สกพอ. เผยคืบหน้า การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 8/2562

อัปเดตล่าสุด 7 ส.ค. 2562
  • Share :
  • 473 Reads   

เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2562 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล
มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 8/2562 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณา และรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ 

1. ความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 
สืบเนื่องจาก กพอ. ครั้งนี้ (8/2562) เป็นการประชุม ภายหลังการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นครั้งแรก สกพอ. จึงได้รายงานความเป็นมา ความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ของอีอีซีที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานต่อไป เพื่อส่งเสริมการพัฒนาให้อีอีซีก้าวสู่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชีย โดยแบ่งเป็น 4 นโยบายหลัก ดังนี้ 

1.) เร่งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี
1.1 เร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพิ่มขึ้น 100,000 ล้านบาท/ปี

  • กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้บริการ One Stop Service โดย EEC OSS  จะเปิดตัวปลายเดือนสิงหาคม 

1.2 ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกับเพื่อนบ้านและเอเชีย ลดต้นทุน Logistics ด้วยความเชื่อมโยงขนส่งทางกายภาพและระบบข้อมูลทันที  

  • คณะทำงานจัดระบบเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน ( ECC ประเทศไทย - CLMV เอเชีย)

1.3 จัดการเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัล EECd และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการลงทุนวิจัย และนวัตกรรม EECi ให้เป็นรูปธรรม 

  • ดำเนินการ PPP กับโครงการ EECd /ให้เป็นเมืองอัจฉริยะตัวอย่างและจุดดำเนินการ 5G
  • ประสานภาคเอกชนให้เตรียมใช้บริการจาก EECi ให้เกิดประโยชน์สูงสุด    

2. เร่งการยกระดับพื้นฐานด้านสังคม

2.1 การศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการภาคการผลิตและบริการ

  • ผลักดัน Demand Driven โดยร่วมกับกระทรวงแรงงาน ทำงาน retrain ระยะสั้นให้กับผู้ที่จะการศึกษา และผู้ทำงานในโรงงานให้ตรงกับเทคโนโลยีใหม่
  • ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ผลักดัน อาชีวศึกษาตาม สัตหีบโมเดล และ ดึงเอกชนมาร่วมมือเต็มที่
  • ผลักดันมหาวิทยาลัยให้ปรับตัวเพื่อผลิตบุคคากรที่จบแล้วมีงานทำ มีรายได้สูง

2.2 การสาธารณสุข ให้เป็นตัวอย่างกับกลุ่มประเทศอื่น ๆ

  • ปรับระบบสาธารณสุขพื้นฐาน โดยร่วมมือกับเอกชน ในการลงทุนเพื่อให้บริการร่วมกับภาครัฐ /จัดวางระบบ ศูนย์เฉพาะเชี่ยวชาญเฉพาะทางให้ครบถ้วน
  • เพิ่มการลงทุน Medical Hub กับเอกชนชั้นนำทั่วโลก โดยเฉพาะด้าน Precision Medicine

3. ยกระดับปัจจัยพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

3.1 จัดทำผังเมืองจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด ต่อจากผังการใช้ที่ดิน

3.2 ดำเนินงานตามแผนสิ่งแวดล้อมที่วางไว้ และจัดระบบนำ Circular economy

3.3 จัดทำฐานข้อมูลความเป็นอยู่ของประชาชน ด้านความเท่าเทียมกัน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น

3.4 วางแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

4. การสร้างความมีส่วนร่วม

4.1 กองทุนอีอีซี เพื่อการทำงานร่วมกับชุมชน รร. รพ. และประชาชน

4.2 การทำงานร่วมกับ พรรคการเมือง รัฐสภา รัฐบาลท้องถิ่นและสื่อมวลชนในพื้นที่
ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และ (ร่าง) แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 

กพอ. เห็นชอบ (ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ(ร่าง) แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 

การจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้วางแผนรองรับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตในระยะ 20 ปี (2560 – 2580) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีพื้นที่  8,291,250 ไร่ โดยในปี 2560 มีประชากร 4,015,168 คน และคาดว่าในปี 2580 จะเพิ่มเป็น 6,006,380 คน
 
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้กำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพและบทบาทของพื้นที่ พร้อมพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภครองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และเชื่อมโยงการพัฒนาเมืองและชนบทให้มีความเหมาะสมคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยแบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 4 กลุ่ม 11 ประเภท ได้แก่

1. พื้นที่พัฒนาเมือง ประกอบด้วย ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม ที่ดินประเภทชุมชนเมือง ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง และที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 
2. พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม 
3. พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม ประกอบด้วย ที่ดินประเภทชุมชนชนบท ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม และที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฏีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน 
4. พื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม 

สำหรับ (ร่าง) แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค กรมโยธาธิการฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนผังฯ จาก 8 ระบบ เป็น 5 แผนผัง และ 1 มาตรการ ประกอบด้วย
 
1. แผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบควบคุมมลภาวะ ส่งเสริมระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะที่ไม่ส่งผลต่อชุมชนใกล้เคียง
2. แผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง รองรับความต้องการการเดินทางและการขนส่งสินค้าในอีอีซี ในอนาคตอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
3. แผนผังระบบการตั้งถิ่นฐานและภูมิสังคม เพื่อแสดงบริเวณที่ตั้งถิ่นฐาน ชุมชนดั้งเดิม ย่านชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพิเศษ พร้อมสร้างสมดุลชุมชนเมืองและชนบท คู่กับอนุรักษ์ย่านชุมชนที่มีคุณค่า
4. แผนผังบริหารระบบจัดการน้ำ รองรับความต้องการน้ำอย่างทั่วถึง เหมาะสมเพียงพอพัฒนาระบบระบายน้ำ ป้องกันและบรรเทาอุกทภัยที่เหมาะกับสภาพพื้นที่
5. แผนผังระบบป้องกันอุบัติภัย เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายจากการจัดเก็บ ผลิต และการขนส่ง
6. มาตรการระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และการประกอบกิจการพิเศษ บริหารจัดการขยะ ของเสีย พลังงาน ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง