
SME ทรุด! แผ่นดินไหวทำเสียหายกว่า 4,000 ล้าน สสว. เตรียมอัดสินเชื่อฟื้นธุรกิจด่วน
แผ่นดินไหวสร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อ SME ทั่วประเทศ! ธุรกิจเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท สสว. คาดว่า ความต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SME ที่ได้รับผลกระทบจะอยู่ที่ประมาณ 650 ล้านบาท
กรุงเทพมหานคร, วันที่ 2 เมษายน 2568 – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SME ในหลายภาคส่วน โดยคาดว่าความเสียหายรวมทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 4,068 ล้านบาท มี 18 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบ โดย กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, และ สมุทรปราการ เป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหลัก
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์: คาดว่าความเสียหายจะอยู่ที่ประมาณ 2,168 ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและปรับปรุงอาคาร แม้บางอาคารจะมีประกันก็ตาม
- ธุรกิจร้านอาหาร, เครื่องดื่ม, และร้านค้าปลีก: ประสบปัญหารายได้ลดลงประมาณ 600 ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถเปิดกิจการได้เต็มที่
- ภาคการท่องเที่ยว: คาดว่านักท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ 8-10% ส่งผลให้ SME ในธุรกิจท่องเที่ยวสูญเสียรายได้ราว 1,300 ล้านบาท จากความกังวลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการเปลี่ยนแปลงจุดหมายปลายทาง
การฟื้นฟูและการช่วยเหลือ: จากการประเมินของสสว. คาดว่า ความต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SME ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 650 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการซ่อมแซมปรับปรุงอาคาร เช่น ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและธุรกิจก่อสร้าง คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านบาท ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า
สถานการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์: มีผู้ประกอบการ SME ประมาณ 193,891 ราย และมีการจ้างงานประมาณ 709,010 คน โดยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งต้นทุนค่าก่อสร้าง, ต้นทุนแรงงาน, และการแข่งขันจากต่างประเทศ
- ธุรกิจก่อสร้าง: คาดว่า การลงทุนภาครัฐ ในโครงการขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า จะทำให้การเติบโตในปี 2568 ขยายตัว 3% แม้ว่าโครงการก่อสร้างของภาครัฐอาจหยุดชะงักในระยะสั้นเพื่อตรวจสอบคุณภาพโครงสร้าง
การท่องเที่ยว: รายงานจาก นายกสมาคมโรงแรมไทย ระบุว่า รายได้ของธุรกิจโรงแรม จะลดลงประมาณ 10-15% ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ และ สสว. ประเมินว่าเหตุการณ์นี้อาจกระทบ เทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวอาจเลือกเปลี่ยนแปลงจุดหมายปลายทางไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยกว่า แต่หากไม่มีเหตุแผ่นดินไหวหรือ Aftershock ที่รุนแรง คาดว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวจะกลับสู่ระดับปกติภายใน 1-2 เดือน
ภาครัฐ ควรให้ความสำคัญกับการจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน, ประชาชน, และผู้รับเหมาที่ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพและการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีมาตรฐาน เพื่อป้องกันความสูญเสียในอนาคตและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2567
- 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2568
- คาร์บอนเครดิต คือ
- ยอดขายมอเตอร์ไซด์ 2567
- “ยานยนต์ไร้คนขับ” กับทิศทางการเติบโตในปี 2022-2045
- ยอดลงทุนปี 67 ทะลุ 1 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์
- ยอดจดทะเบียนใหม่ยานยนต์ไฟฟ้า 2567
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2567
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- 5 เทคนิค “มือใหม่ใช้เครื่อง CNC”
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH