IoT โลจิสติกส์ การขนส่งโลจิสติกส์ ระบบการขนส่งโลจิสติกส์

IoT โลจิสติกส์ ปรับโฉมการขนส่งด้วย CASE และ MaaS

อัปเดตล่าสุด 10 ก.ย. 2562
  • Share :
  • 4,267 Reads   

ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่ธุรกิจ E-commerce กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ปัญหาขาดแคลนคนขับรถกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญยิ่งขึ้น IoT โลจิสติกส์ จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้

ปัญหาทางด้านการขนส่งโลจิสติกส์ที่ยังแก้ไม่ตก ทั้งเส้นทางการเดินรถที่ไม่ทั่วถึง, ความแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน, และอื่น ๆ ด้วย สามารถแก้ได้ด้วยการนำเทคโนโลยี IoT ที่ก้าวหน้ามาเปลี่ยนแปลงการขนส่งโลจิสติกส์ รวมถึงการคมนาคมของผู้คนครั้งใหญ่ ทั้งแนวคิด CASE (Connected, Autonomous, Shared, Electric) และแนวคิด MaaS (Mobility as a Service) ที่อาศัยเทคโนโลยี "ระบบขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Driving)" เข้ามาช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น เทคโนโลยี “Connected” สำหรับการคมนาคมและการท่องเที่ยว และเทคโนโลยี “Sharing” ที่เข้ามาลดความแออัด และพัฒนาความสะดวกในการเดินทาง

การขนส่งโลจิสติกส์

รถบรรทุก คือผู้เล่นหลักในการขนส่งภายในประเทศ  กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากการมาของแนวคิด CASE (Connected, Autonomous, Shared, Electric) ซึ่งจะเข้ามาช่วยลดภาระ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น


Double Truck ความยาว 25 เมตร บริษัท YAMAMOTO TRANSPORT

Hitachi Transport System เปิดตัวเทคโนโลยี IoT สำหรับบริหารจัดการรถบรรทุก Smart & Safety Connected Vehicle (SSCV) ซึ่งมีคุณสมบัติในการตรวจสอบอุณหภูมิและความดันของผู้ขับขี่ โดยเป็นฟังก์ชันเพิ่มเติมจากการบันทึกเวลารับส่งพัสดุ เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถตรวจสอบข้อมูลการขับและสภาพร่างกายผู้ขับขี่ได้ โดยข้อมูลเหล่านี้จะนำไปวางแผนร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการขนส่งให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด  ทางบริษัทรายงานว่า “ระบบนี้จะถูกนำมาใช้กับรถบรรทุกทั้งหมดของบริษัทภายในเดือนธันวาคมนี้”

ส่วนในด้านการกระจายสินค้านั้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กำลังนำเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติมาใช้ในการพัฒนาขบวนรถบรรทุก ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการผ่อนปรน เพื่อให้ทดลอง “Double Truck” ขบวนรถตู้ขนาดใหญ่ซึ่งคันหนัาใช้คนขับ และคันหลังไร้คนขับ บนถนนจริงได้ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2019 โดย Mr. Yutaka Nagao ประธานบริษัท YAMATO HOLDINGS ผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ประเทศญี่ปุ่น แสดงความเห็นว่า “อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ควรลดการแข่งขันลง แล้วเปลี่ยนมาให้ความร่วมมือ อะไรแบ่งได้ในทางเดียวกันก็แบ่งกันดีกว่า”

ส่วนในด้านของ E-commerce ซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลให้จำนวนสินค้าในรถบรรทุกแต่ละเที่ยวลดลง จึงส่งผลให้ธุรกิจรายเล็ก อยู่ระหว่างการนำเสนอโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น “การจับคู่สินค้ากับรถ” เพื่อแยกการขนส่งสินค้าขนาดเล็กออกมา และเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในภาพรวมให้มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

การคมนาคม

ในอนาคต การคมนาคมจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่น การทำงานนอกสถานที่ นำมาซึ่งการลดจำนวนเที่ยวรถโดยสารสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพสังคมที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เอง ทำให้การคมนาคมต้องการความสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงปัญหาที่แก้ไม่ตก อย่างการจราจรแออัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน และอุบัติเหตุทางท้องถนน

ไอเดียหนึ่งที่ถูกเสนอขึ้นเพื่อแก้โจทย์นี้คือแนวคิด MaaS (Mobility as a Service) ซึ่งจะสำเร็จได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี CASE เป็นหลัก

โดย MaaS ถูกแบ่งการใช้งานออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ การคมนาคมในเมือง, ในชทบท, และการท่องเที่ยว โดยการใช้งานในเมือง จะต้องการเทคโนโลยี “Connected” มากที่สุด ในขณะที่ความต้องการลดความแออัด และพัฒนาความสะดวกในการเดินทาง จะอยู่ในส่วนของ “Sharing”

ถัดมาคือในชนบท ซึ่งวิธีที่กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยคือ การนำเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า และ Sharing มาใช้ร่วมกัน ในชื่อ “Cleans Mobility” ด้วยการใช้ยานยนต์ความเร็วต่ำเข้ามาเป็นบริการ และการขนส่งสาธารณะแทน เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ส่วนในด้านการท่องเที่ยวนั้น แนวคิดนี้กำลังถูกนำมาใช้ในการพัฒายานพาหนะ และธุรกิจรถเช่า เพื่อเปลี่ยนการเดินทาง ให้กลายเป็นการท่องเที่ยวไปในตัว ด้วยการใช้สมาร์ทโฟนเลือกเส้นทาง และรูปแบบการเดินทางได้ตามต้องการ เช่น การเดินทางด้วยรถ หรือเรือ แล้วเปลี่ยนไปเป็นจักรยานเมื่อถึงตำแหน่งที่ต้องการ

หนึ่งในบริษัท ที่นำ MaaS มาตั้งต้นในการพัฒนาคือ Toyota และ SoftBank ได้จับมือร่วมกันมุ่งหน้ายกระดับการคมนาคมภายใต้แนวคิดนี้ ก่อตั้ง “Monet” และพัฒนาแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้า “e-Palette” มุ่งใช้ยานยนต์เป็นการบริการ เพื่อให้ยานยนต์มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง e-Palette ซึ่งสามารถใช้งานในฐานะออฟฟิศ หรือร้านอาหารเคลื่อนที่ได้

#IoT โลจิสติกส์ #การขนส่งโลจิสติกส์ #ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ #อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ #IoT #Internet of Thing  #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรมการผลิต