หุ่นยนต์ที่คุณคิด vs หุ่นยนต์ในความเป็นจริง

อัปเดตล่าสุด 6 พ.ค. 2561
  • Share :
  • 904 Reads   

“หุ่นยนต์จะแย่งงานมนุษย์หมดแล้ว” “คนตกงานกันหมด จะทำมาหากินอะไรต่อ” ข้อความแนว ๆ นี้มักจะปรากฏให้เห็นใต้ข่าวที่พูดถึงหุ่นยนต์เสมอ แสดงให้เห็นว่าคนไทย แรงงานไทย หรือรวมไปถึงผู้ประกอบการไทยยังเข้าใจผิดและมองหุ่นยนต์เป็นศัตรูคู่อริอย่างแน่นอน แต่จริงๆแล้วเจ้าหุ่นยนต์พวกนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะเข้ามาเพิ่มผลผลิต ประหยัดเวลาในการผลิตของเรา มาทำความรู้จักกับหุ่นยนต์เพื่อนเคียงข้างของเรากันดีกว่า

ถ้าพูดถึงหุ่นยนต์แล้วคุณยังนึกถึงเจ้าโครงเหล็กขนาดใหญ่ มีแขนขาที่มีพละกำลังรุนแรงอย่างหุ่นยนต์ทรานฟอร์เมอร์ต้องบอกว่าคุณค่อนข้างที่จะตกกระแสเลยทีเดียว เพราะหุ่นยนต์ทุกวันนี้มีหลากหลายประเภทมากๆ อย่างหุ่นยนต์ประเภทแรก

หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภท นี้จะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้อง ทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเจ้าหุ่นยนต์อาซิโมของฮอนด้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อหลายปีก่อน นั่นก็เป็นการฉีกภาพของหุ่นยนต์ที่ตัวใหญ่เสียงดังในทัศนคติของใครหลายคนเลยทีเดียว

หรือจะเป็นหุ่นยนต์เอไอตัวแรกของโลกที่แม้ไม่มีหัวใจ ไม่มีสมอง แต่ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์ มีสัญชาติซาอุดีอาระเบียเป็นตัวแรก และชื่อของเธอก็คือ หุ่นยนต์โซเฟีย ซึ่งโซเฟียนี้ก็มีความเหมือนและใกล้เคียงกับมนุษย์มากทั้งยังโต้ตอบกับมนุษย์และแสดงสีหน้าตามอารมณ์ได้อีกด้วย  เดวิด แฮนสันผู้ก่อตั้งบริษัท Hanson Robotics บอกว่า สาเหตุที่เขาต้องการทำให้โซเฟียดูคล้ายมนุษย์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น เพราะต้องการลดความหวาดกลัวที่มีต่อหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต

หุ่นยนต์อีกประเภทก็คือหุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น หุ่นยนต์ประเภทนี้มักใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม  โดยมีลักษณะฐานยึดติดกับพื้น  และมีข้อต่อกับแกนหมุนประกออบกันเป็นหุ่นยนต์แขนกล  ที่ปลายแขนกล (End Effector) ถูกติดตั้งอุปกรณ์เฉพาะทางไว้สำหรับงานหุ่นยนต์ที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น  หุ่นยนต์พ่นสีรถที่ปลายแขนกลก็จะติดตั้งหัวพ่นสีเอาไว้ เป็นต้น

หุ่นยนต์แขนกลนี้แม้ว่าจะมีแต่แขนแต่ความสามารถก็ไม่ได้แพ้หุ่นยนต์เคลื่อนที่เลยนะ เพราะในกินเนสเวิลด์เรคคอร์ดได้บันทึกหุ่นยนต์แขนกลที่ทรงพลังที่สุด อย่าง หุ่นยนต์ Fanuc M2000i/1200 ที่สามารถยกของได้หนักถึง 1,200 กิโลกรัม แซงสถิติเก่าที่ KUKA Titan ทำไว้เมื่อ 16 เดือนก่อนหน้า ในปี ค.ศ. 2008 ที่ 1,000 กิโลกรัม ไม่ธรรมดาเลยนะเนี่ย

และเมื่อไม่นานมานี้มี การศึกษาล่าสุดของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) ในนามของกระทรวงศึกษาธิการและวิจัยแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMBF) ที่สวนทางความเชื่อผิดๆที่ว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันในเยอรมนีมีอัตราส่วนหุ่นยนต์กว่า 309 หน่วยต่อพนักงาน 10,000 คน ในเยอรมนีมีความหนาแน่นของประชากรหุ่นยนต์เป็นอันดับสามของโลก ในขณะเดียวกันจำนวนคนแรงงานในเยอรมนีมีจำนวนถึง 44 ล้านคนในปี พ. ศ. 2560 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่การรวมตัวครั้งแรกของหุ่นยนต์และแรงงาน เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เข้ามาในกระบวนการผลิตไม่ได้เป็นการแทนที่ตำแหน่งการจ้างงานไปจากมนุษย์

"ผลการศึกษาของ ZEW ในตลาดแรงงาน สามารถยืนยันสิ่งที่เราตั้งข้อสังเกตในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั่วโลก" Junji Tsuda ประธานสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติกล่าว "การผลิตแบบสมัยใหม่สามารถช่วยลดการทำงานที่เป็นอันตราย งานที่ผลต่อสุขภาพและงานที่ต้องทำแบบเดิมซ้ำๆ ในกรณีส่วนใหญ่จะมีเพียงงานบางอย่างเท่านั้นที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติและไม่จำเป็นที่จะต้องใช้พนักงาน

ในเยอรมนีการเพิ่มขึ้นของการใช้เครื่องจักรช่วยให้การจ้างงานโตขึ้น 1% การพัฒนานี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต: ตามรายละเอียดจากบริษัทที่สำรวจ ZEW ประเมินว่าระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมจะช่วยเพิ่มการจ้างงานได้ถึง 1.8% ภายในปี 2564

London School of Economics (LSE) เพิ่งเผยแพร่ผลการวิจัยเรื่อง Robots at Work เกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมใน 17 ประเทศที่พัฒนาแล้วระหว่างปีพ. ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2550 หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ LSE, Guy Michaels สรุปผลสำคัญที่งานแถลงข่าวของ Messe Muenchen เกี่ยวกับ automatica 2018 ว่า "ผลผลิตมีการปรับปรุงโดยประมาณ 15% เนื่องจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันสัดส่วนแรงงานที่มีทักษะต่ำลดลงและจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หุ่นยนต์อุตสาหกรรมไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนพนักงานโดยรวม "

เห็นไหมล่ะครับว่าการเข้ามาของหุ่นยนต์นั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเลย หุ่นยนต์ก็คงไม่คิดว่าจะเข้ามาแย่งงานของเราด้วย มิหนำซ้ำยังมีตำแหน่งงานที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการเข้ามาของหุ่นยนต์อีกด้วยนะครับ ตอนนี้ก็คงสบายใจกันขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะ

 

อ่านต่อ

ไทยอันดับ 1 ในอาเซียน ที่มีอัตราการเติบโตของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสูงสุด

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม LBR iiwa คว้า Red Dot Award - Best of The Best

Delivery Robot ให้บริการแล้ว