อุตสาหกรรมไฟฟ้าไตรมาสที่ 4/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2564

อุตสาหกรรมไฟฟ้าไตรมาส 4 ปี 2563 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป

อัปเดตล่าสุด 14 มี.ค. 2564
  • Share :
  • 770 Reads   

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยสถานการณ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2564

 

สถานการณ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าประจำไตรมาสที่ 4/2564 มีรายละเอียดดังนี้

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า 

ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 94.4 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.7 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.4 (%YoY) เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการคลายล็อกดาวน์

  • โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และคอมเพรสเซอร์ 559, 30.1, 26.8, 22.4, 2.0, และ 0.1 ตามลำดับ
  • สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ลพัดลม เครื่องปรับ เตาอบไมโครเวฟ และกระติกน้ำร้อน ลดลงร้อยละ 19.9, 8.0, 5.9, 4.3, 1.4 และ 0.9 ตามลำดับ

 

การจำหน่ายในประเทศ

  • สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า ตู้เย็น คอมเพรสเชอร์ สายเคเบิ้ล และหม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0, 9.5, 5.9, 4.8, 1.2 และ 0.6 ตามลำดับ 
  • สินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และกระติกน้ำร้อน หดตัวร้อยละ 86.6, 12.7, 11.9, 8.5 และ 5.8 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า 

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 4,221.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.2 (%Q๐Q) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 (%YoY)

  • สินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ ตู้เย็น โซล่าร์เซลล์ เครื่องซักผ้า และ คอมเพรสเซอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.7, 46.0, 35.6 และ 18.5 ตามลำดับ
  • สินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าวและพัดลม ลดลงร้อยละ 39.2, 32.8, 6.2 และ 1.0 ตามลำดับ 


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า

ในไตรมาส 4 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 6,586.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 6.9 (8QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.5 (%YoY) จากตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน 

  • ตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 และ 10.6 ตามลำดับ
  • หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3, 25.6, 23.7, 14.0 และ 12.1 ตามลำดับ ในขณะที่ หม้อแปลงไฟฟ้า และ สายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 21.9 และ 19.6 ตามลำดับ


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

 

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 

คาดว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 3.9 ตามลำดับ เนื่องจากไทยสามารถรับมือจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ได้ดี รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่กระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ประชาชนยังคงมีความต้องการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นที่ต้องติดตามและอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย คือ การดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ โดยมีนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการค้าเสรี (FTA) การตัดสิทธิ GSP ของประเทศไทย ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน และการส่งเสริมพลังงานสะอาด ทำให้ตลาดส่งออกโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยเติบโต เป็นต้น รวมถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มคู่ค้าอาจจะทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มมากขึ้น

 

อ่านต่อ: อุตสาหกรรมไฟฟ้าไตรมาสที่ 3/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2563