ไทยเตรียมส่ง THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศ 7 ต.ค. 66, GSTDA เตรียมส่ง THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศ, THEOS-1 เตรียมปลดประจำการหลังใช้งานนาน 15 ปี

ไทยเตรียมส่ง THEOS-2 ดาวเทียมสำรวจโลกขึ้นสู่อวกาศ 7 ต.ค.นี้

อัปเดตล่าสุด 30 ก.ย. 2566
  • Share :
  • 1,202 Reads   

GISTDA เตรียมส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศ วันที่ 7 ตุลาคมนี้ ปฏิบัติหน้าที่แทน THEOS-1 ที่กำลังปลดประจำการหลังใช้งานนาน 15 ปี พร้อมเปิดโอกาสให้ภาครัฐ-เอกชน เข้าถึงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) นายเรมี ล็องแบร์ อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และนายโอลิวิเย่ร์ ชาร์ลเวท จาก AIRBUS ร่วมแถลงข่าวความพร้อมของดาวเทียม THEOS-2 ก่อนขึ้นสู่อวกาศ ในงาน “THEOS-2 : Shaping Thailand’s Future from Space, Our Commitment” ณ Pearl Bangkok กรุงเทพฯ โดยดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-2 ของไทยดวงนี้ มีกำหนดการขึ้นสู่อวกาศในวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 8.36 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนซ์เกียนา (Guiana Space Center) ทวีปอเมริกาใต้

น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ประเทศไทยของเรากำลังจะจัดส่งดาวเทียมสำรวจโลกดวงใหม่ขึ้นสู่อวกาศ ดาวเทียมดวงนี้มีขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในชั้นบรรยากาศ และภาคพื้นดิน ที่มีรายละเอียดและความแม่นยำสูงมาก มีชื่อว่า THEOS-2 (Thailand Earth Observation Satellite 2) เป็นดาวเทียมสำรวจโลกที่จะปฏิบัติภารกิจสารต่อจากดาวเทียม THEOS-1 หรือไทยโชต ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยที่ปฏิบัติภารกิจมาเป็นเวลากว่า 15 ปี ซึ่งกำลังจะหมดอายุการใช้งานลงแล้ว กระทรวง อว. โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) หรือจิสด้า มีกำหนดส่งดาวเทียม THEOS-2 ในวันที่ 7 ตุลาคม ดาวเทียม THEOS-2 เป็นดาวเทียมเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดสูงมาก ถึงระดับ 50 เซนติเมตร สามารถมองเห็นวัตถุในภาคพื้นดิน ขีดความสามารถของดาวเทียม THEOS-2 นี้คือ มีข้อมูลระบบสารสนเทศที่ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากกับประเทศไทยในด้านต่างๆ ตั้งแต่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ การติดตามข้อมูลทางการเพาะปลูกและการเกษตร การจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ป่า รวมไปถึงการจัดการมลพิษต่าง ๆ เช่น PM 2.5 เป็นต้น นอกจากนี้การส่งดาวเทียม THEOS-2 ของจิสด้า ทำให้ประเทศไทยเป็นเจ้าของข้อมูลที่แบ่งปันกันได้ ทั้งในในแวดวงวิชาการ แวดวงธุรกิจ และความมั่นคง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ภาครัฐเท่านั้น แต่ส่งประโยชน์ไปถึงภาคเอกชน อีกด้วย ซึ่งภายใต้โครงการ THEOS-2 มีผู้ประกอบการณ์ด้านเทคโนโลยีอวกาศ จากทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โครงการ THEOS-2 ยังเป็นกลไกสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์ และอยากทำงานสายวิทยาศาสตร์ การปล่อยดาวเทียม THEOS-2 จึงเป็นจุดหมุดหมายสำคัญอีกครั้งนึงกับวงการเทคโนโลยีอวกาศไทย ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมยินดีและติดตามการปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ไปด้วยกัน ในวันเสาร์ที่่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 - 09.30 น. ณ ห้อง Visionzation ชั้น 6 สทอภ. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) และช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด และนี่จะเป็นจุดสำคัญแห่งอนาคตที่จะถูกบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ด้าน ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า การส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศในครั้งนี้ถือเป็นการส่งดาวเทียมระดับปฏิบัติการที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงตามภารกิจของประเทศไทยในรอบ 15 ปี หลังจากส่งไทยโชตเมื่อปี 2551 ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยมีดาวเทียม THEOS-2 จะเป็นการตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ เพราะ “เศรษฐกิจ” คือปากท้องของประชาชนจะเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ จิสด้าในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมดวงนี้ในการแก้ไขปัญหา ทั้งในมิติของการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่และมิติของการพัฒนาพื้นที่เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป

โดยดาวเทียม THEOS-2 (ธีออส-2) เป็นดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา โดยมีจิสด้าเป็นผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสานต่อภารกิจจากดาวเทียมไทยโชตที่กำลังจะหมดอายุการใช้งาน การลงทุนในระบบ THEOS-2 ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ดาวเทียม” เท่านั้น แต่เป็นการลงทุนในทุกๆด้านเพื่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศ (Ecosystem) สำหรับการปฏิบัติภารกิจด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย อันได้แก่ การพัฒนากำลังคนภายใต้โครงการ 22 คน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการดำเนินงาน THEOS-2 และ THEOS-2A และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ อาทิ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศ ศูนย์ดาวเทียมภาคพื้นดิน ศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียม เป็นต้น

 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH