ส.อ.ท. จับมือ มทร.พระนคร หนุนเกษตรมูลค่าสูง Smart Agriculture Industry (SAI) in Bangkok
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมลงนามความร่วมมือใน “โครงการต้นแบบเพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรกรรมรูปแบบใหม่ (Smart Agriculture Industry (SAI) in Bangkok)” โดยได้รับเกียรติจากนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กล่าวแสดงความยินดี ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
22 มีนาคม 2567 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทางด้านการเกษตรของประเทศไทย โดยภาคการเกษตรมีมูลค่ารวม 1,536,071 ล้านบาท หรือมีสัดส่วนร้อยละ 8 ของ GDP ประเทศ มีจำนวนแรงงานในภาคการเกษตรกว่า 12 ล้านคน มูลค่า 1.53 ล้านล้านบาท (8.57% ของ GDP) ในขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนแรงงาน 6.15 ล้านคน มีมูลค่ากว่า 5.45 ล้านล้านบาท (30.43% ของ GDP) ภาคเกษตรจึงยังต้องพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพสูง สามารถต่อยอดจากฐานความหลากทางทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรของไทย โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิต
“ส.อ.ท. ดำเนิน “โครงการต้นแบบเพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรกรรมรูปแบบใหม่ (Smart Agriculture Industry (SAI) in Bangkok)” ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด หรือเรียกว่า เกษตร On demand ซึ่งเป็นการทำการเกษตรโดยใช้ความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ เป็นตัวกำหนดการผลิต มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพาะปลูก และแปรรูป ให้เกิดผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และเชื่อมโยงกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” นายเกรียงไกร กล่าวเสริม
ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งเป็นสถาบันอุดมการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีพันธกิจเพื่อให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพขั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ การสอน การวิจัย ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม พร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการร่วมพัฒนาโครงการ ทั้งในด้านพื้นที่สำหรับจัดตั้งโครงการ บุคลากรที่จะร่วมสนับสนุนทางวิชาการและนวัตกรรม และการร่วมใช้ประโยชน์พื้นที่ในเชิงวิชาการและบริการสังคม เพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์
การดำเนินโครงการนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดการขยายผลและการประยุกต์ใช้ศูนย์การเรียนรู้ไปยังเกษตรกรในภูมิภาค โดยเฉพาะสมาชิก ส.อ.ท. ที่อยู่ใน 5 ภาค 18 กลุ่มจังหวัด 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และสร้างกลไกการทำงานระหว่างเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม รัฐ สถาบันการวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียงทั้งหมดในห่วงโซ่การผลิตที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูง ตามแนวคิด BCG และเกิดโหมด (Mode) ธุรกิจทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน นำไปสู่ความยั่งยืน
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2566
- คาร์บอนเครดิต คือ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
- Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
- การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
- ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
- solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH