สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2567

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2567

อัปเดตล่าสุด 31 มี.ค. 2568
  • Share :

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ขยายตัว 10.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศของเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ จีน เศรษฐกิจอาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ตามการส่งออกที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีเนื่องจากการเร่งส่งออกไปยังประเทศเศรษฐกิจหลักก่อนการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าโดยการขึ้นภาษีนำเข้าที่คาดว่าจะเริ่มภายหลังการเข้าดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯในช่วงต้นปี 2568 รวมทั้งแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลดลง ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง

โดยการค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีมูลค่าทั้งสิ้น 156,221.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 77,596.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) และมูลค่าการนำเข้า 78,625.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว10.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี2567 ขาดดุล 1,029.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีมูลค่า 77,596.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 6,588.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 7.08%  (YOY)
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 5,558.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 7.34% (YOY)
  • สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 62,790.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว13.08% (YOY
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มีมูลค่าการส่งออก 2,657.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 20.82% (YOY)

ตลาดส่งออกสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกาอาเซียน จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่นคิดเป็น 52.0% และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็น 48.0% ของการส่งออกทั้งหมดมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา อาเซียน จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่นร้อยละ 16.50, 14.90, 7.90, 6.90 และ 5.80 ตามลำดับ
  • มูลค่าการส่งออกของไทย ไทยมีมูลค่าการส่งออก 77,596.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ประเทศที่การส่งออกขยายตัว ได้แก่ จีน ขยายตัวสูงสุด 17.14% รองลงมา คือสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัว 16.65% สหรัฐอเมริกา ขยายตัว 16.45% อาเซียน (9)ขยายตัว 6.60% ส่วนประเทศที่การส่งออกหดตัว คือ ญี่ปุ่น หดตัว 0.44%

ตลาดส่งออกสินค้า

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีมูลค่า 78,625.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 12,270.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 4.09% (YOY) 
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 21,325.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 17.43% (YOY)
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 31,468.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว15.91% (YOY)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า9,440.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 12.79% (YOY)
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า3,014.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 22.93% (YOY)
  • สินค้าหมวดอาวุธยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 1,105.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 14.33% (YOY)

ตลาดนำเข้าสินค้า 

ไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลักรวม 5 ตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็น 65.90%  และการนำเข้าจากตลาดอืjน ๆ คิดเป็น 34.10% ของการนำเข้าทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนร้อยละ 28.20, 16.10, 9.60, 6.10 และ 5.90 ตามลำดับ
  • ไทยมีมูลค่าการนำเข้า ไทยมีมูลค่าการนำเข้า 78,625.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ประเทศที่การนำเข้าขยายตัว ได้แก่ จีน ขยายตัวสูงสุด 21.83% รองลงมา คืออาเซียน ขยายตัว 6.80% สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัว 5.73%  ญี่ปุ่น ขยายตัว 3.26% ส่วนประเทศที่การนำเข้าหดตัว คือ สหรัฐอเมริกา หดตัว 2.57%

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH