069-ยอดขายรถยนต์-2563-กุมภาพันธ์

รถยนต์ เดือน ก.พ. ขายลดลง 4.8% จากเดือนก่อน

อัปเดตล่าสุด 21 มี.ค. 2563
  • Share :
  • 609 Reads   
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ดังต่อไปนี้
 
ยอดขายรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 68,271 คัน ลดลง 17.1% (MoM) และลดลงจากเดือนมกราคม 2563 4.8% ยอดขายภายในประเทศลดลงจากการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ และผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 
 
สำหรับภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2563 รถยนต์มียอดขาย 139,959 คัน ลดลง 12.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 
 
ยอดขายรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 138,998 คัน ลดลง 4.4% (MoM) และลดลง 4.1% จากเดือนมกราคม 2563 
 
สำหรับภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2563 รถจักรยานยนต์มียอดขาย 283,990 คัน ลดลง 3.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 
 
นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์และส่วนแบ่งตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จากตัวเลขยอดขายรวม 68,271 คัน ซึ่งลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 15.6% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 18.1% สืบเนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงผู้บ้ริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ทำให้ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย
 
ในส่วนของตลาดรถยนต์สะสม 2 เดือน มีปริมาณการขาย 139,959 คัน ลดลง 12.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 7.9% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 15.9% เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม นอกจากนี้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตามค่ายรถยนต์ยังคงมีความพยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคมยังคงเป็นที่น่าจับตามอง
 
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2563
 
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,271 คัน ลดลง 17.1%
 
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,606 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,484 คัน ลดลง 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,761 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.3%
 
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 27,356 คัน ลดลง 15.6%
 
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 8,409 คัน เพิ่มขึ้น 12.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,364 คัน ลดลง 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,013 คัน ลดลง 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
 
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,915 คัน ลดลง 18.1%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,484 คัน ลดลง 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,242 คัน ลดลง 23.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,508 คัน ลดลง 17.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%
 
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 33,376 คัน ลดลง 18.5%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,604 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,599 คัน ลดลง 25.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,508 คัน ลดลง 17.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
 
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,539 คัน
โตโยต้า 1,183 คัน - มิตซูบิชิ 904  คัน - อีซูซุ 652  คัน - ฟอร์ด 450  คัน - เชฟโรเลต 192 คัน - นิสสัน 158 คัน
 
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,837 คัน ลดลง 15.7%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 12,952 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,416 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,604 คัน ลดลง 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%