงินดิจิตอลเพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารสาขา
5) รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเงินในรูปแบบ Online มากขึ้น
6) สังคมเมืองที่ต้องการความสะดวกสบาย และการใช้ระยะเวลารอคอยน้อย
7) ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามีมากขึ้น
8) การสั่งซื้อสินค้า และการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์มีจำวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยง

1) ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความปลอดภัยในการให้บริการผ่านแฟลตฟอร์ม
2) ความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า
3) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามพัฒนาการเทคโนโลยี
4) ข่าวเรื่องความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลและอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี
5) ความต้องการใช้ผ่านระบบออนไลน์ยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ


“ธุรกิจพลังงาน”

ปัจจัยสนับสนุน

1) ความต้องการพลังงานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้น
2) ภาคธุรกิจพลังงานถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นของประเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
3) โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการทั้งในธุรกิจน้ำมันและธุรกิจอื่น ๆ เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าครองตลาดมากขึ้น เช่น การลงทุนในสถานีชาร์จไฟฟ้า ธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ เป็นต้น
4) เทรนด์ของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ได้ปรับกลยุทธ์มาลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับพลังงานไฟฟ้าตลอด Value chain มากขึ้น
5) นโยบายส่งเสริมของภาครัฐ และกระแสรักษ์โลกที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ(low carbon)

ปัจจัยเสี่ยง

1) ปัญหาต้นทุนการผลิตต่อหน่วยโดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
2) ข้อกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานมีจำนวนมากและสร้างอุปสรรคต่อผู้ประกอบกิจการพลังงาน
3) ข้อจำกัดการพัฒนาพลังงานสะอาดที่ยังคงมีต้นทุนสูง และต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง
4) ความผันผวนของระดับราคาพลังงานของโลก
5) ปัญหาภัยธรรมชาติ


ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 9 มีธุรกิจที่น่าจับตามอง 2 ธุรกิจด้วยกัน คือ

“ธุรกิจก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน”

ปัจจัยสนับสนุน

1) นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษของภาครัฐ
2) การขยายตัวของเมืองที่มีเพิ่มขึ้นตามโครงการลงทุนของภาครัฐ ทำให้มีความต้องการลงทุนและก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรืออาคารเพื่อการพาณิชย์
3) การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ความต้องการพัฒนาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น
4) มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การลดค่าธรรมเนียมในการโอนและการจดจำนองลงเหลือร้อยละ 0.01 มาตรการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ การสนับสนุนเงินดาวน์ 50,000 บาทให้ประชาชนกับ 1 แสนราย

ปัจจัยเสี่ยง

1) การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น
2) ต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น
3) กฎหมาย กฎระเบียบของภาครัฐในการควบคุมการก่อสร้างให้มีมาตรฐานและความปลอดภัย
4) ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ
5) ระดับรายได้ของเกษตรกรที่ยังคงไม่สูง
6) การชะลอตัวลงของการปล่อยสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง หรือ ธุรกิจด้านการการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์


“ธุรกิจทางด้านกฎหมายและบัญชี”

ปัจจัยสนับสนุน

1) มาตรฐานบัญชีเดียวที่ SMEs ต้องดำเนินการในปี 63
2) พฤติกรรมในการรักษาสิทธิส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้กฎหมายมีความสำคัญอย่างมาก
3) ภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อธุรกิจ อาทิเช่น การผิดนัดชำระ การจัดทำสัญญาและทวงถาม เป็นต้น
4) การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ข้อกฏหมาย และมาตรการต่าง ๆ ของประเทศไทยมีมากขึ้นทำให้ต้องมีการติดตามและปรับเปลี่ยนข้อสัญญาต่างๆ
5) ปัจจุบันการติดต่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านหรือต่างประเทศมีมากขึ้น
6) กฏหมายเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คน
7) นโยบายของภาครัฐที่เข้มงวดขึ้นในการจัดทำบัญชีและภาษีของผู้ประกอบ

ปัจจัยเสี่ยง

1) บุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการทางด้านกฎหมายและทางบัญชีเองได้
2) เทคโนโลยีที่ทันสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการในหลากหลายด้าน เช่น บัญชี การให้คำแนะนำกฎหมายเบื้องต้น เป็นต้น
3) ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ
4) มีคู่แข่งทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นและมีความหลากหายมากขึ้น


ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 10 มีธุรกิจที่น่าจับตามอง 3 ธุรกิจด้วยกัน คือ

“ธุรกิจความเชื่อ”

ปัจจัยสนับสนุน

1) ผู้คนจำนวนไม่น้อยต้องการหาที่พึ่งยึดเหนียวจิตใจทั้งด้านการงานการเงิน ความรัก และความศรัทธา
2) กระแสนิยม พฤติกรรม และอิทธิพลทางสังคม
3) ความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่มีคู่กับอารยธรรมมนุษย์มาตลอดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัย
4) เป็นที่นิยมจากชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เสริมบารมีสักยันต์
5) กลุ่มลูกค้าคือกลุ่มที่ยินดีจะจ่ายในทุกราคาเพื่อสิ่งที่ตนเองเชื่อ

ปัจจัยเสี่ยง

1) บุคคลแอบอ้างหรือมิจฉาชีพมาดำเนินธุรกิจ
2) ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
3) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
4) การหลอกลวง และอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

“ธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจ Hostel Modern Tourism และ Lifestyle Tourism”

ปัจจัยสนับสนุน

1) จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอง โดยไม่พึ่งบริษัททั่วร์หรือตัวกลาง
3) เทคโนโลยีในการท่องเที่ยวที่อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การจองที่พัก การจองตั๋วต่าง ๆ เป็นต้น
4) การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
5) ความหลากหลายในสถานที่และวัฒนธรรมของประเทศไทย
6) นโยบายสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย
7) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เช่น การเชื่อมโยงเส้นทาง
การท่องเที่ยว

ปัจจัยเสี่ยง

1) จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอง โดยไม่พึ่งบริษัททั่วร์หรือตัวกลาง
3) เทคโนโลยีในการท่องเที่ยวที่อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การ
จองที่พัก การจองตั๋วต่าง ๆ เป็นต้น
4) การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
5) ความหลากหลายในสถานที่และวัฒนธรรมของประเทศไทย
6) นโยบายสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย
7) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว

“ธุรกิจเครื่องสำอางและความงาม”

ปัจจัยสนับสนุน

1) พฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพผิวพรรณ ของทุกช่วงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อสูงและต้องการดูแลตัวเอง
2) การประชาสัมพันธ์การโฆษณาที่เข้าถึงทุกช่วงวัยได้มากขึ้น
3) ช่องทางการจัดจ าหน่ายมีหลากหลายช่องทาง เช่นระบบออนลน์ หน้าร้าน โทรทัศน์ เป็นต้น
4) ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุก
ช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยหรือชะลอวัย (Anti Aging)
5) ต่างประเทศให้ความสนใจเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
6) โอกาสการขยายตลาดเข้าสู่กลุ่มประเทศในอาเซียนมีสูง
7) การพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยเสี่ยง

1) มีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างสูง
2) มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ
3) กฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านเครื่องสำอางและครีมบำรุง
4) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจต่างประเทศ
5) การปลอมแปลง ลอกเลียนแบบวัตถุดิบ


ขอบคุณข้อมูลจาก : หอการค้าไทย (The Thai Chamber of Commerce)
 

อ่านต่อ : 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งปี 2020 โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ (ตอนที่ 1)