ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 1/2566

อัปเดตล่าสุด 13 ก.ค. 2566
  • Share :
  • 37,857 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 101.07 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 7.40 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 3.9

 

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.4

 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ลดลงร้อยละ 3.1 เป็นผลจากการลดลงของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเพื่อการบริโภคภายในประเทศ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 อยู่ที่ระดับ 101.07 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (94.11) ร้อยละ 7.40 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (105.22) ร้อยละ 3.9

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
    เฟอร์นิเจอร์ และ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 99.46 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.04) ร้อยละ 2.50 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (103.80) ร้อยละ 4.2

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง​ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 140.52 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (133.18) ร้อยละ 5.51 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (137.26) ร้อยละ 2.4

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.66 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 60.32) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (ร้อยละ 66.77)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
    พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีค่าดัชนี 95.97 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (93.07) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (87.97) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 103.53 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (97.70)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 มาจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่องจากการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การเปิดประเทศของจีน รวมทั้ง มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศของภาครัฐ

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบและค่าไฟฟ้า ความผันผวนของราคาพลังงาน อีกทั้งอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลง ตามภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของราคาสินค้าส่งออกของไทย

 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 2566

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH