
ส่งออกไทย 2568 เดือน มี.ค. พุ่ง 17.8% ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ต่อเนื่อง 9 เดือน
การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวสูงถึง 17.8% มูลค่าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมสู่ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป ท่ามกลางความกังวลจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ
24 เมษายน 2568-นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (988,362ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ 17.8% หากหักสินค้า เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ 15.0% การส่งออกของไทยได้รับแรงหนุนหลักจากสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีการ เร่งตัวด้านการผลิต สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความพยายามในการรับมือกับ ความเสี่ยงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การส่งออกของไทย 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวที่ 15.2% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ 13.8%
สรุปมูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคม 2568
- การส่งออก มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 17.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- การนำเข้า มีมูลค่า 28,575.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2
- ดุลการค้า เกินดุล 973.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพรวมการส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568
- การส่งออก มีมูลค่า 81,532.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- การนำเข้า มีมูลค่า 80,451.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 7.4
- ดุลการค้า เกินดุล 1,081.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมีนาคม 2568
- การส่งออก มีมูลค่า 988,362 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- การนำเข้า มีมูลค่า 967,608 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.2
- ดุลการค้า เกินดุล 20,755 ล้านบาท
ภาพรวมการส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568
- การส่งออก มีมูลค่า 2,757,249 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- การนำเข้า มีมูลค่า 2,754,544 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.1
- ดุลการค้า เกินดุล 2,705 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.1 (YoY) กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือนโดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 0.5 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 5.7 กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่
- ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 19.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น บราซิล อินเดีย และเยอรมนี)
- ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และไอร์แลนด์)
- อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 12.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย)
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เมียนมา กัมพูชา ลาว และออสเตรเลีย)
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ขยายตัวร้อยละ 12.5 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และเวียดนาม)
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 16.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน(ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และแคนาดา)
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่
- ข้าว หดตัวร้อยละ 23.4 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์และปาปัวนิวกินีแต่ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ฮ่องกง และแคเมอรูน)
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 15.1 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย ลาว อินเดีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์)
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หดตัวร้อยละ 4.7กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์เกาหลีใต้และ กัมพูชา)
- น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 27.7 กลับมาหดตัวในรอบ 3เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว จีน และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ แทนซาเนีย ปาปัวนิวกินีฮ่องกง และญี่ปุ่น)
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 38.2 กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เมียนมา จีน กัมพูชา และญี่ปุ่น)
ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.2
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 23.5 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 80.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี มาเลเซีย และไต้หวัน)
- รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอฟริกาใต้)
- ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 17.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย)
- อัญมณีและเครื่องประดับ(ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 69.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย ฮ่องกง สหรัฐฯ สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
- แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 41.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย)
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 17.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และสิงคโปร์)
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 19.1ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และไต้หวัน)
- หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ไต้หวัน และสาธารณรัฐเช็ก)
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 31.2 หดตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเม็กซิโก)
- เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.0 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดอาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และกัมพูชา)
ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 19.4
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว จากการเร่งนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการประกาศภาษีของสหรัฐฯ ที่จะมีผลเดือน เม.ย. โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นจากความต้องการนำเข้า เพื่อลดต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีนำเข้า ขณะที่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน เร่งนำเข้าสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
- ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.3 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 34.3 จีน ร้อยละ 22.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.5 สหภาพยุโรป(27) ร้อยละ 4.0 อาเซียน (5) ร้อยละ 13.2 และ CLMV ร้อยละ 10.1
- ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 9.2ตะวันออกกลาง ร้อยละ 25.1แอฟริกา ร้อยละ 3.5ลาตินอเมริกา ร้อยละ 11.5 รัสเซียและกลุ่ม CISร้อยละ 59.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 11.4
- ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 232.6
ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 18เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ 3เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 25.4
ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 22.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และยางพารา สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 19.5
ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.5 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเคมีภัณฑ์ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 0.1
ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 4.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่นรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 7.2
ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 13.2 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำตาลทราย เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเคมีภัณฑ์ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 5.7
ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 10.1 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นอัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูปน้ำตาลทราย และผ้าผืน ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 4.7
ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 9.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และทองแดงและของทำด้วยทองแดง ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 78.3
ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 11.4 (หดตัวต่อเนื่อง 4เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 หดตัวร้อยละ 15.4
ตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 25.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และยางพารา ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ10.5
ตลาดทวีปแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 3.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ข้าว เม็ดพลาสติกและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 7.6
ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 11.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 12เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 16.7
ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 59.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี2568 ขยายตัวร้อยละ 27.4
ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 7.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 3เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 7.1
แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป
แนวโน้มการส่งออกในปี 2568 ในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกของไทยเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากการใช้มาตรการปรับขึ้นภาษีอย่างถ้วนหน้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของนานาประเทศ สร้างความวิตกกังวลต่อภาพรวมการค้าโลกอันอาจนำไปสู่การชะลอตัวทั้งในด้านการค้าและการลงทุน อย่างไรก็ดีกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อรับมือกับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงนี้ โดยเตรียมความพร้อมด้านการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ เพื่อลดทอนผลกระทบทางภาษี แสวงหาโอกาสจากวิกฤต โดยการผลักดันสินค้าศักยภาพเข้าไปทดแทนในตลาดสหรัฐฯ และสร้างความร่วมมือทางการค้าเพื่อกระจายตลาดให้มากขึ้น พร้อมประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ส่งออกไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเข้าใจ พัฒนามาตรการเยียวยา และกำหนดแนวทางการรับมือกับสภาวะการค้าที่ทวีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต
#ส่งออกไทยมี.ค.68โตต่อเนื่อง #ขยายตัว17.8% #เศรษฐกิจโลกหนุน #เงินเฟ้อกลับสู่เป้า #ภาคการผลิตฟื้นตัว #ส่งออกไปสหรัฐฯจีนพุ่ง #จับตานโยบายการค้าสหรัฐฯ #MReportTH #IndustryNews
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2567
- 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2568
- คาร์บอนเครดิต คือ
- ยอดขายมอเตอร์ไซด์ 2567
- “ยานยนต์ไร้คนขับ” กับทิศทางการเติบโตในปี 2022-2045
- ยอดลงทุนปี 67 ทะลุ 1 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์
- ยอดจดทะเบียนใหม่ยานยนต์ไฟฟ้า 2567
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2567
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- 5 เทคนิค “มือใหม่ใช้เครื่อง CNC”
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH