ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 itc เกษตรแปรรูป กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดีพร้อม

ดีพร้อม ชูศูนย์ ITC 4.0 ช่วยยกระดับการผลิต Super SME สร้างมูลค่าแล้วกว่า 750 ล้าน

อัปเดตล่าสุด 24 ส.ค. 2564
  • Share :
  • 612 Reads   

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ผลักดันผู้ประกอบการก้าวสู่ "ซูเปอร์เอสเอ็มอี" ยกระดับกระบวนการผลิต ผ่านศูนย์ ITC 4.0 (Industry Transformation Center 4.0) เน้นอุตสาหกรรมศักยภาพสูง เช่น เกษตรแปรรูป อาหาร และสมุนไพร 

โดยผลการดำเนินงานของศูนย์ ITC 4.0 ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ประกอบการมาใช้บริการแล้ว 26,557 ราย รวม 8,766 ธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้กว่า 750 ล้านบาท

วันที่ 24 สิงหาคม 2564 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ยังคงส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ “ความสามารถในการผลิต” โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Micro SMEs รวมถึงวิสาหกิจชุมชนที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดีพร้อม จึงได้เร่งดำเนินการตามนโยบาย โควิด 2.0 มาตรการระยะสั้น 60 วัน “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด” ด้วยการผลักดันให้ศูนย์ ITC ทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศ เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการในการยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น เกษตรแปรรูป อาหาร และสมุนไพร ให้สามารถประยุกต์ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ ทันสมัย นำเทคนิคหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ไปสร้างความแปลกใหม่ น่าสนใจให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังมีเป้าหมายยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการในระดับชุมชนให้ก้าวไปเป็นซูเปอร์เอสเอ็มอีที่มีความพร้อมและความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

“ศูนย์ ITC ทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศ มีความพร้อมเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบต่าง ๆ ที่ช่วยลดต้นทุน และเครื่องจักรกลสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในแต่ละพื้นที่ เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ ชุดเครื่องอบแห้งสำหรับชุมชน เครื่องสกัดสมุนไพรแบบร้อนและเย็น เครื่องระเหยเข้มข้น เตาเผาเซรามิก และอื่น ๆ รวมแล้วกว่า 50 ประเภท อีกทั้งยังมีทีมเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถทำการตลาดได้ง่ายและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ด้านแหล่งเงินทุน อาทิ การระดม ทุนสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจ การเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอีตลอดจนด้านงานวิจัยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำงานวิจัยเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้ได้ทันที”


นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามการดำเนินงานของศูนย์ ITC ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามี ผู้ประกอบการเข้ามารับบริการจากศูนย์ดังกล่าวมากกว่า 26,557 ราย รวมกว่า 8,766 ธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจได้แล้วกว่า 750 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ที่เข้าใช้บริการคือผู้ประกอบการในกลุ่มเกษตร อาหารแปรรูป กลุ่มสตาร์ทอัพ แต่ในระยะหลังที่พบมากที่สุดคือกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพร และผลผลิตจากท้องถิ่น เนื่องด้วยกระแสด้านสุขภาพ รวมถึงการต่อยอดวัตถุดิบไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น เวชภัณฑ์- เครื่องสำอาง และโปรตีนทางเลือกจากแมลง นอกจากนี้ ยังพบว่าศูนย์ ITC ส่วนกลางในกรุงเทพฯ มีผู้ใช้บริการมากที่สุด จำนวนถึง 813 ราย รองลงมาคือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จ.ขอนแก่น มีผู้เข้าใช้บริการจำนวน 638 ราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จ. ลำปาง มีผู้เข้าใช้ บริการจำนวน 311 ราย

“ดีพร้อมได้เห็นการปรับตัวของผู้ประกอบการทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนมาก ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลถือว่ามีทิศทางการผลิตสินค้า - บริการ ใหม่ๆ ที่สอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น ตลอดจนการเข้ามารับคำปรึกษาเพื่อเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่อยู่ในระหว่าง กระบวนการพัฒนา และที่ต่อยอดมูลค่าทางธุรกิจได้สำเร็จ ส่วนในระดับภูมิภาค กลุ่มที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาและ พัฒนาธุรกิจจะมีทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน โดยผู้ประกอบการในภาคเหนือมักจะเป็นเวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น การนำใบชามาพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก การต่อยอดผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้ง การแปรรูปสมุนไพรต่าง ๆ อาทิ การนำกระชายสด มาทำการแปรรูปเป็นกระชายผง โดยการอบแห้งด้วยเครื่องอบ ลมร้อน และบดให้เป็นผงด้วยเครื่องบด เป็นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระชายผงที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมีความเด่นชัดในเชิงการพัฒนาวัตถุดิบจากท้องถิ่น เช่น การแปรรูปแมลง หอยเชอรี่ ผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้า การต่อยอดสินค้าจากการเลี้ยงไหม และการพัฒนากระบวนการผลิตข้าว ส่วนผู้ประกอบการในภาคใต้ จะมีความคล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เน้นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น การเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพารา ผลผลิตจากปาล์มน้ำมัน รวมไปถึงการ แปรรูปอาหารทะเล และการอบแห้งผลไม้ที่เน้นยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น” ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการ ที่สนใจยกระดับกระบวนการผลิตและต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center: ITC 4.0) ทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศ และสามารถสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2367 8413 หรือ ติดตามความ เคลื่อนไหวได้ที่ www.itc.or.th/ นายณัฐพล กล่าวสรุป

 

#นโยบายโควิด 2.0 #ผลกระทบ โควิด #COVID-19 #มาตรการภาครัฐ #ช่วยเหลือผู้ประกอบการ #เอสเอ็มอี #SME #SMEs #สถานประกอบ #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #ดีพร้อม #DIPROM #ปัญหา SME #ลดต้นทุน #เครื่องจักรกล #อุตสาหกรรมการเกษตร #อุตสาหกรรมอาหาร #เกษตรแปรรูป #อาหารแปรรูป #ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 #ศูนย์ ITC 4.0 #Industry Transformation Center: ITC 4.0

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH