“กอบชัย” ขับเคลื่อนเอสเอ็มอี สั่งเร่งเปิดศูนย์ ITC เล็งเจรจาจับคู่ธุรกิจ SMEs ใน T-GoodTech ปลายก.ค.นี้

อัปเดตล่าสุด 8 มิ.ย. 2561
  • Share :
  • 441 Reads   

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มุ่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเอสเอ็มอีทุกระดับให้มีการปรับตัวก้าวทันกับสถานการณ์ดิจิทัลของโลก รวมทั้งมุ่งพัฒนาเอสเอ็มอีให้เป็นเอสเอ็มอี 4.0 (Smart SMEs) ผ่านเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาภายใต้แนวคิด 4 TOOL (เครื่องมือ) กับ 1 Strategy (กลยุทธ์) ประกอบด้วย 

1.IT การให้บริการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ 

2. Automation การพัฒนาระบบการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 

3.Robot ลดการใช้แรงงานในกระบวนการผลิต 

4.Innovation การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 

และอีก 1 Strategy คือ มุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ Cluster ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในการต่อยอดของ SMEs ไทยให้เข้มแข็ง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้สร้างความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ Connected Industries นำร่องกิจกรรม “3–Stage Rocket Approach” หรือ“จรวด 3 ขั้นผลักดัน SMEs สู่ 4.0” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 

1) Visualize Machine คือ การรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักรให้เป็นดิจิทัลและนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต 

2) Visualize Craftsmanship คือ การเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของแรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์การทำงานให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กสอ. มีแผนดำเนินการในเดือนกรกฎาคมนี้ 

3) Lean Automation System Integrators : หรือ LASI Project คือ การพัฒนาโครงการสาธิตการผลิตแบบลีนออโตเมชั่น ที่ได้ดำเนินงานร่วมกับบริษัท DENSO จัดตั้งศูนย์ Lean Automation System Integrator พร้อมระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ 
  
กสอ. ยังได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จัดตั้งอาคารต้นคูณ ภายในศูนย์ ITC สำหรับให้บริการปรึกษาแนะนำด้านอุตสาหกรรมพลาสติกและพลาสติกชีวภาพ ผ่านระบบ VDO Conference กับผู้เชี่ยวชาญของทางสำนักงานใหญ่ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันก็ได้มีการขยายการบริการศูนย์ ITC ไปยังศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค รวม 5 ศูนย์ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก อุบลราชธานี สงขลา และศูนย์เซรามิค จังหวัดลำปาง ซึ่งผลการให้บริการนับตั้งแต่เปิดโครงการฯ มาจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 61) 

นอกจากนี้ ในด้านการยกระดับเอสเอ็มอีสู่สากล กสอ.ยังได้ดำเนินการโครงการ Digital Value Chain  โดยมุ่งหวังผลักดันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีผ่านเว็บไซต์และระบบฐานข้อมูลจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ภายใต้ชื่อT-GoodTech (Thai Good Technology) ที่เป็นช่องทางการจับคู่ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) ระหว่างผู้ประกอบการไทยด้วยกันเอง และเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล T-GoodTech ของไทยกับระบบฐานข้อมูล J-GoodTech ของญี่ปุ่น 

สำหรับในด้านการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมทั้ง Cluster และ Super Cluster กสอ. มีบทบาทในการพัฒนาคลัสเตอร์มาตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนเข้มแข็งแล้ว จำนวน 86 กลุ่ม จนเกิดเป็นความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นขึ้นภายในกลุ่ม สามารถเชื่อมโยงและร่วมกันพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง 

ในปี 2561 กสอ. ยังคงให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster) โดยตั้งเป้าพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม 14 กลุ่ม / 280 กิจการ ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ส่วนในด้านการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Super Cluster) ตั้งเป้าพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม 8 กลุ่ม/160 กิจการ ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อาหารแห่งอนาคต ดิจิทัล และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

สำหรับในปี 2562 การส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีของ กสอ. จะเน้นไปที่ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุด โดยการแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมและจัดกลุ่มเพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ช่องทางในการตลาด ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าและผลตอบรับที่ผู้ประกอบการจะได้รับ รวมทั้งจะมีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้จากต้นแบบธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายอื่น ๆ ได้นำไปเป็นกรณีศึกษาพร้อมนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตนเองต่อไป