Japan, ASEAN, Sustainability

ครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น - อาเซียน กับ 4 ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ

อัปเดตล่าสุด 7 มิ.ย. 2566
  • Share :
  • 31,566 Reads   

วิสัยทัศน์ร่วมสร้างเศรษฐกิจญี่ปุน - อาเซียน ระบุ 4 เสาสำคัญคือ เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน, ส่งเสริม Open Innovation ข้ามพรมแดน,  เสริมสร้าง “Cyber-Physical Connectivity”, และอีโคซิสเต็มในการพัฒนาบุคลากร

วันที่ 5 มิถุนายน 2023 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI), องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และหอการค้าญี่ปุ่น รายงานความก้าวหน้าในการกำหนด "วิสัยทัศน์ร่วมสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น-อาเซียน" เพื่อรำลึกครบรอบ 50 ปีมิตรภาพญี่ปุ่น-อาเซียนในปี 2023 นี้ และความร่วมมือในอนาคตอีก 50 ปีจากนี้ไป 

Advertisement

โดยกำหนด 4 เสาหลักที่ประเทศญี่ปุ่นและสมาชิกอาเซียนจะมีส่วนสำคัญในการคิดค้นนวัตกรรมที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในระดับมหภาคและกำหนดทิศทางการเติบโตร่วมกัน

1. ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน 

ญี่ปุ่นและชาติพันธมิตรอาเซียนควรยกระดับความร่วมมือทั้งในระดับโลกและท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนที่หลากหลายและครอบคลุม ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยอาศัยการนำเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจกมาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและก๊าซธรรมชาติอย่างมาก

การนำเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานอย่างเหมาะสมก็ต้องคำนึงถึงโครงสร้างที่สำคัญทางอุตสาหกรรม สังคม และสภาพทางภูมิศาสตร์ โดยเทคโนโลยีที่จะทำให้ญี่ปุ่นและอาเซียนบรรลุเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน ได้แก่ เทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงาน, การดักจับคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS), และอื่น ๆ ซึ่งญี่ปุ่นควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังงาน ตลาดภาษีคาร์บอน ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ตลอดจนการพัฒนาเมืองเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิต และการกระจายอำนาจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2. การส่งเสริมเทคโนโลยีแบบไร้พรมแดน

การพัฒนานวัตกรรมแบบไร้พรมแดน คือ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในญี่ปุ่นและชาติพันธมิตรอาเซียน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและอาเซียนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

3. ชูจุดแข็งด้าน “Cyber-Physical connectivity”

ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันของชาติพันธมิตรอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยนำมาสู่ความต้องการทางโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป 

การเชื่อมต่อทางดิจิทัล (Connectivity) จะเป็นการส่งเสริมการเชื่อมต่อผ่านข้อตกลงทางเศรษฐกิจ เช่น RCEP และ CPTPP ไปจนถึงการพัฒนาทางด้านซัพพลายเชน โดยมีมาตรการต่าง ๆ มารองรับ ทั้งด้านโลจิสติกส์ การพาณิชย์ และการเงิน ไปจนถึงมาตรการกำแพงภาษี เพื่อให้การทำธุรกรรมระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นเป็นไปอย่างราบรื่นเช่นกัน

4. Ecosystem เพื่อแรงกระเพื่อมต้นทุนทางสังคม

การพัฒนาบุคลากรคือหัวใจหลักที่จะช่วยส่งเสริมให้วิสัยทัศน์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น-ชาติพันธมิตรอาเซียนเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และจะต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรมแบบผสมผสาน เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดย Ecosystem ที่จะสร้างแรงกระเพื่อมต้นทุนทางสังคมจะมีส่วนในการเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาบุคลากร รวมถึงการเปลี่ยนผ่านบุคลากรจากต่างประเทศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ตลอดจนวิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อน รวมถึงส่งเสริมบุคลากรในญี่ปุ่นและอาเซียน เพื่อให้สามารถเข้าถึงการศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ และโอกาสเข้าทำงานในประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งหลังจากนี้ คณะกรรมการจะทำการทบทวน หารือ และกำหนดวิสัยทัศน์ต่อไปและมีแผนกำหนดวิสัยทัศน์อย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่น-อาเซียน เดือนสิงหาคม 2023 

 

#Japan #Asean #Economics #แรงงาน #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH