ECO Innovation Forum 2017 พร้อมพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ยุค 4.0 ตามแนวประชารัฐ

อัปเดตล่าสุด 28 ต.ค. 2560
  • Share :
  • 517 Reads   
  • การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO Industrial Town) เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญระดับประเทศที่รัฐบาลพยายามผลักดัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับความเจริญของชุมชน และยังคงรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ชุมชน และโรงงานอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน เกิดความโปร่งใสและความไว้วางใจระหว่างกัน ช่วยลดข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในพื้นที่ลงได้
  • สำหรับปี 2560 นี้  นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงระดับ Eco-Excellence แห่งแรก คือ นิคมอุตสาหกรรม RIL

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมจัดสัมมนาวิชาการและแสดงนิทรรศการ ประจำปี 2560 “Eco Innovation Forum 2017” เรื่อง “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในยุค 4.0 ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2560 เวลา 9:30-10:30 ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 201-202 ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพีธีเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ “ยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมกับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในยุค 4.0 ตามแนวทางประชารัฐ” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม นักวิชาการ และภาคประชาชนกว่า 1,000 คน และงานในวันนี้ มีการมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-Excellence จำนวน 1 แห่ง และระดับ Eco Champion จำนวน 21 แห่ง และนิคมที่อยู่ในช่วงการดำเนินการในการขอรับรองจำนวน 11 นิคม และส่วนของโรงงานที่ได้รับ Eco Factory จำนวน 34 แห่ง โดยอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจำนวน 17 แห่ง และนอกนิคมอุตสาหกรรมจำนวน  17 แห่ง และมีแผนที่จะขยายการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีในทุกพื้นที่นิคมฯ ที่กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็น Eco ต้องมีโรงงานที่เป็น Eco Factory ปัจจุบันนิคมฯ มีแผนงานที่จะดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังมุ่งไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งในระดับนิคมฯ และโรงงาน ให้เหมาะสมกับประเภทและขนาด รวมทั้งส่งเสริม SMEs ให้สามารถเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศได้เร็วขึ้นโดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญ และอบรมเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมมาตรฐารด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้นิคมฯ และโรงงานสนใจและให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศบรรลุตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด

รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ได้แก่ การรับรองระดับ Eco-Excellence แห่งแรก คือ นิคมอุตสาหกรรม RIL และนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองในระดับ ECO-Champion มีจำนวน 21 แห่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง 11 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ภาคใต้ บางปู ลาดกระบัง มาบตาพุด ภาคเหนือ สมุทรสาคร แหลมฉบัง บางชัน พิจิตร และท่าเรือมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานอีก 10 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร หนองแค อมตะซิตี้ อิสเทิร์นซีบอร์ด ปิ่นทอง เกตเวย์ซิตี้ เอเชีย สินสาคร บ้านหว้า และบางปะอิน โรงงานที่ได้รับการรับรอง Eco Factory จำนวน 17 แห่ง ได้แก่ บจก. มิตซูบิชิอิเล็คทริค ออโตเมชั่น (นิคมบางชัน), บจก. เวเบอร์ มาร์คกิ้ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)(นิคมสมุทรสาคร), บมจ. ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ (นิคมหนองแค), บจก. ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดักส์ (นิคมบางปะอิน), บจก.แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย)(นิคมบ้านหว้า), บจก.อินเว (ประเทศไทย)(นิคมพิจิตร), บจก.สยามคอมเพรสเซอร์ อุตสาหกรรม (นิคมแหลมฉบัง), บจก.ซีพีแรม (โรงงานชลบุรี)(นิคมปิ่นทอง), บจก.คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย)(นิคมอมตะนคร), บจก.เนสท์เล่ (ไทย)(นิคมอมตะซิตี้), บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) และบจก. กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ (นิคมบางปู), บจก. กรุงเทพ ซินธิติกส์ (นิคมมาบตาพุด), บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ โรงงานที่ 1, บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ โรงงานที่ 2, บจก โรห์ม แอนด์ ฮาสส์เคมิคอล (ประเทศไทย), บจก. คาร์ไบด์ เคมิคอล (ประเทศไทย)(นิคมเหมราชตะวันออก)

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ประเทศไทย 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมมากขึ้น ในส่วนของการพัฒนาผู้ประกอบการจะเน้นยกระดับและเปลี่ยนจาก SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises เปลี่ยนจากการบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่การบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูงภายใต้แนวความคิด “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” และ “การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO Industrial Town)” เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญระดับประเทศที่รัฐบาลพยายามผลักดัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับความเจริญของชุมชนและยังคงรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ชุมชน และโรงงานอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน เกิดความโปร่งใสและความไว้วางใจระหว่างกัน ช่วยลดข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในพื้นที่ลงได้ ทั้งนี้การดำเนินการให้มีความสำเร็จ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน สมาคม และชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ผมจึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานท้องถิ่น ชุมชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประสานพลังร่วมกันส่งเสริมให้ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง” ดร.สมชายกล่าว

ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ได้ดำเนินการที่สอดรับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวการลงทุน ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ SMEs และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก หรือ Local Economy ให้ประเทศมีเศรษฐกิจที่สมดุลนำไปสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากการมีรายได้ปานกลางในระยะยาว นอกจากนี้ กนอ.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนควบคู่การพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมตามแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ภายใต้แนวคิด “เป็นองค์กรนำสร้างเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสู่เศรษฐกิจอนาคต” ที่เน้นเรื่องของการพัฒนาที่มีดุลยภาพและมีความยั่งยืน คือทุกภาคส่วนที่เข้ามาได้รับการดูแล และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน อยู่เย็นเป็นสุข เอื้ออาทรกัน”

ด้านนายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. มีนโยบายและดำเนินกรในการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดังนี้

  • ยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องตามกฎหมายและได้มาตรฐานที่ดี โดยให้การรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Factory ตั้งแต่ปี 2557-2560 มีโรงงานที่ได้รับการรับรองจำนวน 92 แห่ง
  • ผลักดันและส่งเสริมการผลิตและการบริโภคสินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประกาศนโยบาย F.T.I. Green Procurement ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมให้ผู้ผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมและคลัสเตอร์ ผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในระยะแรกเป็นคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง อาหาร และแฟชั่น ไลฟ์สไตล์
  • ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีเป้าหมาย 2 แห่ง คือ การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมฟอกหนังครบวงจร ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และเมืองใหม่เชิงนิเวศ ตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อรองรับอุตสาหกรรม EEC
  • ซึ่งทั้งหมดเป็นการดำเนินการที่สอดรับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมให้มีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสังคม ชุมชนโดยรอบ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม”