ตลาดโดรนในอนาคต คือ โลจิสติกส์ และ E-commerce

อัปเดตล่าสุด 23 เม.ย. 2562
  • Share :
  • 1,286 Reads   

เดิมทีแล้ว โดรนถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีข้อบกพร่องอยู่มาก แม้มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบากว่าเฮลิคอปเตอร์ แต่ก็ไม่สามารถใช้งานในพื้นที่ลมแรง อีกทั้งแบตเตอรี่ก็มีพลังงานต่ำ ทำให้ใช้งานได้ไม่นานนัก อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดรนเรียกได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมการเกษตร และการตรวจสอบคุณภาพอาคารสิ่งก่อสร้าง และถูกหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมที่โดรนจะเข้าไปมีบทบาทในอนาคต ก็คือโลจิสติกส์ และการดูแลรักษาความปลอดภัย

โดรนในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน และ E-commerce 

ความคืบหน้าที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม คือเทคโนโลนีโดรนสำหรับใช้งานในอาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้ผลิตหลายรายนำระบบ GPS มาใช้ในการพัฒนาโดรน ซึ่งก็ประสบปัญหาว่าไม่สามารถใช้ในอาคารที่สัญญาณไม่ดี หรืออาคารใต้ดินได้

ด้วยเหตุนี้เอง Blue innovation ร่วมกับ Flyability บริษัทสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้พัฒนาโดรนเพื่อใช้งานในพื้นที่อับสัญญาณ ได้เป็นโดรนซึ่งผลิตจากวัสดุคาร์บอน และมีขนาดเล็กเพียง 40 เซ็นติเมตรเท่านั้น โดยเป็นโดรนที่มีความทนทานสูง สามารถใช้งานต่อได้แม้จะบินชนสิ่งกีดขวาง ติดตั้งหลอด LED เพื่องระบุตำแหน่งในที่มืด ซึ่งเบื้องต้น คาดการณ์ว่าจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน


โดรนของ Mitsubishi Hitachi Power Systems

Mitsubishi Hitachi Power Systems ตั้งเป้าพัฒนาโดรนสำหรับงานตรวจสอบโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น หม้อน้ำโรงไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันยังเป็นรุ่นที่จำเป็นต้องใช้มนุษย์ควบคุมการทำงานอยู่ ส่วนแบบอัตโนมัตินั้น ทางบริษัท ได้ร่วมมือกับ ALI Technologies เพื่อพัฒนาให้ใช้งานจริงได้ในปี 2020 โดยโดรนของ Mitsubishi Hitachi Power Systems มีลักษณะภายนอกเป็นโครงทรงกลมคล้ายกับโดรนของ Blue innovation ซึ่งทางบริษัทให้ความเห็นว่า “สภาพแวดล้อมในหม้อน้ำของโรงงานไฟฟ้า เป็นสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดสำหรับโดรน ทั้งอุณหภูมิ ฝุ่น ความชื้น และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า”

หากเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ เช่น เลเซอร์เซ็นเซอร์ และ Ultrasonic Reflection มีความคืบหน้ามากกว่านี้ การออกแบบโดรนให้มีโครงสร้างแบบทรงกลมเพื่อรับแรงปะทะก็จะมีความจำเป็นลดลง ไปจนถึงไม่จำเป็นได้ในอนาคต และหากสามารถพัฒนาโดรนให้มีขนาดเล็กลงได้ ก็จะสามารถนำไปใช้ได้หลายอุตสาหกรรมยิ่งขึ้น เช่น การใช้โดรนร่วมกับหุ่นยนต์ทำความสะอาด เพื่อพัฒนาระบบทำความสะอาดอัตโนมัติสำหรับใช้ภายในอาคาร ซึ่ง Mitsubishi Hitachi Power Systems อยู่ระหว่างเดินหน้าการทดสอบใช้งานโดรนจริงภายในอาคารที่คนชุกชมอยู่ในขณะนี้

อีกบทบาทหนึ่งที่โดรนจะมีความสำคัญ คือบทบาทในฐานะตัวช่วยของธุรกิจ E-commerce ด้วยคุณสมบัติในการทำงานโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้จึงสามารถนำโดรนมาช่วยในการส่งสินค้าให้กับผู้รับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งสามารถนำโดรนมาใช้ในการพัฒนาคลังสินค้า และระบบขนส่งอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ได้ในอนาคต  

โดรนในงานรักษาความปลอดภัย และงานกู้ภัย

Toko Ironworker ประกาศวางจำหน่ายโดรนเพื่อการรักษาความปลอดภัย และโดรนกู้ภัยภายในปีนี้ ด้วยการพัฒนามอเตอร์ และออกแบบโครงสร้างให้สามารถใช้งานในพื้นที่ลมแรงได้ดีกว่าโดรนทั่วไป 1.5 เท่า ติดตั้งกล้องอินฟาเรดที่หุ้มด้วยแผ่นอะคริลิก ทำให้สามารถใช้งานได้ในยามกลางคืน รวมถึงภายใต้พายุฝน

อีกบริษัทที่ให้ความสนใจในตลาดโดรนคือ Mitsubishi Heavy Industries ซึ่งออกแบบโดรนขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบตรวจการณ์ชายฝั่ง โดยใช้ดีไซน์ของเฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับที่พัฒนาร่วมกับ Prodrone เป็นพื้นฐานในการพัฒนา และตั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง ให้เป็นเป้าหมายในการเข้าทำตลาด

Ishikawa Energy Research คือผู้พัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโดรนแบบไฮบริด ที่สามารถบินได้กว่า 1 ชั่วโมง ขณะที่บรรทุกน้ำหนักได้มากถึง 18 กิโลกรัม ด้วยมอเตอร์ และเครื่องยนต์ลูกสูบ 4 จังหวะแบบหล่อเย็นด้วยอากาศ


โดรนขนาดใหญ่ของบริษัท Terra Labo

นอกจากนี้ ยังมีผู้พัฒนาที่มุ่งไปที่โดรนขนาดใหญ่แทนโดรนขนาดเล็ก เช่น Terra Labo ซึ่งพัฒนาโดรนที่มีความยาวปลายปีกถึง 4 เมตร และบินได้ต่อเนื่องเป็นระยะทางถึง 100 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนารุ่นที่มีความยาวปลายปีกถึง 10 เมตรในขณะนี้ เพื่อเจาตลาะโดรนขนาดใหญ่ แต่ไม่ใหญ่เท่า Guardian ของสหรัฐ ซึ่งมีราคาสูง และใช้งานได้จำกัด เนื่องจากขนาดที่ใหญ่เกินไปสำหรับผู้ใช้หลายราย

อีกกรณีที่น่าสนใจของโดรนขนาดใหญ่คือโดรนค่ายเยอรมัน ด้วยการใช้เครื่องยนต์ใบพัดขนาดใหญ่ และปีกแบบตายตัวคล้ายคลึงกับเครื่องบิน Osprey ของกองทัพสหรัฐ ทำให้สามารถบินได้ด้วยความเร็วกว่า 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร และมีความมั่นคงสูง ซึ่งปัจจุบันถูกใช้ในทางการแพทย์ โดยทำหน้าที่ขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นไปยังสถานที่เกิดอุบัติเหตุแบบเร่งด่วน

สถานการณ์ตลาดโดรน

ปัจจุบัน จีนคือผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดโดรนระดับโลก โดยส่วนแบ่งกว่า 70% ของตลาด ล้วนมาจากผู้ผลิตค่ายจีนทั้งสิ้น ในขณะที่โดรนจากค่ายสหรัฐนั้นมุ่งไปที่การพัฒนาเพื่อการทหารมากกว่าอุตสาหกรรม ส่วนญี่ปุ่นที่ผ่านมาก็มุ่งไปที่กลุ่มผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นหลัก

นอกจากนี้ เมื่อครั้ง PyeongChang 2018 Olympic Winter Games โดรนยังถูกนำมาใช้งานอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงพิธีเปิด ด้วยใช้โดรนติดตั้งหลอด LED จำนวนกว่า 1,000 เครื่องในการแปรอักษร และสัญลักณ์ของงานโอลิมปิก ซึ่งแม้ปัจจุบันโดรนจีนจะยังมีประสิทธิภาพไม่ถึงจุดที่สามารถควบคุมโดรนหลักพันได้พร้อมกัน แต่ก็มีรายงานว่าสามารถควบคุมพร้อมกันได้ถึง 200 เครื่องแล้ว