depa วางรากฐานแกร่ง ขับเคลื่อนระบบแพลตฟอร์มบริหารข้อมูล สร้างเมืองอัจฉริยะ

อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2563
  • Share :
  • 718 Reads   

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การสร้างเมืองอัจฉริยะประสบความสำเร็จได้นั้นคือการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้แพลตฟอร์มที่ทันสมัยและได้รับการออกแบบสำหรับเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะ

นายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เป็นประธานการประชุมระหว่างกลุ่มผู้แทนจาก บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด และ Japan International Cooperation Agency (JICA) ในการร่วมขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ผ่านโครงการแพลตฟอร์มการบริหารข้อมูล “Data Utilization Platform for Smart City in Thailand” ซึ่งฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) เล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะตามแนวทางของสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทยและเริ่มงานไปแล้วบางส่วน

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีกำหนดเวลา 4.5 เดือน ซึ่งเริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วน โดยเฉพาะการเตรียมงานและการวิจัยในแง่สังคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บและนำข้อมูลไปใช้ โดยส่วนที่เหลือของโครงการคือ การวิจัยต่อเนื่อง การทดสอบ และการแสดงผลการใช้งานแพลตฟอร์มฯ ดังกล่าว ซึ่งจะแล้วเสร็จราวปลายเดือนมีนาคม 2563 ขณะที่ ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จะมุ่งประเด็นการวิจัยรวบรวมข้อมูล ออกแบบ และการทดสอบแพลตฟอร์มการบริหารข้อมูลด้านการคมนาคม โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน

ส่วน depa ในฐานะตัวแทนสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนในเรื่องของการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเก็บข้อมูล การสนับสนุนด้านการนำไปใช้ในเมืองอัจฉริยะทั้งที่ได้รับการประกาศเขตและเมืองที่กำลังเตรียมแผนการประกาศเขตจาก depa รวมถึงการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลเมือง เพื่อการพัฒนาอย่างตรงจุดและตอบโจทย์ของเมืองให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้ ตามแนวทางของสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย การสร้างระบบแพลตฟอร์มของเป็น 1 ใน 5 กรอบ ‘5 ขั้นตอน’ ของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นระบบ ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดขอบเขตและวิสัยทัศน์ของเมืองผ่านความต้องการที่แท้จริงของภาคประชาชนรวมไปถึงเอกชนในพื้นที่ แผนโครงการพื้นฐาน การสร้างระบบแพลตฟอร์มของเมืองการมีรูปแบบการบริการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และการกำหนดเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ใน 7 ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ’ ซึ่งประกอบด้วย 1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 2. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 3. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) 4. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) 5. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) 6. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และ 7. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)

ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพจาก Facebook: depa Thailand


อ่านบทความ และรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่  : www.eeco.or.th