แนวโน้มตลาดวัสดุ ปี 2019

อัปเดตล่าสุด 4 ม.ค. 2562
  • Share :
  • 940 Reads   

สงครามการค้าจีน - สหรัฐ ส่อแววรุนแรงขึ้นในปี 2019 โดยมีอุตสาหกรรมมากมายที่ได้รับผลกระทบ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรม Machine Tools, อุตสาหกรรมเครื่องจักรก่อสร้าง, อุตสาหกรรม IT และอื่น ๆ การขึ้นกำแพงภาษีในเดือนตุลาคมนั้นได้ส่งผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมวัสดุโลหะและวัสดุอื่น ๆ


ภาคอุตสาหกรรมกังวลราคาวัสดุ

ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการส่งออกวัสดุคือเอเชีย ซึ่งสงครามการค้าได้สร้างผลกระทบรุนแรง จนทำให้ราคาวัสดุ ทั้งวัสดุโลหะ และวัสดุอื่น ๆ เกิดความผันผวนไม่แน่นอนเป็นอย่างยิ่ง 

Mr. Shinichi Nakamura รองประธานบริษัท Nippon Steel & Sumitomo Metal กล่าวแสดงความเห็นว่า “หากสงครามการค้าดำเนินต่อไป ก็มีความเป็นได้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการวัสดุราคาถูกสูงขึ้น และส่งผลต่ออุตสาหกรรมวัสดุในภาครวม” 

อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ที่แสดงความเห็นขัดแย้งกันว่า “เศรษฐกิจจีนไม่มีแนวโน้มจะชะลอตัวเลย อีกทั้งยังเป็นไปได้ยากที่จีนจะผันตีวมาเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบในปริมาณที่มากพอจะทำให้ตลาดโลกปั่นป่วนได้อีกด้วย”

จับตามองจีน

ตลาดจีนที่ส่อแววซบเซาจากสงครามการค้า ได้สร้างความกังวลให้กับผู้จัดจำหน่ายสินค้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปี 2018 ที่ผ่านมานี้ ยอดออเดอร์ Machine Tools และ Semiconductor Manufacturing Equipment จากประเทศจีนได้ลดลงนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

Mr. Takashi Suzuki ประธานสมาคม ZCCK (Zenkoku Coil Center Kougyou) กล่าวแสดงความเห็นว่า “หากประเมินจากแผนการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว แม้จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าความต้องการจากตลาดจีนจะยังมั่นคง แต่ก็ยังคงต้องคำนึงถึงสภาวะทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้สภาพตลาดเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ”

นอกจากนี้ ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจโลหะแผ่น ยังกล่าวรายงานว่าในตลาดจีนเริ่มมีการนำเข้าวัสดุราคาถูกเพื่อใช้ทดแทน ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้ จะส่งผลให้ผู้ผลิตวัสดุรายอื่น ๆ เริ่มลดราคาสินค้าของตนลง ยกตัวอย่างเช่นผู้ผลิตในเกาหลีใต้ที่เริ่มลดราคาสินค้าไปแล้ว และคาดการณ์เพิ่มเติมว่า หลังจากยอดผลิตยานยนต์พ้นช่วงพีคในเดือนมีนาคมไปแล้ว ราคาโลหะก็จะยิ่งลดลงไปอีก

ส่วนทางด้านผู้ผลิตโลหะขึ้นรูปเอง ได้กล่าวแสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเสริมว่า “แม้ความต้องการโลหะเพื่อการก่อสร้างจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ราคาที่ตกลงไปก่อนหน้านี้ จะยิ่งทำให้วัสดุราคาถูกเข้าไปในตลาดจีนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อราคาสินค้าอื่น ๆ ก็เป็นได้”

ผลกระทบจากสาเหตุอื่น

นอกจากสงครามการค้าแล้ว อีกสาเหตุที่กำลังเป็นประเด็นภายในอุตสาหกรรมวัสดุโลหะ คือขีดความสามารถในการแปรรูปโลหะของผู้ผลิต เนื่องจากในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมานี้ ความต้องการที่มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตส่วนหนึ่งไม่อาจผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการนี้ ซึ่งสิ่งนี้เอง ที่เป็นสาเหตุให้ความต้องการโลหะลดลงไปอีก จึงจะกล่าวว่า กำลังผลิต = ความต้องการโลหะ ก็ว่าได้

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ราคาสินค้าที่ใช้วัสดุโลหะไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้พุ่งสูงขึ้นอีกด้วย 

สถานการณ์ตลาดเศษโลหะ

คาดการณ์ว่าในปี 2019 ตลาดเศษโลหะจะเริ่มต้นปีได้โดยไม่ติดขัด สืบเนื่องมาจากความต้องการโลหะ และวัสดุอื่น ๆ จากอุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรม Machine Tools, และอุตสาหกรรมสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงต้นปีนี้ 

อย่างไรก็ตาม สงครามการค้าจะส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดเศษโลหะเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการการนำเข้าเศษโลหะของรัฐบาลจีน ซึ่งส่งผลให้การตรวจสอบคุณภาพเศษโลหะของประเทศข้างเคียง เช่น เวียดนาม มีความเข้มงวดขึ้นเป็นอย่างมาก รวมไปถึงกรณียกเลิกการนำเข้าเศษโลหะที่ปรากฏให้เห็น ซึ่งได้สร้างผลกระทบกับกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก จนหลายรายปรับยอดคาดการณ์การส่งออกเศษโลหะในปี 2019 ให้ลดลงจากเดิม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีมาตรการเช่นนี้ แต่ความต้องการจะไม่หมดไป ซึ่งเป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก

ทองแดง และ อะลูมิเนียม

คาดการณ์ว่า ในปี 2019 สงครามการค้าจะส่งผลให้ความต้องการทองแดง และอะลูมิเนียมจากประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดเกิดการชะลอตัว อีกทั้งด้วยมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวทางจะลดละการทำเหมืองนั้น จะส่งผลให้อุปทานทองแดง และอะลูมิเนียมลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากการชะลอตัวของตลาดในจีน และอุปทานที่ลดลงนั้นสอดคล้องกัน ก็เป็นไปได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาทองแดง และอะลูมิเนียมมากนัก แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงจากรัฐบาลจีนและรัฐบาลสหรัฐอยู่

International Copper Study Group (ICSG) คาดการณ์ว่า ในปี 2019 ความต้องการทองแดง จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยมีปัจจัยหลักมาจากความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานในจีน และอินเดีย ในขณะที่กำลังผลิตจะเพิ่มขึ้น 2.7% อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์แค่ความต้องการของจีนเพียงประเทศเดียว จะพบว่าในปี 2019 ความต้องการทองแดงในจีนจะเพิ่มขึ้น 2.7% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าในปี 2018 ซึ่งอยู่ที่ 3.2%

การชะลอตัวของการผลิต

Mitsubishi UFJ Research and Consulting คาดการณ์ว่า ในปี 2019 การเพิ่มขึ้นของกำลังผลิตจะชะลอตัวลงเล็กน้อย ในขณะที่ความต้องการอะลูมิเนียมทั่วโลกจะสูงขึ้น 3.2% สืบเนื่องจากความต้องการลดน้ำหนักยานยนต์ ซึ่งเป็นแนวทางที่กำลังแพร่หลายในอุตสาหกรรมยานยนต์ในขณะนี้

ส่วนกำลังผลิตนั้น เดิมทีคาดการณ์ว่ากำลังผลิตอะลูมิเนียมจะสูงขึ้น 3.9% ซึ่งเป็นผลมาจากแผนเพิ่มกำลังผลิตของอินเดีย และบาห์เรน อย่างไรก็ตาม ด้วยการชะลอตัวของตลาดในจีน จึงมีความเสียงที่ทั้ง 2 ประเทศจะชะลอการเพิ่มกำลังผลิตนี้ออกไปก่อน

นอกจากนี้ ด้วยการยังคับใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ 50% ของผู้ผลิตอะลูมิเนียมในบราซิลจำเป็นต้องหยุดการผลิต จึงคาดได้ว่า ในปี 2019 ราคาอะลูมิเนียมจะพุ่งสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว ซึ่ง Marubeni ประเมินว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ราคาอะลูมิเนียมจะขึ้นไปอยู่ที่ตันละ 2,150 - 2,250 ดอลลาร์สหรัฐ

ความต้องการในอุตสาหกรรมยานยนต์

ความต้องการทองแดงจากอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงมั่นคง โดยเฉพาะการนำไปใช้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ความต้องการเครื่องปรับอากาศซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจับตามองเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความต้องการทองแดงในอุตสาหกรรมยานยนต์จะมั่นคง แต่ทองแดงส่วนมากจำเป็นต้องนำไปใช้ในการผลิตสายไฟมากกว่า จึงเป็นไปได้ว่าจะเกิดความล่าช้าในการจัดส่งให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2018 ยอดสั่ง Machine Tools จากประเทศจีนยังลดต่ำกว่าปีก่อนถึง 67% อีกด้วย ทำให้ธุรกิจหลายรายในตลาดต่างต้องเฝ้าระวังกันต่อไป

ส่วนอะลูมิเนียมนั้น ด้วยความต้องการ Semiconductor Manufacturing Equipment จากผู้ผลิตรายย่อยที่เริ่มฟื้นตัวนั้น อาจส่งผลให้ผลกระทบในตลาดไม่ร้ายแรงนัก โดย SEMI คาดการณ์ว่า ในปี 2019 ยอดขาย Semiconductor Manufacturing Equipment จะลดลง 4% ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้น 20.7% ในปี 2020