ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3/2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 3/2564

อัปเดตล่าสุด 29 พ.ย. 2564
  • Share :
  • 755 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 90.43 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 6.5 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 0.8

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2564 GDP หดตัวร้อยละ 0.3 โดยชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 แต่ทั้งนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 6.4

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสก่อนหน้าและกลับมาหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 โดยปรับตัวลดลงตามอุปสงค์ภายในประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่การผลิตโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ไทยควรดำเนินการตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัดตามพื้นที่ติดชายแดน รวมทั้งการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมและทั่วถึง

GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 หดตัวร้อยละ 1.4 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 จากการลดลงของอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศยังคงขยายตัวได้ จากอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 5.3

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 90.43 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (96.73) ร้อยล ะ 6.5 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (91.13) ร้อยละ 0.8

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตยานยนต์ และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 91.91 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.9) ร้อยละ 6.1 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (93.76) ร้อยละ 2.0

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตยานยนต์และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตจักรยานยนต์ และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง​ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 152.08 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (141.13) ร้อยละ 7.8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (119.56) ร้อยละ 27.2

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.31 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 62.73) และลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (ร้อยละ 60.41)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตจักรยานยนต์ และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีค่าดัชนี 78.23 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (82.43) และลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (83.90) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 91.07 ลดลงจากไตรมาส เดียวกันของปี 2563 (93.60)

ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 ยังเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นในไทย ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2564 มาจนถึงช่วงปลายไตรมาส 3 ที่ยังไม่คลี่คลายและกระจายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุมโรครวมทั้งขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัดและบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ตลอดเดือนสิงหาคม มีจำนวนผู้ติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เฉลี่ยประมาณ 15,000-18,000 คนต่อวัน จากมาตรการล็อกดาวน์ที่กล่าวมา ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศลดลง มีการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ส่วนการกระจายวัคซีนไปยังประชาชนและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และการแพร่ระบาดในภาคอุตสาหกรรมยังไม่คลี่คลาย ส่งผลต่อกำลังการผลิตและการส่งมอบสินค้าล่าช้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก นอกจากนี้ผู้ประกอบการในประเทศยังประสบปัญหาต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ราคาค่าขนสงที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ประกอบการส่งออกบางรายประสบปัญหาที่ต้องแบกรับอัตราการระวางเรือขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทรงตัวในระดับสูงมาตั้งแต่ต้นปี 2564 ส่งผลต่อต้นทุนขนส่งที่เพิ่มขึ้น และปัญหาการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในอุตสหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส เป็นต้น

 

อ่านต่อ: