ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และผู้ประกอบการ SME สิงหาคม 61

อัปเดตล่าสุด 9 ต.ค. 2561
  • Share :
  • 446 Reads   

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs ภาคการค้าและบริการ ในเดือนสิงหาคม 2561  ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในส่วนของภาคการค้าและภาคบริการ โดยสาขาธุรกิจปรับตัวลดลงแทบทุกสาขา เนื่องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ยังคงมีความระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่าย
 
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (TSSI) ในเดือนสิงหาคม ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยอยู่ที่ระดับ 86.8 ปรับตัวลดลงมากจากเดือนกรกฎาคม เป็นผลจากปัจจัยด้านกำไร ยอดจำหน่าย การลงทุนและการจ้างงานที่ลดลงทั้งในภาคการค้าและภาคบริการ เกือบทุกสาขาธุรกิจ ยกเว้นสาขาสันทนาการ วัฒนธรรม การกีฬา ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในเดือนสิงหาคมมีฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นด้านยอดขายและกำไรลดลง สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน และผลของ World Cup ยังคงทำให้นักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปหดตัวต่อเนื่อง  

ผอ.สสว. เผยอีกว่า โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการปรับตัวลดลงเกือบทุกสาขาธุรกิจ และมีค่าต่ำกว่าฐานที่ 100 อาทิ สาขาค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ค้าส่งวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าปลีกดั้งเดิม การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การขนส่งคน โรงแรม/เกสต์เฮาส์/บังกะโล และการก่อสร้าง เป็นต้น

สำหรับดัชนี TSSI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.6 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 106.4 จากองค์ประกอบด้านกำไร ยอดจำหน่าย การลงทุนและการจ้างงานที่ลดลง ในภาคการค้าส่งและค้าปลีก ขณะที่ภาคบริการนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว การขนส่งและโรงแรม เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงเทศกาลลอยกระทง ผู้ประกอบการคาดว่าทำให้มีการใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และมีความคึกคักในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นในภาคบริการ

ดัชนีความเชื่อมั่นรายสาขาธุรกิจ

 

  • ปัจจัยบวก ผลผลิตทางการเกษตรหลายรายการเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และลำไย ทำให้เกษตรกรบางกลุ่มเริ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยในจังหวัดที่ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น
  • ปัจจัยลบ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและยังกระจุกตัว ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวในเชิงพื้นที่อีกด้วย  ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสงครามการค้าในระดับโลกโดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ

 

ในการเปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการของ SME กับดัชนีอื่นๆ ในเดือนสิงหาคม ดัชนีความเชื่อมั่นของ SME ในภาคการค้าและบริการที่ปรับตัวลดลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) เนื่องจากการลงทุนและการจ้างงานลดลง อาทิ จากธุรกิจกลุ่มก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผลจากภาวะการก่อสร้างที่ชะลอตัวลงในช่วงฤดูฝน


ดัชนีความเชื่อมั่น
(เปรียบเทียบที่ค่าฐาน 100)
พ.ค.61 มิ.ย.61 ก.ค.61 ส.ค.61
ปัจจุบัน
คาดการณ์
ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน
คาดการณ์
ปัจจุบัน
คาดการณ์
ดัชนีความเชื่อมั่น SME ภาคการค้าและบริการ (TSSI) 107.6 91.2 78.0 98.8 96.8 105.0 86.8 104.6
ดัชนีความเชื่อมั่น ทางธุรกิจของประเทศ (BSI) 99.0 112.4 103.0 111.8 105.6 109.0 102.8 110.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) 54.4 91.3 55.3 92.5 56.2 93.5 57.2 94.6