ผู้ผลิตจะปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างไร ? สุมิพล คอร์ปอเรชั่น

ผู้ผลิตจะปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างไร ?

อัปเดตล่าสุด 11 ก.ค. 2565
  • Share :
  • 3,268 Reads   

หลายคนคงจะคุ้นหูกับคำว่า “Industry 4.0” ที่ปัจจุบันเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ต้องเผชิญ สำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมที่จะต้องทำความเข้าใจแนวคิด พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ด้วยโซลูชันที่ทันสมัยมาใช้ในอุตสาหกรรมแทนการทำงานในรูปแบบเดิม เช่น  Artificial Intelligence (AI) หรือ Machine Learning (ML), Internet of Things (IoT), Augmented Reality (AR) หรือ Virtual Reality (VR) เพื่อเป็นตัวช่วยในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถแข่งขันกับตลาดอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไปได้ และเป็นการมุ่งพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)  

- (Artificial Intelligence (AI) : ปัญญาประดิษฐ์ คือ ชุดของโค้ด, อัลกอลิทึมต่าง ๆ เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด สามารถคิด วิเคราะห์ วางแผนการตัดสินใจได้เสมือนมนุษย์ เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลจำนวนมาก

- Machine Learning (ML) : การสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยการใช้ข้อมูล เปรียบเสมือนสมองของ AI เรียนรู้จากข้อมูลที่เราส่งไปกระตุ้น แล้วจดจำเอาไว้เป็นในหน่วยประมวลผลของสมองกล ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขหรือ Code โดยอาศัยโปรแกรม Algorithm ในการประมวลผล

- Internet of Things (IoT) : การเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องป้อนข้อมูล

- Augmented Reality (AR) : เทคโนโลยีที่นำวัตถุ 3 มิติ มาจำลองเข้าสู่โลกจริงของเรา มีหลักการทำงานคือการใช้ Sensor ในการตรวจจับภาพ, เสียง, การสัมผัสต่าง ๆ แล้วสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาผ่านระบบ Software ซึ่งผู้ใช้งานต้องอาศัยการมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น แว่นตา, จอภาพ หรือคอนแทคเลนส์ ที่เป็น Hardware

- Virtual Reality (VR) : เทคโนโลยีการจำลองโลกเสมือนที่แยกจากความเป็นจริง โดยผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองมาได้ผ่านอุปกรณ์เช่น แป้นพิมพ์, เม้าส์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ

โจทย์ใหญ่ของอุตสาหกรรมการผลิตนี้ที่ต้องพิจารณา ก็คือเป็นการเพิ่มการลงทุน ยกระดับองค์กรเพื่อเข้าสู่ “Smart Manufacturing” ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร  และปรับกระบวนการทำงานสู่รูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลในส่วนที่รับผิดชอบแบบ Real-Time

โดยคาดการณ์ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญเมื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยกัน 5 ประการ ประกอบด้วย 

  • อุตสาหกรรมการผลิตจะปรับตัวเป็น “โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)” อย่างเต็มรูปแบบ
  • องค์กรเริ่มตื่นตัวและตระหนัก (The Fear of Missing Out) ถึงการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจ 
  • Big Data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่จะกลายเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีการทำงานแบบโรงงานอัจฉริยะ ทำให้ข้อมูลจากทุกส่วนงานสามารถนำมาใช้ร่วมกันกับเทคโนโลยีได้
  • การนำระบบ Automation และ Machine Vision มาใช้เพื่อช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ส่งเสริมแรงงานมนุษย์ในการขับเคลื่อนธุรกิจทางองค์กร
  • ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการผลิตจะมีแนวโน้มสูงขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จึงสำคัญและเป็นความจำเป็นต่อกระบวนการผลิต

ผู้ผลิตจะปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างไร ? สุมิพล คอร์ปอเรชั่น

วิธีก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (How to start with Industry 4.0) 

แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่หลากหลายให้เลือก แต่ก้าวแรกเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์กิจการ (Due Diligence) เพื่อให้มองเห็นถึงโอกาสในการปรับปรุงจุดอ่อนทางธุรกิจ และความท้าทายในการดำเนินงาน ผลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้ใช้งานจริงรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้ใช้งานในอนาคต (Persona-based) ที่เครือข่ายผู้ใช้ทางธุรกิจทั้งผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้า หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหารสามารถเข้าถึงได้  

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0 เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกขององค์กร ส่งผลให้เกิดแผนงานอย่างเป็นระบบพร้อมขั้นตอนและผลลัพธ์ เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานไปอีกขั้น 

ผู้ผลิตจะปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างไร ? สุมิพล คอร์ปอเรชั่น

 

ผสานเทคโนโลยีเข้ากับการดำเนินงานในแต่ละวัน (Integrating technology into day-to-day operations)

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นสำคัญที่ควรมุ่งเน้น คือ “เทคโนโลยีสามารถประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในแต่ละวันได้อย่างไร?” 

ในการทำงานแบบใหม่ด้วย Digital strategy คือการทำ Business strategy ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร รวมเข้ากับกลยุทธ์การปฏิบัติการ (Operation strategy) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติการ และพนักงานในสายการผลิตจะต้องเห็นด้วยกับ Digital Solutions นี้ รวมไปถึงการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการปรับใช้โซลูชันที่เหมาะสมจะช่วยให้การทำงานประจำวันง่ายขึ้นอย่างมาก

การนำศักยภาพของ Industry 4.0 มาใช้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานผลิตในทุกด้าน ซึ่งครอบคลุม วิศวกรรมกระบวนการผลิต  ระบบการผลิต มาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบำรุงรักษา ความปลอดภัยของพนักงาน  คลังสินค้า การบริการหลังการขาย และความยั่งยืน เทคโนโลยีจะช่วยให้สามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ในขณะที่การดำเนินงานยังคงมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนที่ต่ำลง

ในการเริ่มต้นนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับผู้ปฏิบัติงานสิ่งแรกที่ต้องมุ่งเน้น คือ ข้อมูลในการดำเนินงานต้องเข้าถึงได้ จึงจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์ปัญหาแก้ไข และปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ 

กุญแจสำคัญ คือ การทำให้ความรู้และข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้นพร้อมสำหรับพนักงานทั่วทั้งองค์กร  สามารถเข้าถึงได้แบบ Real-Time โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในส่วนของการผลิต การพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ที่ปฏิบัติงานจริงเท่านั้น ถึงจะสามารถสานต่อโซลูชันเทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานในแต่ละวัน

ด้วยข้อมูลพื้นฐานที่พร้อมใช้งานนี้ ผู้ผลิตจะสามารถสร้างโซลูชันที่ผสานเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลและการวิเคราะห์บน Cloud, AI หรือ Machine Learning 

มีผู้ผลิตจำนวนมากทั่วโลกกำลังพยายามหาโซลูชัน Digital ต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้กับโรงงานผลิตตลอดจนการเปลี่ยนเป็น  'โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)' ซึ่งมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ขั้นสูง หุ่นยนต์และซอร์ฟแวร์ต่าง ๆ ที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความสามารถในการตัดสินใจได้ดีขึ้น

“Digital Twin” หรือการจำลองสถานการณ์สมมติแบบ What-if (What-if Analysis) ได้สร้างชื่อเสียงอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต  สามารถวางแผนปรับกระบวนการให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Digital Twins เพื่อช่วยฝึกผู้ปฏิบัติงานและวิศวกรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการโต้ตอบและทำ Scenario Test แบบดิจิทัล หรือจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อวัดผลกระทบ ทำให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงโซลูชันมากขึ้น

- Digital Twin คือ การสร้างแบบจำลองวัตถุขึ้นในโลกดิจิทัล ทั้งในรูปแบบภาพและข้อมูล จากนั้นในการใช้งานจะดึงข้อมูลไปวิเคราะห์ และสร้างสถานการณ์จำลอง สำหรับธุรกิจ ความสามารถของ Digital Twin จะสามารถช่วยเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การประเมินเวลาที่จะซ่อมบำรุง การสร้างสถานการณ์สมมติ การตรวจสอบการทำงานร่วมกันของเครื่องจักรที่หลากชนิด นอกจากนี้ Digital Twin อาจสามารถช่วยในการแจ้งเตือน และเริ่มดำเนินขั้นตอนในการทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อสถานะของวัตถุบ่งบอกว่าต้องการ Action บางอย่างอย่างต่อเนื่อง

ยังมีเครื่องมือต่าง ๆ มากมายที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบการผลิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุค 4.0 นี้ จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงกรณีของการนำเทคโนโลยีและโซลูชันการทำงานไปปรับใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเข้ากัน ในปัจจุบันเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและผู้ให้บริการเริ่มนำเสนอโซลูเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น ในขณะที่การยอมรับการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ในอนาคตเราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้เป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน

บทสรุปของการกระตุ้นการปฏิวัติด้านอุตสาหกรรมเพื่อก้าวสู่ Industry 4.0 ผู้ผลิต และผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือ และมีแผนรองรับในเรื่องของแรงงานทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานในหน่วยเองก็ต้องมองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน จึงจะพร้อมต่อการปรับตัว การเข้าถึงเทคโนโลยีที่เท่าเทียมกันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการปรับปรุงทักษะของพนักงาน และการฝึกอบรมในระดับภูมิภาค ซึ่ง “ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถรอดจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งใหม่นี้ได้ คือ การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาทักษะ ขีดความสามารถ เพื่อให้องค์กรสามารถคิดค้น สร้างรูปแบบธุรกิจใหม่จากความคิดเดิมได้เร็วขึ้น” 

บริการด้าน AUTOMATION SOLUTION และการปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

“สุมิพล คอร์ปอเรชั่น” บริษัทชั้นนำผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรกลและเครื่องมืออุปกรณ์มาตรฐานคุณภาพสูงแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก ที่ครอบคลุมงานทุกด้านในการผลิต ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากกว่า 10,000 ราย ในหลากหลายอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมายาวนานกว่า 30 ปี  

พร้อมให้คำปรึกษาในงานออโตเมชั่น อุปกรณ์ IoT หรือ IoT Artchitecture สำหรับการทำงานในโรงงาน หรือเปลี่ยนโรงงานให้กลายเป็น Smart Factory IoT รวมไปถึงการวินิจฉัยไลน์การผลิตจากหน้างานจริง เพื่อพัฒนาวางแผนปรับปรุง และแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับการผลิต 

ผู้ผลิตจะปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างไร ? สุมิพล คอร์ปอเรชั่น

พร้อมพัฒนาปรับปรุงเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตเดิมของท่าน ให้ครอบคลุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและครบวงจรในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่

 

สนใจเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม

สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง

สามารถติดต่อได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

 

Reference

1. The Manufacturer,”How can manufacturers accelerate the adoption of Industry 4.0 ?”, April 26, 2022, From https://www.themanufacturer.com/articles/how-can-manufacturers-accelerate-the-adoption-of-industry-4-0/

2. Jason Bergstrom,” Five Predictions for 2022, ‘The Year of the Smart Factory’”, December 21, 2021 , From https://www.industryweek.com/technology-and-iiot/automation/article/21212415/five-predictions-for-2022-the-year-of-the-smart-factory

3. CAT datacom News & promotion,”รู้จักกับ Digital Twin – เมื่อวัตถุต่าง ๆ มีฝาแฝดอยู่ในโลกดิจิทัล”, November 26, 2019, From https://www.cattelecom.com/cat/siteContent/3631/275/