แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ แรงผลักดันตลาด Machine Tools

อัปเดตล่าสุด 3 ต.ค. 2561
  • Share :
  • 635 Reads   

เป็นที่คาดการณ์ว่า การลงทุนเครื่องจักร และการขยายตัวของแอปพลิเคชัน จะส่งผลให้ตลาด Machine Tools เกิดการเติบโตเป็นอย่างมาก และแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ (Machining Center) ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำงานต่อเนื่องด้วยความแม่นยำสูง คือหนึ่งในปัจจัยหลักและกลายเป็นเทรนด์ในการนำเสนอโซลูชัน เพื่อการยกระดับเสริมประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงมากยิ่งขึ้น 

สถานการณ์ยอดสั่ง Machine Tools ในขาขึ้น

ยอดสั่ง Machine Tools ญึ่ปุ่น (อ้างอิงข้อมูลจาก JMTBA)

ปัจจุบัน ยอดสั่ง Machine Tools ญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างขาขึ้น โดยมียอดปี 2017 ปิดที่มูลค่า 1.645 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปี 2016 มากถึง 32% และเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแม้ว่าจะมีแนวโน้มการชะลอตัวอยู่บ้าง แต่เมื่อแบ่งเป็นรายเดือนแล้ว พบว่า ทุกเดือนยังคงมียอดสูงกว่า 1.5 แสนล้านเยน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่สูงมาก ซึ่งในปี 2017 นี้เอง ยอดสั่ง Machining Center ได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าปีก่อนถึง 47% และมีอัตราส่วนคิดเป็น 45% จากยอดสั่ง Machine Tools ทั้งหมด

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การใช้ชิ้นส่วนและแพลตฟอร์มร่วมกันในอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้ไลน์ Process ชิ้นงานต้องการความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งความต้องการนี้เองที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดอุปสงค์ต่อ Machining Center เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้อยู่ไม่มากนัก ว่าที่ความต้องการ Machining Center จะลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากราคาค่าแรงที่สูงขึ้น แนวโน้มการจัดหาระบบอัตโนมัติ และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งทำให้ทำนายได้ว่าความต้องการ Machinining Center จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

คีย์เวิร์ดคือ “แอปพลิเคชัน”

การขยายตัวของตลาดแอพลิเคชัน

คาดการณ์ว่า ความต้องการ Machine Tools จะอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน ยอดสั่งซื้อ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีมูลค่ามากขึ้นต่อเนื่องนับเป็นเดือนที่ 20 แล้ว ซึ่งแม้ว่าเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้จะมีแนวโน้มที่ยอดจะลดลง แต่จากการคาดการณ์พบว่าจะสูงกว่า 1.5 แสนล้านอย่างแน่นอน ซึ่งคีย์เวิร์ดสำหรับประเด็นนี้คือ “แอพลิเคชัน”

ที่ผ่านมา ปัจจัยหลักที่ผลักดันแอพลิเคชันให้มีการขยายตัวคืออุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อุตสาหกรรมก่อสร้าง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมอากาศยาน, และอุตสาหกรรมกังหันลม ได้ผลักความต้องการแอพลิเคชันหลายรูปแบบพุ่งขึ้นสูง ซึ่งหมายถึงเม็ดเงินลงทุนเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกปัจจัยสำคัญ คือ เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ความต้องการแม่พิมพ์และเครื่องจักรสำหรับ process ชิ้นส่วนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้เอง ความคืบหน้าในการวิจัยระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมต่าง ๆ, เทคโนโยลีด้านโลจิสติกส์, และความต้องการเซมิคอนดัคเตอร์ที่สูงขึ้น ยังเป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมโยงให้ผู้ใช้ Machine Tools ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น จนเกิดการคาดการณ์ว่า ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร ที่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อ 5G กลายเป็นที่แพร่หลาย อาจทำให้เกิดการปะทุทางเศรษฐกิจก็เป็นได้


อัตราส่วนยอดออเดอร์ Machining Center ต่อ Machine Tools

สิ่งที่น่าจับตามองหลังจากนี้ไป คือบริการ และโซลูชันเพื่อระบบ IT และซอฟต์แวร์ในโรงงาน เนื่องจากแม้ว่าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะมีแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่ต่างกัน แต่สิ่งที่มีร่วมกันคือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การขึ้นค่าแรง และสังคมผู้สูงอายุ ที่จะส่งผลให้ความต้องการระบบอัตโนมัติ และการรวมกระบวนการทำงานหลายขั้นตอนเอาไว้ในจุดเดียวเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุนี้เอง จึงคาดได้ว่าความต้องการ Machining Center จะเพิ่มขึ้นในส่วนอื่น ๆ โดยไม่จำกัดไว้เพียงระบบการผลิตแบบต่อเนื่องเท่านั้น เช่น การนำไปใช้ร่วมกับเครื่องฉีดขึ้นรูป, เครื่อง EDM, และหุ่นยนต์ และจะตามมาด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มหลังบริการหลังการขาย เช่น Remote Monitoring นอกจากนี้ แนวทางการจัดหาเครื่องจักร จะเปลี่ยนแปลงจากการจัดหาทีละเครื่อง ไปเป็นการจัดหาทีละสายการผลิต หรือทีละระบบ จึงเป็นไปได้ที่ธุรกิจรับเหมาวางระบบ (Turnkey) จะมีจำนวนมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งในยุคที่ Machine Tools ทุกเครื่องจำเป็นต้องเชื่อมต่อกันเช่นนี้เอง ที่ความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางธุรกิจจะมีเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน เป้าหมายหลักของแอปพลิเคชัน คือ การเชื่อมต่อเครื่องจักรอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งผู้ผลิตญี่ปุ่นหลายรายได้โฟกัสไปที่การใช้ข้อมูลเพื่อลดดาวน์ไทม์ และมาตรการด้านความปลอดภัย และการจะนำข้อมูลที่รวบรวมจากเครื่องไปต่อยอดทำอะไรต่อไปนั้น เป็นเรื่องที่จะตามมาในอนาคต

หลังจากนี้ การนำ Artificial Intelligence (AI) มาใช้เพื่อยกระดับการผลิตจะเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เห็นได้ชัดจากในปัจจุบัน ที่ธุรกิจส่วนหนึ่งมีการใช้แอปพลิเคชันมาพัฒนาระบบ User Interface เพื่อเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไปว่า แนวทางของผู้ผลิตแต่ละค่ายจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ท้ายที่สุด เป้าหมายของผู้ขาย คือการขาย “การเพิ่มผลผลิต” ให้กับผู้ใช้เครื่องจักร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบวินวินทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในภาพรวมอีกด้วย