สถาบันยานยนต์ ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ฯ นำร่อง 9 รายการ มาตรฐาน UNECE R 100

สถาบันยานยนต์ ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ฯ นำร่อง 9 รายการ มาตรฐาน UNECE R 100

อัปเดตล่าสุด 19 มี.ค. 2563
  • Share :
  • 1,288 Reads   

สถาบันยานยนต์ ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ด้วยการเปิดให้บริการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าแก่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้โดยสารใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำงานของระบบแบตเตอรี่ โดยได้กำหนดประเภทการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า 9 รายการ ตามมาตรฐาน UNECE R 100 เทียบเท่าต่างประเทศ ดังนี้

 

1. ความแข็งแกร่งของโครงสร้าง (Mechanical Integrity) 

แบตเตอรี่ที่ถูกทดสอบจะถูกบดอัดระหว่างแผ่นต้าน และแผ่นบดที่มีแรงอย่างน้อย 100 kN

2. การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายนอก (External short circuit protection)

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรของแบตเตอรี่ แบตเตอรี่จะถูกลัดวงจรจนกว่าจะสามารถยืนยันการทำงานของระบบการป้องกันการลัดวงจร

3. การป้องกันการชาร์จเกิน (Overcharge protection) 

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการป้องกันการชาร์จเกิน  เมื่อทำการทดสอบแบตเตอรี่ที่ถูกทดสอบจะถูกชาร์จจนกระทั่งแบตเตอรี่จะถูกตัดการชาร์จโดยอัตโนมัติหรือจนกว่าแบตเตอรี่นั้นจะชาร์จสองเท่าของความจุสูงสุด

4. การป้องกันการดิสชาร์จเกิน (Over-discharge protection) 

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันการดิสชาร์จเกินของแบตเตอรี่  ในระหว่างการทดสอบ แบตเตอรี่จะถูกคายประจุจนกว่าจะถูกตัดการคายประจุหรือเมื่อแบตเตอรี่ถูกคายประจุถึง 25% ของระดับแรงดันไฟฟ้านอมินอล (Nominal voltage)

5. การป้องกันอุณหภูมิเกิน (Over temperature protection)

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันของแบตเตอรี่จากความร้อนที่สูงเกินไป เมื่อทำการทดสอบ แบตเตอรี่จะถูกชาร์จและดิสชาร์จออกมาซ้ำ ๆ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ แบตเตอรี่จะถูกวางในเตาอบพาความร้อนหรือห้องควบคุมภูมิอากาศ  อุณหภูมิของเตาอบหรือห้องจะค่อยๆเพิ่มขึ้นถึงระดับที่กำหนดไว้ การทดสอบสรุปได้เมื่อแบตเตอรี่ที่ผ่านการทดสอบยับยั้งหรือจำกัดการชาร์จและดิสชาร์จเพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

6. การทนอุญหภูมิ (Thermal shock)

เพื่อตรวจสอบความต้านทานของแบตเตอรี่ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหัน  แบตเตอรี่ที่ทดสอบจะถูกเก็บไว้ที่ประมาณ 60° C อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ตามด้วยการจัดเก็บที่ประมาณ -40° C อีก 6 ชั่วโมง ซ้ำห้าครั้งโดยมีช่วงเวลาพักระหว่างอุณหภูมิร้อนหรือเย็นสุดไม่เกิน 30 นาที

7. การกระแทก (Mechanical shock)

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพความปลอดภัยของแบตเตอรี่ภายใต้แรงเฉื่อยที่อาจเกิดขึ้นในสภาพการชนของยานพาหนะ แบตเตอรี่ที่ถูกทดสอบจะถูกเร่งความเร็วหรือชะลอตัวตามความเร่งที่ระบุ

8. การทนไฟ (Fire resistance)

ทดสอบเพื่อตรวจสอบความต้านทานของแบตเตอรี่ต่อไฟที่เกิดขึ้นนอกยานพาหนะเพื่อให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารมีเวลาหลบหนีที่เพียงพอ แบตเตอรี่ที่ถูกทดสอบจะต้องสัมผัสกับเปลวไฟที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง

9. การสั่นสะเทือน (Vibration)

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพความปลอดภัยของแบตเตอรี่ ภายใต้เงื่อนไขการสั่นสะเทือน แบตเตอรี่ที่อยู่ภายใต้การทดสอบจะมีการสั่นสะเทือนรูปคลื่นไซน์ระหว่าง 7 Hz และ 50 Hz และกลับไปที่ 7 Hz ในช่วง 15 นาที โดยทำซ้ำ 12 ครั้งเป็นระยะเวลาการทดสอบทั้งหมดสามชั่วโมง
 

โดยไตรมาสที่ 3 ปี 2563 นี้ สถาบันยานยนต์จะสามารถเปิดให้บริการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าได้ ในรายการที่ 1-5 และศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า และจะสามารถให้บริการอย่างครบวงจรทุกรายการทดสอบได้ ในปี 2564

โดยสามารถสอบถามข้อมูลการทดสอบและการบริการได้ที่ ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า สถาบันยานยนต์
โทร. 02-712-2414
อีเมล [email protected]
หรือ Line @thaiauto


 

อ่านเพิ่มเติม: