แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 1/2568

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 1/2568

อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 2568
  • Share :

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2568 : MPI ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 

คาดการณ์การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการบริโภคและการนำเข้ายังคงขยายตัว เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กของไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากนโยบาย America First ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีนเป็นอันดับแรก โดยสหรัฐฯ นำเข้าเหล็กจากจีนมากเป็นอันดับ 3 โดยสินค้าเหล็กของจีนที่ไม่สามารถส่งไปสหรัฐฯ ต้องหาตลาดทดแทน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นตลาดอาเซียนรวมถึงไทย

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกระแสความต้องการสินค้านวัตกรรมใหม่จากการพัฒนาเทคโนโลยีเช่น เครื่องปรับอากาศอย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์นโยบายทางการค้าและมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีของสหรัฐอเมริกา ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าดัชนีผลผลิตจะปรับเพิ่มขึ้น จากความต้องการของตลาดโลก เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น HDD และประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อาจนำไปสู่การย้ายฐานการผลิตและการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงสถานการณ์นโยบายทางการค้าและมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีของสหรัฐอเมริกา

อุตสาหกรรมรถยนต์

คาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 350,000 คันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 4 ปี 2567 จากความเป็นไปได้ของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น การผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ โดยการผลิตแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

คาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 460,000 คันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 4 ปี 2567 จากความเป็นไปได้ของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น การผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อโดยการผลิตแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

คาดการณ์ได้ว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ที่เพิ่มสูงขึ้น

ไม้และเครื่องเรือน

คาดว่ามีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากมาตรการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้เศษพลาสติกเป็นวัตถุดิบมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อีกทั้งนโยบายของสหภาพยุโรปที่มุ่งลดปริมาณขยะพลาสติกและส่งเสริมการใช้พลาสติกรีไซเคิล อาจเพิ่มความท้าทายในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยไปยังตลาด ยุโรป นอกจากนี้จากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและมีนโยบายพึ่งพาตนเองส่งผลให้ความต้องการนำเข้าพลาสติกจากไทยลดลงรวมถึงนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ Trump 2.0อาจเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติก

อุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง

คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัวทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางจะขยายตัวจากความต้องการ ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ยางรถยนต์จะขยายตัวจากความต้องการของตลาด REM (Replacement Equipment)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวเล็กน้อยเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวจากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ และความกังวลต่อค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการส่งออกที่กำลังเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งราคาวัตถุดิบที่เคลื่อนไหวตามราคากลไกในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลต่อราคาสินค้าทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสขยายตัวได้จากภาคการท่องเที่ยว โดยการสนับสนุนของภาครัฐผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และความต้องการจับจ่ายสินค้าในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ในช่วงต้นปี

อุตสาหกรรมอาหาร

คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มขยายตัว และการฟื้นตัวของภาคบริการอย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์

 

อ่านย้อนหลัง:

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH