ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 4/2567

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4/2567

อัปเดตล่าสุด 31 มี.ค. 2568
  • Share :

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 92.48 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา 2.05% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลง ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 9 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) มีค่าอยู่ที่ 92.48 ลดลงร้อยละ 2.05 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 9 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 โดยเป็นการลดลงจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30-60 และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ตอบสนองในประเทศ เป็นหลัก

อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอ ตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 อาทิ ยานยนต์ จากรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็กและรถยนต์ไฮบริดขนาดมากกว่า 1,800 ซีซี เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสถานการณ์หนี้ครัวเรือน ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และการชะลอตัวของการตลาดส่งออกหลัก

น้ำมันปาล์ม เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคใต้หลายแห่งประสบปัญหาน้ำท่วม

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตลดลงจากสินค้า Integrated Circuits (IC) เป็นหลัก ตามการชะลอคำสั่งซื้อของลูกค้าและบริษัทแม่ในต่างประเทศ

อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 อาทิ เครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เป็นหลัก เนื่องจากสภาพอากาศของโลกที่สูงขึ้นการทำตลาดเพิ่มขึ้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การพัฒนาสินค้าใหม่ และการส่งออกสินค้าที่ผ่านมาตรฐานการรับรองไปยังในตลาดอินเดีย

ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง จาก Hard Disk Drive และprinter เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวในช่วงก่อนหน้าจากอุปสงค์ของตลาดโลก 

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกีดกันและปกป้องตลาดภายในประเทศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ประกอบกับผู้ผลิตเร่งส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศก่อนเทศกาลปีใหม่

 

     ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ขยายตัว 3.2% โดยขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 3.0%  และขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) ขยายตัว 1.8%

GDP ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที ่ 4 ของปี 2567 ขยายตัว 0.2%  ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.3% และขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) ที่หดตัว1.8%

 

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2567  อยู่ที่ระดับ 92.48 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (94.85) ร้อยละ 2.49 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (94.42) ร้อยละ 2.05

  •  อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า​​ไตรมาสที่ 4 ปี 2567  อยู่ที่ระดับ 96.27 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.33) ร้อยละ 1.08 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (97.08) ร้อยละ 0.83

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง​ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 98.42 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (102.41)
ร้อยละ 3.9 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (99.59) ร้อยละ 1.2

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาลการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป คงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก การกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 ปี 2567  อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.27 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 58.32) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (ร้อยละ 57.36) 

  •  อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง การผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิต สายไฟและเคเบิลอื่น ๆ ชนิดใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์และ ไฟฟ้า เป็นต้น 

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 มีค่า 90.20 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (88.03) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ
ปี 2566 (89.37) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 96.87 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (96.00)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 มีผลมาจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น การแจกเงิน 10,000 บาท ที่เริ่มจ่ายให้กลุ่มเปราะบาง เฟสแรกจำนวน 14 .5 ล้านคนในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2567 ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากระดับร้อยละ 2.50 สู่ระดับร้อยละ 2.25 ซึ่งช่วยลดต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการ และการอ่อนค่าของเงินบาททำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อภาคการส่งออก

#อุตสาหกรรมไทย #สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม #MPI Index #ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม #MPI #ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย 2567

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH