จีน จัดงานแสดงสินค้ายิ่งใหญ่ ก้าวตามยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ สร้างโอกาสความร่วมมือเครื่องจักรไทย-จีน

อัปเดตล่าสุด 18 ก.ย. 2562
  • Share :
  • 1,777 Reads   

กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมด้วยสำนักพัฒนาการค้า กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัทจัดนิทรรศการนานาชาติ CMEC (ซีเมค อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็กซ์ซิบิชั่น) จัดพิธีเปิดงาน “China Machinery & Intelligent Manufacturing Brand Show (Thailand) และ Smart Manufacturing Exhibition (Thailand) and Metal + Metallurgy (Thailand)”  อย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยใช้สถานที่ร่วมกัน ณ ฮอล 105 ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการไบเทค กรุงเทพฯ จะเปิดให้เข้าชมงาน ตั้งแต่วันที่ 18-20 กันยายน 2562 โดยได้รับการสนับสนุนอันทรงเกียรติจากสมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะจีน และ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องจักรจีน พร้อมด้วย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน), อาลีบาบากรุ๊ป, สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย, สมาคมนักธุรกิจปักกิ่งประเทศไทย, สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมวิศวกรรมและหล่อโลหะมาเลเซีย, สมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะอินโดนีเซีย และองค์กรที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย

 

โดย “China Machinery & Intelligent Manufacturing Brand Show (Thailand) และ Smart Manufacturing Exhibition (Thailand) and Metal + Metallurgy(Thailand)”  จัดขึ้นเป็นปีแรก โดยรัฐบาลจีนในประเทศไทย นำเสนอนิทรรศการปัญญาประดิษฐ์ และสามารถดึงดูดผู้จัดนิทรรศการกว่า 160 ราย จากประเทศจีน ไทย มาเลเซีย และอินเดีย บนพื้นที่จัดงานกว่า 6,000 ตารางเมตร ครอบคลุม 6 ด้านที่สำคัญในอุตสาหกรรม คือ ระบบการผลิตในลักษณะ Industrial Automation, ระบบควบคุม Motion & Drives, การหล่อโลหะแบบ Foundry & Metallurgy, การแปรรูปด้วยความร้อน (Thermal Process), กระบวนการผลิตชิ้นส่วนโลหะแบบ Die-Casting และเครื่องอัดอากาศ Air Compress โดยคาดว่าจะมีผู้ซื้อเข้าร่วมงานหลายพันรายจากกลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าและตัวแทนจากอุตสาหกรรมเป้าหมายในหลายภาคส่วน

แขกผู้มีเกียรติร่วมงานในปีนี้ ได้แก่

มิสเตอร์ ฮวง ไค (Mr.Huang Kai) เลขานุการเอก สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์  สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย

มิสเตอร์ซู กวงลิง (Mr. Su Guangling) รองผู้อำนวยการ กรมส่งเสริมการค้า สำนักพัฒนาการค้า กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทย – จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี

นางสาวกนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

มิสเตอร์ซาง ลิโบ (Mr. Zhang Libo) รองประธานสภาอุตสาหกรรมเครื่องจักรของจีน และประธานสมาคมหล่อโลหะจีน

มิสเตอร์หยาง หมิง  (Mr. Yang Ming) เลขาธิการคณะกรรมการจัดนิทรรศการ สมาคมหอการค้าต่างประเทศของจีนและผู้จัดการทั่วไปบริษัท ซีเมค อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็กซ์ซิบิชั่น จำกัด

 

มิสเตอร์ ฮวง ไค เลขานุการเอก สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย เปิดเผยว่า งานในครั้งนี้จะเป็นก้าวที่สำคัญยิ่งในการสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งในด้านการผลิตอัจฉริยะรวมถึงเทคโนโลยีหล่อและหลอมโลหะ ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย

ทั้งนี้ ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นฉันท์มิตรอันดีมาอย่างยาวนาน ด้วยมีรากฐานความสัมพันธ์ของสองประเทศที่มั่นคงและแข็งแกร่ง “โดยยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ The Belt and Road” ที่เสนอแนวคิดโดยรัฐบาลประเทศจีนได้รับกระแสตอบรับที่ดียิ่ง และได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศจะยิ่งกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจากความร่วมมืออันใกล้ชิดในหลาย ๆ โครงการ ตามจุดมุ่งหมายของ The Belt and Road Initiative ทั้งจากการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก่อตั้งการเชื่อมต่อทางดิจิทัล การเพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยในอุตสาหกรรมเครื่องจักร การผลิตอัจฉริยะ อุตสาหกรรมการหล่อโลหะ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เอื้อต่อการพัฒนาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาการสื่อสารที่ไฮเทคและดิจิทัล

“รัฐบาลไทยมีการส่งเสริมแผนพัฒนาชาติอย่างแข็งแกร่ง อาทิ โครงการไทยแลนด์ 4.0  และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนด้านการลงทุนในการก่อสร้างอุตสาหกรรมไฮเทค และความจำเป็นในการเชื่อมต่อทางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน  อาลีบาบากรุ๊ป (alibaba group) ซึ่งเป็นช่องทางธุรกิจแบบ B2B (Business-to-Business) ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศจีนก็ได้เดินทางมาลงทุนและสร้างแวร์เฮาส์อัจฉริยะในประเทศไทย  บริษัทจัดนิทรรศการนานาชาติ CMEC ได้จัดประชุมอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักรกลนานาชาติ นำโดยอาลีบาบากรุ๊ปใน 2 หัวข้อ คือ “ช่องทางธุรกิจข้ามพรมแดนผ่านอีคอมเมิร์ซ” และ “อาลีบาบา ราชาแห่งข้อมูล” อาลีบาบาจะให้ข้อมูลเคล็ดลับกลุ่มธุรกิจของบริษัทเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในช่องทางอีคอมเมิร์ซได้อย่างไร และกลายเป็นหนึ่งในสิบบริษัทของโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งและมีมูลค่าสูงที่สุดในโลก เพื่อเอื้อให้บริษัทอื่น ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมสามารถใช้ช่องทางธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย”

มิสเตอร์ ฮวง ไค กล่าวอีกว่า สมาคมหล่อโลหะจีน สมาคมหล่อโลหะอินเดีย สมาคมหล่อโลหะไทย และสมาคมหล่อโลหะญี่ปุ่น จาก 12 ประเทศและภูมิภาค ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมหล่อโลหะเอเชีย อย่างเป็นทางการ ณ งานนิทรรศการครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในอุตสาหกรรมการหล่อโลหะของเอเชียในรูปแบบขององค์กรไม่แสวงผลกำไร โดยสมาคมหล่อโลหะเอเชียมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมหล่อโลหะในสาขาต่างๆ เพื่อส่งเสริมประเทศสมาชิกทั้งในด้านการสื่อสารและการร่วมมือ พัฒนามูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการหล่อโลหะและประโยชน์ทางสังคม โดยมี มิสเตอร์ซาง ลิโบ ประธานสมาคมการหล่อโลหะจีน รับทำหน้าที่เป็นประธานคนแรกของสมาคมหล่อโลหะเอเชีย เราเชื่อว่าสมาคมจะสร้างความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมหล่อโลหะในเอเชีย ตลอดจนในโลกในอนาคต ในช่วงเวลาของการจัดงาน เราจะจัดกิจกรรม BBS (Behavior Based Safety) ที่หลากหลายในอุตสาหกรรมหล่อโลหะเพื่อพัฒนาการสื่อสารระหว่างอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้นในหลากหลากมุมมอง

อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ The Belt and Road ไม่ได้อยู่เพียงในระดับรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสองบริษัทในสองประเทศ ความสำเร็จของนิทรรศการจะเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าการผลิตอัจฉริยะและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหล่อและหลอมโลหะนับเป็นความต้องการที่เร่งด่วนในปัจจุบัน โดยเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่างานครั้งนี้ที่จัดโดยรัฐบาลจีนจะมีผลดียิ่งต่อการแลกเปลี่ยนทางอุตสาหกรรมและความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน เราหวังที่จะได้จัดงานที่ใหญ่ขึ้นและสำเร็จยิ่งขึ้นไปอีกในปีถัดไป