รัฐ-เอกชน หนุนภาคอุตสาหกรรมใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเต็มสูบ จัด Robotics Cluster Pavilion ในเมทัลเล็กซ์ 2018

อัปเดตล่าสุด 16 พ.ย. 2561
  • Share :
  • 399 Reads   

ภาครัฐ-เอกชนหนุนภาคอุตสาหกรรมโลหะการทุกขนาดใหญ่ถึง SMEs ใช้หุ่นยนต์และระบบ อัตโนมัติเต็มสูบ จัด Robotics Cluster Pavilion ในงานเมทัลเล็กซ์ 2018 ระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายนนี้ ณ ไบเทค บางนา บูรณาการมาตรการสนับสนุนจากทุกหน่วยงาน การให้บริการแบบ One Stop Service เน้นให้คำปรึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การเลือก SI สินเชื่อ มาตรการภาษี และการตัดสินใจลงทุน พร้อมเป็นศูนย์รวม SI มาตรฐานที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว
 

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า การยกระดับอุตสาหกรรมให้ ก้าวไปข้างหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้น จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสมควบคู่กันไปกับการจัดการที่ดี เช่น การคํานึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อการยกระดับประสิทธิภาพในการ ผลิตในระยะยาว โดยรัฐบาลเล็งเห็นถึงความจําเป็นในการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในภาคอุตสาหกรรม และ ต้องการให้เกิดการขยายผลไปในภาคส่วนต่าง ๆ ด้วย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคการเกษตร ภาคบริการ เป็นต้น เช่น การขยายผลสู่ ภาครัฐ ได้เริ่มมีการหารือและมีแนวทางในการผลักดันร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อ สร้างความตระหนักในการใช้หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล ในการพิจารณาองค์กรนําร่องเพื่อให้บริการภาครัฐอย่างมี ประสิทธิภาพอีกด้วย สําหรับในภาคการเกษตร มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือสําหรับเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเพื่อดําเนินการ Smart farming และเริ่มนําร่องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร และอํานาจเจริญ) เพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร เช่น การสนับสนุน Smart module เช่น ระบบ เซ็นเซอร์ในการวัดตัวแปรหรือพารามิเตอร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการประเมินปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรในระยะยาว

นายณัฐพล กล่าวถึงการจัดงาน Robotics Cluster Pavilion ภายในงาน Metalex 2018 จึงเป็นเวทีสําคัญ ในการผนึกกําลังเพื่อให้บริการในรูปแบบ One Stop Service แก่นักลงทุน นักอุตสาหกรรม SMEs หรือแม้กระทั่งประชาชน ทั่วไปที่มีความสนใจในการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน แต่ยังไม่แน่ใจและไม่รู้ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สามารถเข้ามาสอบถามหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ Pavilion ดังกล่าวซึ่งมีการผนึกกําลังจากทั้งภาครัฐ และเอกชนเพื่อให้บริการอย่างครบวงจร ประกอบไปด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CORE) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) เพื่อให้คําปรึกษาทั้งด้านเทคนิคและด้านการเงิน นายณัฐพลฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าสําหรับมาตรการในปีหน้า (พ.ศ.2562) ซึ่งได้เตรียมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

มาตรการด้านการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์และระบบ อัตโนมัติ สามารถลงทะเบียนขอให้ Center of Robotics Excellence (CORE) เข้าไปให้คำแนะนำในการ ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้ ซึ่ง ปัจจุบัน CORE ได้เปิดรับสมัครต้นแบบจำนวน 85 ต้นแบบ ในราคาไม่แพงและให้เหมาะกับ SMEs ในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนการอบรมเพื่อ ยกระดับบุคลากร SI warrior (ผู้ที่สามารถประกอบติดตั้งระบบ) จำนวน 570 คน ยกระดับผู้เชี่ยวชาญ (เน้น ด้านการออกแบบไลน์การผลิต) จำนวน 165 คน

มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน และภาษีต่าง ๆ โรงงานที่อยู่ในประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริม สามารถใช้มาตรการหักลดหย่อนภาษีได้ร้อยละ 50 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนใน การปรับปรุง ทั้งนี้ กรณีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบ อัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรที่มีการปรับเปลี่ยนให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง
 
มาตรการส่งเสริมผู้ผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผู้ประกอบการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะสามารถ นำเข้าชิ้นส่วนในภาษี 0 นอกจากนี้ CORE มีแผนจะสร้าง SI Startup โดยร่วมมือกับ TARA ในการดำเนินกิจกรรมการสร้าง SI Start up สำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จำนวน 35 ราย และได้รับความ ช่วยเหลือจากสมาคมผู้ประกอบการ TARA เป็น Big brother เน้นการปฏิบัติในโรงงานจริง ๆ แทนการอบรม สัมมนาอย่างที่ผ่านมา
 
นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) เผยถึงมาตรการสนับสนุน SME ในส่วนของ Center of Robotics Excellence (CORE) โดยจะให้คำปรึกษาด้านเทคนิคและประเมิน ความคุ้มค่าทางการเงินในเบื้องต้น (Quick Feasibility) จัดหาผู้เชี่ยวชาญในเครือข่าย CORE ซึ่งเป็น SI ที่ ลงทะเบียนไว้กับศูนย์ฯ เพื่อให้คำปรึกษาด้านเทคนิคในเชิงลึกอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันกลุ่ม SI ก็สามารถ เข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกเครือข่ายได้ภายในงาน
 
ดร. ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) กล่าวถึงอัตราการเติบของการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติว่า ความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 15% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า (2561-2563) และคาดการณ์ ว่าจะมีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใช้งานไม่ต่ำกว่า 5 แสนตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ สัดส่วนประชากรในวัยแรงงานลดลง ราคาหุ่นยนต์ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น
 
สำหรับประเทศไทยนั้น เป็น “ผู้ซื้อ" และ “ผู้รับ” เทคโนโลยีมากกว่าเป็น “ผู้ขาย” และ “ผู้สร้าง อุตสาหกรรม หุ่นยนต์ไทยมีข้อจํากัดด้านเทคโนโลยีและแบรนด์ ซึ่งขนาดการผลิตไม่ใหญ่พอ จึงไม่ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ดังนั้น โอกาสของผู้ประกอบการไทยในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไม่ได้อยู่ที่การเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ แต่อยู่ที่การเป็นผู้ให้บริการด้านการรวมระบบ (System Integrator: SI) และติดตั้งระบบอัตโนมัติให้กับผู้ใช้งานมากกว่า ในการนี้ บทบาท TARA พร้อมคัดสรรและรวบรวม SI คุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และการจัดโครงการ Robotics Cluster Pavilion ในงานเมทัลเล็กซ์ ได้ นำ SI ที่ได้มาตรฐานพร้อมให้คำปรึกษาในงาน
 
นายอิสระ บุรินทรามาตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จํากัด เผยถึงการจัดงานเมทัลเล็กซ์ 2018 ว่า “งานแสดงสินค้าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันเทคโนโลยีสู่กลุ่ม อุตสาหกรรม เพราะนอกจากผู้เข้าชมงานจะได้สัมผัสถึงสมรรถนะของเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้ว ผู้จัดแสดงก็มีการจัดรายการส่งเสริมการขายทั้งราคาและการบริการที่มากกว่าปกติ ซึ่งผู้เข้าชมงานสามารถเปรียบเทียบ ความแตกต่างของแต่ละสินค้าได้ ทั้งยังเป็นเวทีที่สำคัญในการให้องค์ความรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจ"
 
หนึ่งในกิจกรรมสำคัญในการจัดงานปีนี้คือ Robotics Cluster Pavilion ซึ่งประกอบด้วย การให้บริการให้คำปรึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และ การแนะนำการเลือก SI โดยเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หรือ CORE การจอง สิทธิ์รับสินเชื่ออัตราพิเศษภายในงาน โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ ไทย (SME Bank) ประกอบด้วย สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท/ราย สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0 วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท/ราย และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงมาตรการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 หรือร้อยละ 100 ตามเงื่อนไขที่กำหนดของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (BOI)