ภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1/2566

ภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาส 1/2566

อัปเดตล่าสุด 24 มิ.ย. 2566
  • Share :
  • 40,407 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ภาพรวมขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส ภายหลังการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด (Zero-COVID policy) และการเปิดประเทศ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนมีทิศทางชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกสินค้าที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2565 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และการค้าโลกที่ยังคงมีแนวโน้มที่เผชิญกับข้อจำกัดจากปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จีนกับไต้หวัน และรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอน ปัญหาเงินเฟ้อ และผลพวงจากการคุมเข้มนโยบายการเงินของหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่ามีแนวโน้มที่ดีจากการฟื้นตัวของภาคบริการท่องเที่ยว อันเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

 

สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ภาพรวมมีความผันผวนลดลง แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) การเปิดประเทศของจีนซึ่งเป็นปัจจัยบวกใหกับความตองการน้ำมันโลก (2) เศรษฐกิจที่ชะลอตัวของสหรัฐและยุโรป ส่งผลให้อุปสงค์ของน้ำมันโลกฟื้นตัวไม่เต็มที่ (3) อุปทานน้ำมันของโลกจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหวางรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ (4) จากกการประชุมโอเปกพลัสครั้งที่ 34 มีมติให้ลดกําลังการผลิตเป็น 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566 และ (5) กําลังการผลิตของโรงกลั่นทั่วโลกเริ่มคงที่ คาดว่าจะสามารถชดเชยกําลังการผลิตที่ลดลงของรัสเซียได้

 

อ่านย้อนหลัง:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH