ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 (Thailand Automotive Sales in February 2021)

ยอดขายรถยนต์ 2564 เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 6.8% จากเดือนก่อนหน้า

อัปเดตล่าสุด 18 มี.ค. 2564
  • Share :
  • 668 Reads   

ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 58,960 คัน เพิ่มขึ้น 6.80% จากเดือนก่อนหน้า หวัง​มอเตอร์โชว์​​กระตุ้น​ยอดขาย​เพิ่มขึ้น​

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดย นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ ดังต่อไปนี้

 

ยอดขายรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 58,960 คัน ลดลง 10.9% (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 6.80% (MoM) โดยการลดลงของยอดขาย​มาจากความ​กังวล​การ​ระบาด​ของ​โรค​โค​วิด-​19​ รอบ​สอง​ตั้งแต่​ปลายเดือน​ธันวาคม​ 2563​ และ​กระจาย​ไป​อีก​หลาย​จังหวัด​ ทำให้​มี​ผู้​ติดเชื้อ​ราย​ใหม่​และ​เสียชีวิต​เพิ่ม​มากขึ้น​ ประชาชน​จึง​ระวัง​การ​ใช้จ่าย​มากขึ้น​ สถาบัน​การเงิน​เข้ม​งวดในการ​ปล่อย​สินเชื่อ​ อย่างไรก็ตาม คาด​ว่า​งาน​มอเตอร์โชว์​ที่จะจัดขึ้นใน​วันที่​ 24​ มีนาคม​ ถึง​ วันที่​ 4 เมษายน​ 2564​ จะ​กระตุ้น​ยอดขาย​รถยนต์​เพิ่มขึ้น​ได้ดังเช่น​ปี​ที่แล้ว

สำหรับยอดขายรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2564 มียอดขาย 180,130 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% (MoM) 

นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์และส่วนแบ่งตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จากตัวเลขดังกล่าว ดังนี้

ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 25% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 2.3% สืบเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ที่ยังคงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจโดยรวม และตลาดรถยนต์ เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อ 

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2564 จะขยับตัวดีขึ้น ถึงแม้ว่าการระบาดของไวรัส COVID 19 ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน อย่างไรก็ดี โครงการ “คนละครึ่ง” “เราเที่ยวด้วยกัน” “ช้อปดีมีคืน” “เราชนะ” และล่าสุดกับ “ม33 เรารักกัน” ของรัฐบาลช่วยส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เพิ่มเติม ช่วยหนุนให้กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น โดยตลาดรถยนต์ เริ่มกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวรถใหม่ การปรับโฉมใหม่ การนำเสนอรถยนต์รุ่นพิเศษ (Limited Edition) รวมถึงข้อเสนอพิเศษ และกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ เพื่อปูทางสู่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ภายใต้การสื่อสารการตลาด “เงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์” มีแนวโน้มผลักดันตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมเติบโตต่อเนื่องถึงเดือนเมษายนอย่างแน่นอน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2564

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,960 คัน ลดลง 10.9%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,477 คัน เพิ่มขึ้น 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 15,897 คัน ลดลง 14.6% ส่วนแบ่งตลาด 27.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,007 คัน ลดลง 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 15.3%
 
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,969 คัน ลดลง 25%         
 
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,868 คัน ลดลง 6.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 4,056 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 21.4%
อันดับที่ 3 มาสด้า 1,826 คัน ลดลง 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
 
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,991 คัน ลดลง 2.3%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,477 คัน เพิ่มขึ้น 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,826 คัน ลดลง 3.4% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,592 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด  6.5%
 
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 31,169 คัน ลดลง 6.6%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,400 คัน เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 49.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,781 คัน ลดลง 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,592 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด  8.3%
 
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,800 คัน
โตโยต้า 1,939 คัน - อีซูซุ 1,851 คัน - มิตซูบิชิ 531 คัน – ฟอร์ด 473  คัน – นิสสัน 6 คัน
 
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,369 คัน ลดลง 11.6%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,549 คัน เพิ่มขึ้น 4.6% ส่วนแบ่งตลาด 51.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,842 คัน ลดลง 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,119 คัน ลดลง 12.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
 
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2564
 
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 114,168 คัน ลดลง 16.3%
 
อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,655 คัน ลดลง 13.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 31,725 คัน เพิ่มขึ้น 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 27.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 14,664 คัน ลดลง 30.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.8%
 
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 35,073 คัน ลดลง 35.3%       
 
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 12,394 คัน ลดลง 30.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,129 คัน ลดลง 31.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 3,605 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%
 
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 79,095 คัน ลดลง 3.9%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 31,725 คัน เพิ่มขึ้น 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 24,496 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,897 คัน ลดลง 2.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
 
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 61,276 คัน ลดลง 8.1%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 29,598 คัน เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 48.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 20,275 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,897 คัน ลดลง 2.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
 
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 9,094 คัน
โตโยต้า 3,914 คัน - อีซูซุ 3,285 คัน - มิตซูบิชิ 1,053 คัน – ฟอร์ด 816  คัน – นิสสัน 26 คัน
 
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 52,182 คัน ลดลง 12.9%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 26,313 คัน เพิ่มขึ้น 1.7% ส่วนแบ่งตลาด 50.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,361 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,081 คัน ลดลง 0.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%

 
อ่านต่อ: