เจาะลึกการวัดความเรียบผิว และนวัตกรรมใหม่จาก Mitutoyo

เจาะลึกการวัดความเรียบผิว และนวัตกรรมใหม่จาก Mitutoyo

อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2564
  • Share :
  • 3,833 Reads   

เจาะลึกการวัดความเรียบผิว และนวัตกรรมใหม่จาก Mitutoyo เครื่องวัดความเรียบผิวแบบพกพา SURFTEST SJ-410 Series รุ่นปรับปรุงใหม่ล่าสุด มาพร้อมตัวเลือกมากมายที่ช่วยให้การวัดง่ายขึ้น ราบรื่นยิ่งขึ้น และมีความเที่ยงตรงมากขึ้น

รู้จักกับการวัดความเรียบผิวของชิ้นงาน

ในการผลิตต่างๆ คุณภาพของชิ้นงานจากการตัดแต่งขึ้นรูปโลหะนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะงานที่ต้องการความละเอียดผิวสูง เช่น งานแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก งานตัด กัด กลึง ต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการวัดความเรียบผิว มีหลายอย่าง ตั้งแต่ 

  • การกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของความเรียบผิวในขั้นตอนการออกแบบ 
  • การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม และครอบคลุมมาตรฐานที่ต้องการ 
  • รวมทั้งการตั้งค่าพารามิเตอร์ของเครื่องมือวัดให้เหมาะกับลักษณะของชิ้นงาน

ทำความเข้าใจเครื่องมือวัด

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าเครื่องมือวัดความเรียบผิวนั้น มีความแตกต่างจากเครื่องมือวัดทั่วไป สิ่งสำคัญประการหนึ่ง คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมของเครื่องมือวัด ซึ่งบ่งบอกว่าเครื่องวัดความเรียบผิวรุ่นนั้นๆ สามารถวัดความเรียบของชิ้นงานตามข้อกำหนดของมาตรฐานใดบ้าง เช่น

  • ISO 4287:1997 (ยุโรป), 
  • ANSI/ASME B 46.1-1995 (อเมริกา)
  • JIS B 0601-1994 (ญี่ปุ่น)

สิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือ หากหมายเลขปีของมาตรฐานที่ระบุในข้อกำหนดของงานเป็นปีปัจจุบันและหมายเลขปีมากกว่าที่ปรากฏในเครื่องมือ ก็จะไม่สามารถใช้ได้ นอกจากนี้แต่ละเครื่องยังใช้สัญลักษณ์การวัดที่แตกต่างกันตามมาตรฐานที่เครื่องนั้นๆ ใช้ เช่น Ra, Rq, Rz, Rz (JIS), Ry, Ry (DIN), Rc, Rpi, Rp, Rpmax Rvi, Rv, Rvmax, Rti, Rt, R3zi, R3z, R3y, S, Pc (Ppi), Sm, HSC, เป็นต้น 

การเลือกเครื่องวัดความเรียบผิวยังต้องพิจารณารูปร่างของสไตล์ลัส เพื่อให้เหมาะกับผิวชิ้นงานที่วัดด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรูปทรงกรวยขนาด 60 องศา

ลักษณะของพื้นผิวมีแบบไหนบ้าง?

ลักษณะความหยาบของพื้นผิวหลักๆ มี 3 ชนิด คือ 
  • ผิวลักษณะหลัก P (primary profile) 
  • ผิวลักษณะความหยาบ R (roughness profile) 
  • ผิวคลื่น คือ W (waviness profile) 

และยังมีลักษณะผิวอื่นอีก เช่น WC, WCA, WE WEA DIN4776 

โดยลักษณะของพื้นผิวจะสัมพันธ์กับค่าตัวกรอง หรือ Digital filter ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของการกรองสัญญาณในรูปแบบของ เฟส หรือแบบเกาส์เชียล เช่น 2CR-75%, 2CR-50%, 2CR-75% (phase corrected), 2CR-50% (phase corrected), Gaussian -50% (phase corrected) ซึ่งผู้วัดจะต้องกำหนดค่าตัวกรองความถี่ให้สัมพันธ์กับลักษณะของชิ้นงานที่ต้องการวัด ไม่เช่นนั้นจะส่งผลให้ค่าที่วัดออกมาได้นั้นไม่ตรงกับค่าของชิ้นงาน 

นอกจากนี้เรายังต้องกำหนด Cutoff length (ระยะทางในการกรองค่าความถี่ ของความยาวผิวที่ต้องการวัด) และค่า Sampling length (ค่าความยาวที่หัววัดเคลื่อนที่บนชิ้นงานที่ต้องการวัด) โดยจะต้องปรับตั้งค่าทั้งสองนี้ให้ถูกต้อง ซึ่งหน่วยความยาวก็จะขึ้นกับมาตรฐานที่ใช้ด้วย เช่น หน่วยนิ้ว หรือ มิลลิเมตร

มาตรวิทยาการวัดความเรียบผิว

โดยทั่วไปการวัดความเรียบผิวของชิ้นงาน สามารถวัดออกมาในสามแบบ คือ

1) แสดงค่าสถิติ (Statistical descriptors) เช่น ความหยาบผิวเฉลี่ย Ra ความหยาบผิวรากกำลังสองเฉลี่ย Rq หรือ ความสูงกลางของลักษณะความหยาบ Rc เป็นต้น
2) แสดงค่าสูงสุดต่ำสุด (Extreme value descriptors) ซึ่งในบางลักษณะงานอาจต้องการแสดงค่าสูงสุดและต่ำสุดของความหยาบผิว เช่น จุดสูงสุด Rp จุดต่ำสุด Rv
3) แสดงค่าลักษณะพื้นผิว (Texture descriptors) เช่น โดยทั้งหมดนี้ ค่าสถิติ Ra เป็นค่าที่ดีที่สุดและได้รับการยอมรับในงานด้านวิศวกรรมมากที่สุด
 
ดังนั้นในการพิจารณาซื้อเครื่องวัดความเรียบผิว เราจึงต้องมีความเข้าใจหลายอย่าง ทั้งเรื่องคุณสมบัติของเครื่องวัด มาตรฐานต่างๆที่เครื่องวัดสามารถวัดได้ และพารามิเตอร์ต่างๆที่เราจะต้อง กำหนดให้สอดคล้อง โดยดูจากข้อกำหนดทางวิศวกรรมของผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงาน
 
โดยเราจะขอใช้เครื่องมือวัดความเรียบผิว Mitutoyo SURFTEST SJ-410 ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดรุ่นปรับปรุงใหม่ล่าสุด ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมทั่วไป มาเป็นตัวอ้างอิง เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจวิธีการเลือกเครื่องวัดที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลการวัดที่แม่นยำ และมีความน่าเชื่อถือสูง
 
 
เครื่องวัดความเรียบผิวแบบพกพา SURFTEST SJ-410 Series รุ่นปรับปรุงใหม่ล่าสุด

 

มาพร้อมตัวเลือกมากมายที่ช่วยให้การวัดง่ายขึ้น ราบรื่นยิ่งขึ้น และมีความเที่ยงตรงมากขึ้น

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Sumipol

 

จุดเด่นของเครื่องวัดความเรียบผิว SJ-410 มีอะไรบ้าง?

เพิ่มขีดความสามารถสำหรับการวัดหน้างาน

  • จอภาพ LCD แบบสีประสิทธิภาพสูงที่สามารถแสดงผลการคำนวณและรูปโปรไฟล์ที่วัดได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้สามารถตรวจสอบผลการวัดได้โดยไม่ต้องสั่งพิมพ์ผลออกมา 
  • หน้าจอสัมผัส เพื่อการใช้งานที่ง่ายยิ่งขึ้น สามารถสับเปลี่ยนการแสดงผลบนหน้าจอระหว่างไอคอนและข้อความ ทำให้ได้รับคุณประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน
  • ไฟแบ็คไลท์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

รองรับการใช้งานหลายภาษา 

อินเตอร์เฟสของจอแสดงผลที่รองรับการใช้งานมากถึง 16 ภาษา

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

รองรับการเชื่อมต่อหลากหลายรูปแบบ

อินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายนอกที่ติดตั้งมาให้มีทั้งแบบ USB, RS-232C, SPC และ Footswitch I/F

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

รองรับการใช้งานเมมโมรี่การ์ด (อุปกรณ์เสริม)

สามารถบันทึกเงื่อนไขสำหรับการวัดและข้อมูลที่วัดลงในเมมโมรี่การ์ด (อุปกรณ์เสริม) และเรียกใช้งานได้ตามต้องการ ทำให้สามารถทำการวิเคราะห์และพิมพ์ชุดข้อมูลภายหลังการวัดที่หน้างาน

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

รองรับการถ่ายโอนข้อมูลแบบสายและไร้สาย

สามารถใช้งานร่วมกับสาย USB Input Tool และระบบไร้สาย U-WAVE เพื่อถ่ายโอนข้อมูลการวัดเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูล

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

การป้องกันด้วยรหัสผ่าน 

สามารถจำกัดการเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ โดยใช้รหัสผ่าน สามารถกำหนดรหัสผ่านไว้ล่วงหน้าเพื่อจำกัดการปรับค่าเงื่อนไขสำหรับ การวัดและการตั้งค่าอื่นๆ ตามเงื่อนไขของผู้ดูแลเครื่องวัด

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

สามารถทำการวัดได้ภายในปุ่มเดียว

สามารถทำการวัดซ้ำชิ้นงานเดิมได้อย่างง่ายดายเพียงกดปุ่มสตาร์ทก็สามารถทำการวัด วิเคราะห์ และพิมพ์ออกมา ได้ในขั้นตอนเดียว

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

มีเครื่องพิมพ์ที่สามารถสั่งพิมพ์ผลการวัดออกมาได้อย่างรวดเร็วที่หน้างาน

เครื่องพิมพ์ความร้อนคุณภาพสูงที่สามารถพิมพ์ผลการวัดออกมาได้อย่างรวดเร็ว สามารถพิมพ์กราฟ BAC curve หรือ ADC curve พร้อมทั้งผลการคำนวณและรูปโปรไฟล์ที่วัดได้ ผลการวัดและรูปโปรไฟล์เหล่านี้จะถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบแนวนอนเหมือนกับที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ LCD แบบสี

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

มาตรฐานสำหรับการใช้งาน 

เครื่อง Surftest SJ-410 สอดคล้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมต่อไปนี้ : JIS (JIS-B0601-2001, JIS-B0601-1994, JIS B0601-1982), VDA,ISO-1997, และ ANSI


การวัดที่มีความเที่ยงตรงสูง

อุปกรณ์รับสัญญาณที่มีช่วงการวัดที่กว้าง มีความละเอียดและชุดขับเคลื่อนที่มีค่าความตรงสูง

Mitutoyo SURFTEST SJ-410 Series

ใช้งานง่ายและฟังก์ชันการวัดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มาพร้อมกับฟังก์ชันการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องวัดความเรียบผิวแบบตั้งโต๊ะ

  • สามารถทำการวัดได้ทั้งแบบ Skidded และ Skidless
  • ตัวเครื่องมีชุดปรับความสูง/ความเอียง พร้อมระบบแนะนำจากฟังก์ชัน D.A.T. 
  • ฟังก์ชันตัดสินผล GO/NG
  • ฟังก์ชันสำหรับการวัดพื้นที่แคบ
  • ฟังก์ชันวิเคราะห์รูปทรงอย่างง่าย
  • ฟังก์ชันการสุ่มตัวอย่างจริง
  • การตั้งค่าความยาวสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดเอง
  • สามารถคำนวณข้อมูลที่วัดก่อนหน้าใหม่อีกครั้งเพื่อใช้ในการประเมินแบบอื่นๆ ได้ด้วยการเปลี่ยนมาตรฐานที่ใช้ โปรไฟล์ที่วัด และพารามิเตอร์ความเรียบผิว
  • การประเมินผลการวัดเดียวภายใต้สองเงื่อนไข การประเมินที่แตกต่างกัน

 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เครื่องวัดความเรียบผิว SJ-410

การใช้เครื่องวัดความเรียบผิว SJ-410 ช่วยให้ได้การควบคุมคุณภาพในระดับที่สูงขึ้นนอกจากตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในกระบวนการผลิตแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมาก สามารถลดความผิดพลาดในระบบการผลิต ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการได้อีกด้วย

หากคุณสนใจใช้ เครื่องวัดความเรียบผิว SJ-410

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงไลน์การผลิตในแนวทางของลีน ด้วยอุปกรณ์ IoT ที่ทันสมัย และบริการออกแบบระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม การใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า รวมถึงการประกอบติดตั้งเชื่อมต่อการทำงานของเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น