NIA, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, EEC, IoT, Smart IoT, Technology, MOU

NIA ร่วม ม.บูรพา และ 10 หน่วยงานพื้นที่ EEC เร่งสร้างผู้ประกอบการ Tech Inno Hub ด้าน Smart IoT

อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 2566
  • Share :
  • 1,389 Reads   

NIA ผนึกกำลังร่วมกับ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 10 หน่วยงานในพื้นที่ EEC ในการผลักดันให้เป็นเมืองศูนย์กลางการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมด้าน Smart IoT (EEC Tech Inno Hub)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา บริษัท เซนโกรท จำกัด และบริษัท แวมสแตค จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นเมืองศูนย์กลางนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมด้าน Smart IoT ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญในการยกระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมและสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (IBE) ควบคู่กับการส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เมืองศูนย์กลางนวัตกรรม

ซึ่งประกอบไปด้วย 10 หน่วยงานร่วม ได้แก่ เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูง (EECh) นิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ มหาวิทยาลัยบูรพา คูโบต้าฟาร์ม เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ (พัทยา) (EECmd) เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้างฉาง (EEC STP) เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “การพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่และภูมิภาคของ NIA เป็นหนึ่งในการพัฒนาที่มุ่งนำเอาสินทรัพย์ทางนวัตกรรมผนวกกับศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ มาใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ โดยปัจจุบัน NIA ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาใน 3 ระดับ ได้แก่ ระเบียงนวัตกรรม (Innovation Corridor)  เมืองนวัตกรรม (City Innovation) และย่านนวัตกรรม (Innovation District) ที่มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่ส่งเสริมการการพัฒนาพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ โดยปี 2570 NIA มีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ จำนวน 10 จังหวัดศูนย์กลางพัฒนานวัตกรรม และ 10 ย่านนวัตกรรม ซึ่งพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาที่มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมในการส่งเสริมการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ด้าน Smart IoT ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม 4.0 ได้ และสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของ NIA ได้ตั้งเป้าพัฒนานวัตกรรมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบไปด้วย (1) FoodTech & AgTech (2) TravelTech (3) MedTech (4) Climate Tech และ (5) Soft Power

ซึ่ง NIA เพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมให้กลายเป็นชาตินวัตกรรมได้ ดังนั้น ความร่วมมือในหน่วยงานพันธมิตร 10 หน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ EEC ที่มีภาครัฐ อย่างเช่น EECi และภาคเอกชนขนาดใหญ่ อย่างเช่น คูโบต้าฟาร์ม ที่มีความโดดเด่นในด้าน FoodTech & AgTech จะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมแห่งชาติ โดย NIA มีกลไกในการสนับสนุน ใน 3 ด้านได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านกำลังคนและเพิ่มจำนวนองค์กรนวัตกรรม (Groom) การสนับสนุนด้านการเงิน (Grant) และการทำให้ธุรกิจนวัตกรรม สินค้าและบริการนวัตกรรม เป็นที่ยอมรับและรู้จัก (Growth) ทั้งหมดจะเป็นแรงผลักดันในการยกระดับ SMEs / Startup / SE เป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมที่จะสามารถยกระดับและขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ ก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และเกิดการลงทุนทางด้านนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น ถ้ามีพื้นที่แบบนี้ในหลายๆ พื้นที่ ก็จะทำให้เป็นไทยเป็นที่ยอมรับและรู้จักในฐานะการเป็นชาตินวัตกรรม”

ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประธานคณะกรรมการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา คุณภานุวัฒน์ พรหมศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซนโกรท จำกัด คุณธนินท์ อินทรมณี ผู้จัดการ บริษัท แวมสแตค จำกัด ร่วมเสวนาในหัวข้อ มุมมองในการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจนวัตกรรมของเทคโนโลยีเชิงลึกในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกสู่สากล โดยพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้การเงินและการลงทุนธุรกิจระหว่างประเทศ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา

 

#NIA #BUU #EASTPARK #SmartIoT #EECTechInnoHub #EECh #EECd #EECmd #EEC #STP #EECa #EECi

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH