ก.อุตฯ สั่งเอ็กซเรย์เข้มกว่า 200 โรงงาน เสี่ยงลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม

อัปเดตล่าสุด 26 ก.ย. 2562
  • Share :
  • 513 Reads   

วันที่ 23 ก.ย.62 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยกระดับการกำกับโรงงานเสี่ยงลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม สั่งเอ็กซเรย์เข้มพร้อมจัดทำแผนป้องกันโดยเน้นที่ต้นทาง เพื่อป้องกันปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่โดยรอบ 

นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาปรากฏข่าวการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมอยู่บ่อยครั้งในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นกากอุตสาหกรรมที่มีสิ่งเจือปนเกินค่าที่กฎหมายกำหนดและหลายกรณีเข้าข่ายเป็นของเสียอันตราย ซึ่งเมื่อจังหวัดใดพบปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้าไปกำจัดกากอุตสาหกรรมเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่อยู่โดยรอบ รวมถึงป้องกันปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นโดยแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงนับร้อยล้านบาท กระทรวงฯ จึงได้สั่งการให้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จัดทำมาตรการป้องกันปัญหาลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม และกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ต้นทางอย่างเป็นระบบและครบวงจร โดยได้มีการเห็นชอบแผนการป้องกันการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2562 ที่ กรอ.นำเสนอ มีผลดำเนินการในทันที

แผนการป้องกันการลักลอบทิ้งกากฯ แบ่งเป็น 3 ระยะตามลำดับ 

1) การแจ้งเตือนผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 2,353 ราย ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วจากโรงงาน โดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547 และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 อย่างเคร่งครัด หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าฝ่าฝืนกฎหมาย มีระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและอาจเป็นเหตุให้ทางราชการมีคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขโรงงาน รวมทั้งอาจนำไปสู่เงื่อนไขการออกคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการโรงงาน หรือ ปิดโรงงานได้แล้วแต่กรณี

 2) การส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมให้มีการจัดการอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลัก 3Rs  (Reduce – การลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด // Reuse – การนำของเสียที่เกิดขึ้นนำกลับไปใช้ซ้ำ // Recycle - การนำของเสียไปเปลี่ยนสภาพผ่านกระบวนการต่างๆ และกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่) ซึ่งมีการเผยแพร่ความรู้ทางเว็บไซต์ กรอ. และผ่านโครงการต่าง ๆ 

3) การสั่งการให้ กรอ.และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) กำกับดูแล ตรวจสอบกำกับโรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งกากของเสียอันตราย จำนวน 205 ราย ที่ประเมินแล้วว่ากากอุตสาหกรรมประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งกากฯ แบ่งเป็น โรงงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12 ราย และโรงงานในต่างจังหวัด 193 ราย 

“เจ้าหน้าที่ กรอ. และ สอจ. จะเข้าไปตรวจสอบกำกับโรงงานที่มีความเสี่ยง จำนวน 205 โรง ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายนนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยโรงงานที่ กรอ. ได้ชี้เป้าเป็นกลุ่มโรงงานผู้รับบำบัด กำจัดของเสีย จำนวน 24 ราย และ กลุ่มโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสีย จำนวน 181 ราย ว่าโรงงานมีของเสียชนิดใด และใช้บริการโรงงานผู้รับบำบัด กำจัดใด อยู่ในพื้นที่จังหวัดใดบ้าง ส่วนการตรวจสอบฯ จะเข้าไปดูว่าโรงงานปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องครบถ้วนหรือไม่ โดยเฉพาะการแจ้งข้อมูลผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องแจ้งเข้ามาในระบบของ กรอ. ทุกครั้งและทันที รวมถึงตรวจสอบปริมาณของเสียอันตราย และข้อมูลการส่งกำจัด บำบัด โดยต้องสอดคล้องกันตามหลักวิชาการ โดยกระทรวงฯ จะกำกับดูแลอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ ยังสั่งการเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำโรงงาน ลดและจัดการของเสียจากการประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำหลัก 3Rs มาประยุกต์ใช้


ส่วนกรณีพบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ กระทรวงฯ ได้ซักซ้อมความเข้าใจและวางแนวทางปฏิบัติแจ้ง สอจ.ทั่วประเทศทราบโดยทั่วกันแล้ว โดยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ สอจ. ทำงานร่วมกับพนักงานสอบสวน เพื่อให้รู้ว่าได้รับของเสียมาจากโรงงานใด เพื่อเป็นหลักฐานก่อนเสนอเรื่องของบประมาณมายังกระทรวง เพื่อดำเนินการเรียกค่าเสียหายในการกำจัดฯ คืนให้แก่ภาครัฐต่อไป โดย กรอ. จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการ และกระทรวงฯ ได้ดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณประจำปี 2563 เพื่อสำรองจ่ายไปพลางก่อน” นายพสุ กล่าว

จากการวิเคราะห์เหตุการณ์และสาเหตุการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม 3 กรณี (Cases) ย้อนหลังของ กรอ. พบว่า การบำบัด กำจัดของเสียอันตรายแต่ละชนิด ประเภท จะมีวิธีการและค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน และของเสียที่ไม่มีมูลค่า กำจัดยาก มีค่าจ่ายในการบำบัด กำจัดสูง มีความเสี่ยงต่อการที่ผู้ประกอบการเหล่านั้น จะนำของเสียที่รับมาบำบัดไปลักลอบทิ้งตามบ่อน้ำ บ่อลูกรัง พื้นที่ รกร้าง เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการบำบัด ดังนั้น กรอ. จะมุ่งเน้นการกำกับดูแลผู้รับบำบัด/กำจัด ซึ่งมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 2,343 ราย และจะยกระดับการตรวจสอบโรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งของเสียประเภท กรด-ด่างเข้มข้น Coolant และเชื้อเพลิงทดแทน เฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งคัดโรงงานเกี่ยวข้องได้จำนวน 205 ราย    

ทั้งนี้ โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 2,353 ราย แบ่งเป็น ประเภทโรงงานลำดับที่ 101 (ปรับคุณภาพของเสียรวม) จำนวน 141 ราย โรงงานลำดับที่ 105 (คัดแยกหรือฝังกลบสิงปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว) จำนวน 1,450 ราย และ โรงงานลำดับที่ 106 (นำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม) จำนวน 762 ราย

ด้านนายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการอนุญาตขนกากอุตสาหกรรมเข้าสู่โรงงานที่ไม่ใช่โรงงานตามอนุญาต (โรงงานประเภทลำดับ ที่ 101 105 และ 106 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน) ซึ่งจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จึงอยากจะขอเตือนผู้ประกอบการให้ดำเนินการขออนุญาตการนำเข้า