การพัฒนาบุคลากร กุญแจสำคัญสู่ศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ

อัปเดตล่าสุด 26 ก.ย. 2562
  • Share :
  • 566 Reads   

การมาของ Digital Transformation กระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตตื่นตัวในการอบรมบุคลากรใหม่เป็นอย่างยิ่ง เพื่อตอบรับกับปัญหาแรงงานขาดแคลนทักษะทางด้านดิจิทัลที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง อีกทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรณ์บุคคลที่มีอยู่แต่เดิมให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ซึ่งหลายบริษัทได้เผยแนวทางการพัฒนาบุคลากรของตน ดังนี้

Hitachi ตั้งเป้าพัฒนาหลักสูตรการอบรมพนักงานเก่า ด้วยการก่อตั้ง Hitachi Academy และมุ่งเปิดหลักสูตรให้ได้ภายในปีงบประมาณ 2020 เพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนต่อคนให้สูงขึ้นจากเดิมอีก 50% ในปี 2021 เพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมต่อยุค IoT

Canon เป็นอีกบริษัทที่เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงมุ่งปรับเปลี่ยนเนื้องานของพนักงานเดิมให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม พร้อมอบรมทักษะการใช้ซอฟต์แวร์ให้กับพนักงาน ตั้งเป้าผลิตบุคลากรในตำแหน่งวิศวกรณ์ซอฟต์แวร์ 370 ตำแหน่งภายในปี 2022 เพื่อตอบรับการมาของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ,  IoT , และบริการผ่านคลาวด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขัน และลดจำนวนแรงงานที่จำเป็น โดยการย้ายพนักงานเดิมไปทำงานตามทักษะที่ได้รับการอบรมใหม่

อีกรายหนึ่งคือ Sumitomo Chemical ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล 170 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น Data Scientist ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการวิเคราะห์ข้อมูล 20 ตำแหน่ง และ Data Engineer ซึ่งรับผิดชอบการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติในโรงงาน และศูนย์วิจัย เพื่อยกระดับขีดความามารถของโรงงาน ระบบอัตโนมัติ และการวิจัยของบริษัท

จากแนวทางเหล่านี้จะเห็นได้ว่าบริษัทต่าง ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการอบรมบุคลากรเดิม เพื่อต่อยอดทักษะที่มีอยู่ให้รองรับกับยุค Digital Transformation มากขึ้น และเมื่อพิจารณาร่วมกับข้อมูลจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเหมาะสมในอุตสาหกรรม IT ระดับสูง 50,000 คน และอุตสาหกรรม IT ทั่วไป 300,000 คนในปี 2020 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2030 จึงเป็นที่แน่นอนว่า การพัฒนาบุคลากรจะเป็นอีกหนึ่งในการแข่งขันสำคัญระหว่างทุกธุรกิจเลยทีเดียว