หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย.67 ปรับตัวเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย.67 ปรับตัวเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

อัปเดตล่าสุด 20 ธ.ค. 2567
  • Share :
  • 419 Reads   

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index: TCC-CI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 อยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 45.1 จากระดับ 44.8 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 58.3

สาเหตุของการปรับเพิ่มคาดว่ามาจาก 1) การดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ช่วยส่งเสริมการบริโภคในประเทศ 2) การส่งออกขยายตัวดีตามความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น และ 3) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวช่วงปลายปีส่งผลดีต่อภาคธุรกิจบริการและสร้างรายได้เข้าประเทศ  อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อและมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาอาจเพิ่มแรงกดดันต่อสงครามการค้า ประกอบกับหนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

12 ธันวาคม 2567 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจประชาชน ทั่วประเทศ 5,917 คน พบว่า  เศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.81 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.72 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 8.62 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 7.20 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 6.71 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 4.98 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 4.21 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.98 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 1.77
ตามลำดับ 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ​​​​​​

  • ผู้ประกอบการบางรายยังคงมีความกังวลกับเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่แน่นอน และราคาของวัตถุดิบบางอย่างที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
  • ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่ยังคงยึดเยื้อ ทั้งสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับขบวนการฮามาส (Hamas) ตลอดจนสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้น
  • การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าหรือชะลอตัวลง และอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • ความเสียหายของภาคธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติน้ำท่วมหนักในบางพื้นที่ ทำให้ต้องหยุดดำเนินกิจการและขาดรายได้ อีกทั้งยังต้องซ่อมแชมอาคารบ้านเรือนที่เกิดความเสียหาย
  • ความกังวลจากการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ยังมีความไม่แน่นอน
  • ความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดโดยเฉพาะในภาคใต้ ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร
  • ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.10 บาทต่อลิตรจากเดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 34.88 และ 35.25 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลชายปลึกในประเทศ ยังคงทรงตัวจากเดือนพี่ผ่านมา
  • SET Index เดือน พ.ย. 67 ปรับตัวลดลง 38.5 จุด จาก 1,466.04 ณ สิ้นเดือน ต.ค. 67 เป็น 1,427.54 ณ สิ้นเดือน พ.ย. 67
  • ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับ 33.372 6/5 ณ สิ้นเดือน ค.ค. 67 เป็น 34.448 8/5 ณ สิ้นเดือน พ.ย. 67 ทำให้มีความกังวลว่าจะส่งกระทบในเชิงลบต่อความสามารถในการแข่งชันของสินค้าไทยในตลาดโลก

ปัจจัยด้านบวก​​​​​​​​​​​​​​

  • สศช. เผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ปี 2567 ว่า เศรษฐกิจขยายตัว 3.0% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.2% ในไตรมาส 2 ปี 2567 ส่วนช่วง 9 เดือนของปี 2567 ขยายตัว 2.3% โดยทั้งปี 2567 คาดจะขยายตัว 2.6%
  • รัฐบาลดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสติการแห่งรัฐและคนพิการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายรวม 14.55 ล้านคน โดยเริ่มทำการโอนเงิน 10,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาฬ่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกเว้นการยื่นวีซ่านักท่องเที่ยว รวมการขยายระยะเวลาการพำนักของนักท่องเที่ยว ส่งผลได้ถือเป็นเงินหมงเวียนในประเพศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น
  • การส่งออกของไทยเดือน ต.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 14.6 มูลค่าอยู่ที่ 27,222.05 ล้านดอลลลาร์สหรัฐฯและการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 มีมูลค่าอยู่ที่ 28,016.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 794.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้นและมีกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
  • ครม. มีมติเห็นชอบขยายเวลาคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไว้ที่ 796 ต่ออีก 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายม 2568 เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
  • มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรอง 55 จังหวัด โดยให้มีผลตั้งแต่ พ.ค. - พ.ย. 2567​​​

#สภาหอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #เศรษฐกิจไทย #อุตสาหกรรมไทย #ภาคการเกษตร #ท่องเที่ยวไทย #ส่งออกไทย #ราคาพลังงาน #GDP

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH