โรงงานอุตสาหกรรม, สิ่งแวดล้อม, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ส.อ.ท. ผนึก กนอ. ชู Eco Factory For Waste Processor มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

อัปเดตล่าสุด 14 มิ.ย. 2565
  • Share :
  • 1,198 Reads   

ส.อ.ท. ผนึกกำลัง กนอ. ชูมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ด้วยตราสัญลักษณ์ Eco Factory For Waste Processor

วันที่ 14 มิถุนายน 2565 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) โดยสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดพิธีแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) ขยายผลมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม  ร่วมกล่าวแถลงความร่วมมือและแสดงจุดยืน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายสมชาย หวังวัฒนาพานิช ประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน พร้อมการนำเสนอวิดีทัศน์มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory For Waste Processor) ในพิธีแสดงเจตนารมย์ในการส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory For Waste Processor) ในวันอังคารที่ 14 มิถุนายน 2565 เวลา 08.30 – 10.00 น. ณ ห้อง Passion (802) ชั้น 8 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โรงงานอุตสาหกรรม, สิ่งแวดล้อม, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดยทั้ง 2 องค์กรให้การรับรองร่วมกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา สู่มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดของเสียอุตสาหกรรม หรือ ที่เรียกว่า Eco Factory For Waste Processor เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วนว่า โรงงานอุตสาหกรรมที่รับรีไซเคิล บำบัด และกำจัดกากอุตสาหกรรม ที่ได้รับรองตราสัญลักษณ์ Eco Factory For Waste Processor มีการดำเนินธุรกิจที่ได้มาตรฐานหลักวิชาการ ถูกต้องตามกฎหมาย คำนึงถึงการประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตควบคู่กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

นับเป็นก้าวที่สำคัญที่ กนอ. และ ส.อ.ท. ได้จัดพิธีแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) โดยได้การตอบจากสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทยเข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์เพื่อขอรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor ในครั้งนี้ รวม 16 ราย โดยมีรายนามดังนี้

1. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)   3-101-1/45สบ   สระบุรี
2. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)   3-101-2/44สบ สระบุรี
3. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)   3-101-3/44สบ สระบุรี
4. บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด   3-106-33/50สบ   สระบุรี
5. บริษัท สยามเอ็นไวรอนเมนทอลเทคโนโลยี่ จำกัด   ข3-101-1/41รย   ระยอง
6. บริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด   3-106-71/53สบ สระบุรี
7. บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน)   3-106-31/47สก  สระแก้ว
8. บริษัท ไพโร เอนเนอร์ยี่ จำกัด 3-106-8/54สบ   สระบุรี
9. บริษัท ไฟเบอร์ พัฒน์ จำกัด 3-106-30/49สป   สมุทรปราการ
10. บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด   น.106-1/2545-ญบว.   พระนครศรีอยุธยา
11. บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด   น.106-2/2559-ญปค.   ชลบุรี
12. บริษัท ส.กนกการจัดการสิ่งเเวดล้อม จำกัด   3-106-7/56ชบ ชลบุรี
13. บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด   3-106-16/56สบ สระบุรี
14. บริษัท ซิมสุลาลัย จำกัด   จ3-43(1)-27/50ชบ   ชลบุรี
15. บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด   3-57(1)-1/37ลป   ลำปาง
16. บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด   3-57(1)-1/15นศ   นครศรีธรรมราช

นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย งานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน  กล่าวว่า “กนอ. และ ส.อ.ท. ได้พัฒนามาตรฐานนี้โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ อาทิเช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจัดการกากของเสียร่วมในการพัฒนาข้อกำหนดนี้ขึ้น และได้ประกาศใช้ข้อกำหนดมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory For Waste Processor) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีเจตนารมณ์เพื่อยกระดับและส่งเสริมผู้ประกอบการกำจัดและบำบัดกากอุตสาหกรรมให้มีการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน  ดังนั้นปัจจุบันนี้เรามีมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ 2 กลุ่ม คือ Eco Factory สำหรับรับรองผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วไป และ Eco Factory For Waste Processor สำหรับรับรองผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจัดการของเสีย โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2568 ผู้ประกอบการจัดการของเสียที่เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor 100% และผู้ประกอบการจัดการของเสียที่ประกอบกิจการอยู่ในปัจจุบัน จะต้องได้รับการรับรองมากกว่า 80% ของผู้ประกอบกิจการทั้งหมด จึงเป็นที่มาของงานแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) ร่วมกันทั้ง 4 ฝ่ายในวันนี้

ด้านนายธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีโรงงานรีไซเคิล บำบัด หรือกำจัดกากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และในขณะเดียวกับข่าวการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้มาตรฐาน และต้องการลดต้นทุนการดำเนินการ ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อการสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน กลุ่มฯ จึงได้รับความร่วมมือจาก สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยพัฒนามาตรฐานที่จะให้การรับรองตราสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจัดการของเสียกลุ่มนี้มีการดำเนินธุรกิจที่ได้มาตรฐาน มีความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ และสอดคล้องตาม BCG Model ดังนั้นกลุ่มได้มีเป้าหมายร่วมกับ กนอ. และ ส.อ.ท. ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มฯ รวมทั้งผู้ประกอบการจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่อยู่คงประกอบการในปัจจุบันมากกว่า 80% ได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor ภายใน ปี 2568

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ส.อ.ท. มียุทธศาสตร์ First2Next-Gen Industry ที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคต ส.อ.ท. ซึ่งจะเข้าไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในการยกระดับอุตสาหกรรมในมิติต่างๆ โดยในเรื่องสิ่งแวดล้อม ส.อ.ท. มีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ Eco Product / Eco Factory /Eco Town ซึ่งมาตรฐาน Eco Factory จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและประเมินประเมินสมรรถนะของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental management systems) ของกิจกรรมองค์กรโดยตลอดวัฏจักรชีวิต (Life cycle perspective) มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าก่อให้เกิดผลผลิตสีเขียวมากที่สุด ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนแวดล้อมทำให้สามารถยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วยหลักความร่วมมือเกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการประสานความร่วมมือต่อยอดกับ กนอ. ในครั้งนี้เรามีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันให้ผู้ประกอบการจัดการของเสีย ที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรม ร้อยละ 100 ได้รับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor ภายในปี 2568

ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง กนอ. และ ส.อ.ท.ในการพัฒนามาตรฐาน Eco Factory For Waste Processor ในครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือที่สำคัญ ในการยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียให้มีการดำเนินการที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย กนอ. จะดำเนินการส่งเสริมให้ Waste Processor ในนิคมอุตสาหกรรมได้รับรองมาตรฐานนี้ครบ 100% ภายในปี 2568 และจะส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ เลือกใช้บริการบำบัดและกำจัดของเสียจากผู้ประกอบการจัดการของเสียที่ได้รับรองมาตรฐาน และที่สำคัญคือการผลักดันสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับ Waste Processor ที่ได้รับรองมาตรฐานนี้ 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH