สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 2/2563

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 2/2563

อัปเดตล่าสุด 5 ก.ย. 2563
  • Share :
  • 965 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 96,574.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออก 51,670.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการนำเข้า 44,903.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เกินดุล 6,767.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

“มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ในภาพรวมหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีกอน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นเหตุให้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศหดตัวลง อยางไรก็ตาม ดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เกินดุล 6,767.3 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ”

โครงสร้างการส่งออก 

การส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 51,670.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.2 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกราย หมวดสินค้า พบวา สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการ ส่งออก 5,743.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.9 

สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออก 4,588.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.2 สินค้า อุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออก 39,982.0 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.4 สินค้าแรและเชื้อเพลิงมี มูลค่าการส่งออก 1,356.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 38.9 สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ที่หดตัวลงร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินคัาที่มีการส่งออกหดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (มูลค่าการส่งออก 4,635.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.8) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 4,191.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 3,106.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 49.9) อย่างไรก็ตาม สินค้าบางรายการยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เชน แผงวงจรไฟฟา (มูลค่าการส่งออก 1,724.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.3) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 681.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวรอยละ 32.8) 

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 การส่งออกไปยังตลาด หลัก ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุน และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) มีสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 23.6 15.2 15.4 9.9 และ 7.9 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลัก คิดเป็นร้อยละ 72.1 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 27.9 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอน มีเพียงจีนและ สหรัฐอเมริกาที่การส่งออกไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และ 8.9 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) อาเซียน (9 ประเทศ) และ ญี่ปุน หดตัวร้อยละ 30.2 22.4 และ 13.7 ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 44,903.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอน เมื่อพิจารณา แยกรายหมวดสินคา พบว่า สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า การนำเข้า 5,261.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อย ละ 47.4 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 12,509.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.4 สินค้า วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 19,010.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.0 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 5,726.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 17.3 ยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่งมีมูลค่าการนำเข้า 2,296.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 33.5 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินคาอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 98.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 93.6

แหล่งนำเข้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 แหลงนำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 27.7 17.3 13.2 8.6 และ 7.6 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการนำเข้าไป ยังตลาดสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 74.5 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 25.5 ของการนำเข้าทั้งหมด เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีกอน พบว่า จีนมีอัตราการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.1 หรืออยู่ในระดับทรงตัว ขณะที่ประเทศคู่ค้าหลักส่วนใหญ่ ของไทยมีอัตราการนำเข้าหดตัวลง โดยอาเซียน (9 ประเทศ) หดตัวลงมาที่สุด ร้อยละ 30.2 ลำดับถัดมาเป็นตลาดญี่ปุน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 26.9 21.5 และ 7.7 ตามลำดับ