ผลวิจัยเผย! กว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

อัปเดตล่าสุด 6 ก.พ. 2561
  • Share :
  • 512 Reads   

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้จัดทำงานวิจัยหัวข้อ “อนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Future of Electric Vehicles in South East Asia) ภายใต้การสนับสนุนจากนิสสัน โดยศึกษาจากการตอบคำถามของลูกค้าทางออนไลน์และการพูดคุยแบบตัวต่อตัว 1,800 ราย ในทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์

ผลการศึกษาได้เปิดเผยว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่วางแผนจะซื้อรถยนต์ในเร็วๆนี้ มีความพร้อมและสนใจเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยผลที่ได้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคที่จะเร่งให้เกิดยานยนต์ไฟฟ้าในเร็วๆนี้ ซึ่ง 37% ของผู้ที่กำลังจะซื้อรถยนต์มีความสนใจที่จะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นคันต่อไป โดยลูกค้าใน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และอินโดนีเซีย คือกลุ่มที่มีความต้องการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเสนอแรงจูงใจ (incentive) ที่เหมาะสมจะส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว

ด้านความปลอดภัย 2 ใน 3 ผู้บริโภคทั่วภูมิภาคให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ในการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และด้านความสะดวกสบายในการชาร์จไฟฟ้าเป็นปัจจัยอันดับที่สอง ตรงข้ามกับความเข้าใจเดิมๆ ราคาไม่ใช่ปัญหา และโดยข้อเท็จจริงแล้ว ลูกค้ามีความพร้อมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรถยนต์แบบทั่วไป

อย่างไรก็ตามผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายที่ต่ำลงจะทำให้คนจำนวนมากขึ้นคิดที่จะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าพวกเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนจากรถยนต์ทั่วไปเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าถ้ามีการยกเว้นภาษี รวมถึงแรงจูงใจอื่นๆ และที่จะสร้างความน่าสนใจให้ผู้บริโภคหันมาซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าในอาคารที่อยู่อาศัย (70 %) การมีช่องทางขับขี่พิเศษสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (56 %) และการไม่เสียค่าที่จอดรถ (53 %)

แม้ว่าจำนวนผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังทราบถึงความแตกต่างของเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า อาทิ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่  รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์นิสสัน อี-เพาเวอร์ ผู้บริโภค 83 เปอร์เซ็นต์ ยังมีความเข้าใจว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าคือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ใน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ผู้คนมีการพัฒนาความเข้าใจในเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มากที่สุด ขณะที่ รถยนต์แบบไฮบริดที่มีจำนวนมากในมาเลเซียและไทย ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด

ถึงแม้จะมีความต้องการต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สูง แต่ก็ยังมีอุปสรรคหลายด้านเช่นกัน อาทิ การขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง  ความกังวลใจเรื่องแบตเตอรี่จะหมดลงคืออุปสรรคหลักของการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เช่นดียวกันกับที่ ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

“การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของรถยนต์ขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้าจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงแนวทางการดำเนินการในระยะยาวที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละตลาด” นาย ยูตากะ ซานาดะ รองประธานอาวุโส ระดับภูมิภาคของนิสสัน กล่าวในงาน นิสสัน ฟิวเจอร์นี้ว่า “ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่าภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

“ขณะเดียวกัน เราในฐานะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ก็จะต้องทำงานให้ดียิ่งขึ้นเพื่ออธิบายว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีความปลอดภัย มีความชาญฉลาด และเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในทุกสภาพอากาศ”  นาย ซานาดะ ยังเสริมด้วยว่า “รถยนต์ไฟฟ้าของนิสสันได้รับการทดสอบอย่างจริงจังในสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุด เรามีความภาคภูมิใจที่ลูกค้า นิสสัน ลีฟ จำนวน 300,000 รายได้ขับรถของเรา ไปมากกว่า 3.9 พันล้านกิโลเมตรทั่วโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยไม่มีปัญหาใหญ่ๆ เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่เลย”

ขณะที่ นาย วิเวก ไวทยา รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบขับเคลื่อนของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “ความเข้าใจในเรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงซึ่งสูงกว่ามาก ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อที่ว่า ราคาที่สูงของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นอุปสรรค แต่จากการสำรวจเผยว่าผู้บริโภคกลับมีความกังวลด้านความปลอดภัยและการชาร์จไฟ ซึ่ง หากภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาลสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ลงได้ ความเป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้าก็จะมีอยู่สูง”