ภาพรวมของอุตสาหกรรมแผนวงจรพิมพ์ไทย

ภาพรวมของอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ไทย

อัปเดตล่าสุด 4 ก.ค. 2567
  • Share :
  • 1,472 Reads   

สถานการณ์ของแผงวงจรพิมพ์ไทยในปัจจุบัน

อุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากแผงวงจรพิมพ์ เป็นชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด โดยทิศทางของอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ในอนาคตจะเป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งอุตสาหกรรมหนึ่ง เนื่องจากความต้องการในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ อกจากนั้นยังมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติซึ่งนำมาใช้ในอนาคตเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการผลิตสมัยใหม่ (4.0) การลงทุนขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่เส็งให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ยิ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์เป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น



ภาพรวมของแผงวงจรพิมพ์ไทยในช่วงปี 2017 - 2022 พบว่า การผลิตแผงวงจรพิมพ์ในไทยเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศและมีการส่งออกไปยังตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการนำเข้าแผงวงจรพิมพ์จากต่างประเทศ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไทยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในไทยยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีของการผลิตแผงวงจรพิมพ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดตันทุนการผลิต โดยในปี 2022 ไทยมีการส่งออกแผงวงจรพิมพ์ไปยังจีนมากป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 16) และส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 12) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 12) มากเป็นลำดับถัดมา ส่วนจีนเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าแผงวงจรพิมพ์มากเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 45) และยังนำเข้าจากเวียดนาม (ร้อยละ 19) และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 11) เป็นลำดับถัดมา


จากกราฟ แสดงให้เห็นว่าไทยมีการส่งออกแผงวงจรพิมพ์ลตลงในช่วงปี 2022 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนเซมิคอนตักเตอร์ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป เช่น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนออนไลน์หรือการทำงานที่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการและตันทุนของราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาของเงินเฟ้อ รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลต่อการส่งออกแผงวงจรมพ์ของไทย นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการส่งออกแผงวงจรพิมพ์ของไทยในปี 2023 โดยการส่งออกจะลดลงจาก 1,963 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 เป็น 1,289ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023

ไทยมีการผลิตแผงวงจรพิมพ์ อย่างแพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์ของไทยหลายแห่งที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตแผงวงจรพิมพ์ขนาดล็กสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิเช่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ IT อื่น ๆ ขณะเดียวกันก็มีบางบริษัทที่สามารถผลิตแผงวงจรพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อใช้ในอุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องเล่นเกม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่มีการติดตั้งวงจรที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์ที่สำคัญระดับโลกและสามารถรองรับการผลิตแผงวงจรพิมพ์ตามความต้องการของตลาดโลกได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตแผงวงจรพิมพ์เพื่อรองรับการใช้งานในภูมิภาคเอเชีย



จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการแผงวงจรพิมพ์ในไทยจำนวน 24 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสามารถในการรับจัางผลิตและผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าในปริมาณมาก ครอบคลุมไปถึงส่วนการให้บริการและการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว นอกจากนี้ การมีผู้ประกอบการแผงวงจรพิมพ์ขนาดใหญ่หลายรายยังป็นการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมอื่น เนื่องจากอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่เป็นฐานการพัฒนาของอุตสาหกรรมอื่น ๆ  เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยานยนต์ และการแพทย์ เป็นต้น



กระบวนการผลิตแผนวงจรพิมพ์


 

กระบวนการผลิตแผงวงจรพิมพ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 

ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของปัจจัยการผลิต (Input) ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่

1)  Base Materials เป็นวัสดุฐานที่ทำหน้าที่รองรับวัสดุทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น แข็ง และไม่นำไฟฟ้า เนื่องจากเป็นฉนวน ประกอบด้วย

  • แผ่นอีพ็อกซี่ฟื้นอลิกเรซิน (Epoxy Phenolic Resin) เป็นแผ่นที่มีความเป็นฉนวนสูง น้ำหนักเบา สามารถทนต่อความชื้นและเปลวไฟ จึงเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์
  • ฟอยล์ทองแดง (Copper Foil) เป็นแผ่นทองแดงบาง ๆ และเป็นวัสดุอิเล็กโทรสติกประจุลบ สามารถยึดติดกับแผ่นฉนวนได้ง่าย ใช้ในการป้องกันแม่เหล็กไฟฟ้าและป้องกันไฟฟ้าสถิตย์
  • เส้นด้ายใยแก้ว (Fiber Glass Yarn) เป็นเส้นใยสิ่งทอที่ไม่ติดไฟ ความเหนียวสูง และนิยมใช้เป็นฉนวนสำหรับอาคารเนื่องจากมีต้นทุนต่ำ
  • ผ้าใยแก้ว (Fiber Glass Fabric) เป็นวัสดุที่ทำจากเส้นใยแก้ว มีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อนสูง ความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักเบา แข็งแรง และทนต่อการเสียดสีและสารเคมีในระดับสูง
  • ฟิล์มไมล่า (Mylar) เป็นฟิส์มโปร่งแสง แข็งแรง ทนความร้อน และมีคุณสมบัติเป็นฉนวนอย่างดี

2) Copper Clad Laminate (CCL) (Flexible) เป็นวัสดุทองแดงที่ถูกรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ มีความยืดหยุ่น อ่อนตัว และสามารถนำไฟฟ้ได้ ใช้ในการเชื่อมต่อแผงวงจรพิมพ์เข้าด้วยกัน มีหลายประเภท เช่น

  • กระดาษเคลือบทองแดง Phenolic (Paper Phenolic CCL) ผลิตจากกระดาษคราฟท์ฟอกขาวมีต้นทุนต่ำและเหมาะสำหรับกระบวนการเจาะ โดยทั่วไปจะใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์ต่อพ่วงไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ด้านการสื่อสาร
  • แผ่นคอมโพสิต (Composite Board Material) เป็นวัสดุที่เกิดจากการนำคุณสมบัติของวัสดุต่างชนิดมาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้วัสดุชนิตใหม่ที่มีคุณภาพสูงมีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแกร่ง และทนรับกับทุกสภาวะอากาศที่มีความเป็นกรดด่างหรือความชื้นที่แตกต่างกัน มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถใช้งานได้ดีทั้งภายนอกและภายในอาคาร
  • แผ่นลามิเนต FR4 (FR4-CCL) เป็นวัสดุทนไฟซึ่งทำจากอีพ็อกซี่เรซินและผ้าใยแก้วภายใต้อุณหภูมิและแรงตันสูง มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในแผงวงจรพิมพ์เนื่องจากมีความแข็งแรงสูง ไม่ดูดซึมน้ำและกั้นความร้อน10
  • แผ่นลามิเนตเคลือบทองแดงแบบยืดหยุ่น (FCCL) เป็นส่วนประกอบหลักของแผงวงจรมพ์แบบยืดหยุ่น ประกอบด้วยชั้นของทองแดงฟอยส์และโพสีอิไมต์11 ซึ่งใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าและฉนวน

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของขั้นตอนในการผลิตแผงวงจรพิมพ์ (Process) โดยการนำปัจจัยการผสิตแต่ละส่วนประกอบมาเชื่อมต่อกันให้เกิดเป็นชั้น (Layer) ปรับแต่ง (Customize) ด้วยกระบวนการเจาะ (Drilling) อบ (Oven) ใช้กล้องฉายแสง (Dry Film) อัดด้วยความร้อน (Lamination) และกระบวนการอื่น ๆ รวมไปถึงการนำส่วนทองแตงที่ไม่ต้องการออกด้วยกระบวนการฉายแสง และการใช้สารเคมีหรือน้ำกรดในการขึ้นไลน์วงจร (Etching) นอกจากนี้ ยังมีการทำเป็นชั้นเพื่อป้องกันการออกซิเดชัน (Oxidation) เนื่องจากทองแดงเป็นโสหะที่ไวต่อการออกซีไตซ์ รวมถึงมีการโคทติ้ง (Coating) หรือการเคลือบผิวเพื่อเพิ่มความเงาและป้องกันสิ่งแปลกปลอม ด้วยกระบวนการเหล่านี้จะทำให้ได้แผงวงจรพิมพ์ที่เป็นฉนวนและมีลักษณะแบน โดยแผงวงจรพิมพ์เป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสามารถยึดชิ้นส่วนและเป็นทางเดินสัญญาณไฟฟ้าของอุปกรณ์อิเล็กหรอนิกส์ต่าง ๆ ที่อยู่บนวงจร ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของผลผลิต (Output) ที่ได้ ซึ่งแผงวงจรพิมพ์แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

  • แผงวงจรพิมพ์แบบด้านเดียว (Single-Sided PCB) เป็นแผงวงจรพิมพ์ที่นิยมใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยที่สุด ราคาไม่แพงและง่ายต่อการประกอบ โดยแผงวงจรพิมพ์ประเภทนี้มีวัสดุฐานเพียงชั้นเดียวและปลายด้านหนึ่งของพื้นผิวแผงวงจรพิมพ์เคลือบด้วยโลหะบาง ๆที่เป็นทองแดงเพราะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ซึ่งโดยทั่วไปมักจะถูกนำมาใช้ในเครื่องคิดเลขและของเล่นอิเล็กทรอนิกส์
  • แผงวงจรพิมพ์แบบสองด้าน (Double-Sided PCB) เป็นแผงวงจรมพ์ที่ฐานทั้งสองมีชั้นโลหะและชิ้นส่วนเชื่อมต่อกันทั้งสองด้านและมีรูบนแผงเพื่อให้ทำงานง่ายขึ้น เหมาะสำหรับงานที่มีความชับซ้อน เช่น ระบบโทรศัพท์มือถือ การตรวจสอบพลังงาน อุปกรณ์ทดสอบ และเครื่องขยายเสียง เป็นต้น
  • แผงวงจรพิมพ์แบบหลายชั้น (Multilayer PCB) เป็นแผงวงจรพิมพ์ที่ประกอบด้วยตัวนำไฟฟ้า อย่างน้อย 3 ชั้น มีพื้นผิวมาก ขนาดกะทัตรัด น้ำหนักน้อย และมีความยืดหยุ่นต่อการออกแบบในระดับสูงจึงเหมาะสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความชับซ้อน เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเส็ต และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • แผงวงจรพิมพ์แบบยืดหยุ่น (Flex PCB) เป็นแผงวงจรพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีความยึดหยุ่นสูงสามารถงอ บิด หรือพับให้พอดีกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยแผงวงจรพิมพ์ประเภทนี้จะนำไปใช้ในงานที่ต้องการการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่น เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือทางการแพทย์และกล้องถ่ายรูป เป็นต้น
  • แผงวงจรพิมพ์แบบแข็ง-ยืดหยุ่น (Rigid-Flex PCB) คือ การรวมเป็นแผงวงจรพิมพ์ที่รวมแผงวงจรพิมพ์แบบแข็งและยืดหยุ่นเข้าด้วยกัน ซึ่งถูกออกแบบและสร้างในรูปแบบ 3 มิติ ทำให้สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่จะใช้ได้ โดยจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น


สถานการณ์ของแผงวงจรพิมพ์ไทยในอนาคต

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังเผชิญกับแรงกดตันจากสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน หรือ Trade War ที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดมาตรการปฏิบัติกำหนดทางด้านการลงทุน กรรักษาสิทธิบัตรประกันการลงทุน การปฏิบัติกำหนดทางเทคนิค และข้อกำหนดด้านการเข้าถึงตลาดภายในสหรัฐอเมริกา โดยข้อจำกัดดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงในระบบการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ และการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผสให้มีการพยายามลดตันทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาดและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ต้องการผลิตชิ้นส่วนอิเส็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยมากขึ้น การแข่งขันด้านราคาที่จีนต้องเผชิญกับประเทศอื่นที่มีค่าแรงต่ำกว่า ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียตลาดหรือขาดแคลนลูกค้าถ้าไม่สามารถลดตันทุนการผลิตได้เพียงพอ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบการควบคุมการค้าระหว่างประเทศที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของจีน หากมีการกำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้นหรือมีการจำกัดการนำเข้า จึงทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จีนอาจต้องปรับตัวเพื่อหาตลาดใหม่หรือเปลี่ยนแนวทางการผลิตและต้องรับมือกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้ต้องลงทุนในการวิจัยและพัฒนาใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสมัยใหม่

จากแรงกดดันที่เกิดขึ้นในจีน ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของจีนโดยเฉพาะแผงวงจรพิมพ์ต้องเร่งหาแหล่งผลิตที่ 2 นอกประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าและบริหารต้นทุนการผสิตให้มีประสิทธิภาพ โดยจีนมีแนวโน้มจะขยายฐานการผสิตที่ไทยเป็นจำนวนมาก เพราะมีปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุน เช่น ไทยมีความสามารถในการผลิตและมีความชำนาญในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ค่าแรงของแรงงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการที่ไทยถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจีน รวมถึงการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์และอุปกรณ์สื่อสาร สอดคล้องกับเป้าหมายของไทยที่มีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smat City) และการยกระดับอุตสาหกรรมโดยใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีติจิทัล ทำให้มีความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มากขึ้นด้วย

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน ทำให้ในปี 2023 เริ่มมีผู้ประกอบการจากจีนวางแผนมาขยายฐานการผลิตแผงวงจรพิมพ์ในไทยมากขึ้น รวมทั้งประเทศอื่น เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ เยอรมนี และญี่ปุ่น ก็มีการวางแผนจะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ในไทยด้วยเช่นกัน

ประเทศที่คาดว่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ในไทยปี 2023 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการสัญชาติไต้หวันและจีน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการส่งออกสินค้าแผงวงจรพิมพ์ของ Global Trade Atlas ที่ระบุว่าทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกแผงวงจรพิมพ์อันดับตัน ๆ ของโลก

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนต่างซาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ไทย

จากการที่หลายประเทศวางแผนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ไทย อาจส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยการลงทุนของต่างชาติในไทยจะทำให้เกิดการจัางงานภายในประเทศเพิ่มขึ้นและทำให้ผู้ประกอบการหรือแรงงานไทยได้รับความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ เกิดการพัฒนาฝีมือและความสามารถของคนไทย นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอื่นเช่นเดียวกัน เนื่องจากอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์เป็นฐานการพัฒนาที่สำคัญของอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ยานยนต์อัจฉริยะ ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เป็นต้น ซึ่งหากมีผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นก็จะทำให้ไทยกลายเป็นคสัสเตอร์แผงวงจรพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระดับโลกได้

ในขณะเดียวกัน ความต้องการแผงวงจรที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแผงวงจรพิมพ์เนื่องจากทรัพยากรไม่เพียงพอต่อความต้องการในการผลิต นอกจากนี้ การที่บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมากจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยรายเล็กและรายย่อยมีจำนวนลดลง เนื่องจากอาจเกิดการแย่งแรงงานไทยจากบริษัทต่างชาติที่มีขนาดใหญ่กว่าและผู้ประกอบการรายเล็กไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้

สรุป

ไทยถือเป็นผู้ส่งออกแผงวงจรพิมพ์ที่สำคัญของโลก โดยมีผู้ประกอบการแผงวงจรพิมพ์ในไทยหลายแห่งทั้งที่เป็นผู้ประกอบการสัญชาติไทยและต่งชาติ เนื่องจากไทยมีการผสิตแผงวงจรพิมพ์อย่างแพร่หลาย ทำให้ประเทศต่าง ๆ อย่างจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องการขยายฐานการผลิตและหาฐานผลิตแห่งใหม่นอกประทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนการผลิตแผงวงจรพิมพ์ในไทย โดยสถานการณ์ในอนาคตของการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์จากบริษัทต่างชาติยังคงเป็นที่จับตามอง โดยเฉพาะจีนที่ต้องการเร่งหาแหล่งผลิตที่ 2 นอกประเทศ

โดยในเดือนเมษายนปี 2023 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ได้มีการหารือกับทางสมาคมผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์ของจีนเพื่อเตรียมแผนขยายการลงทุนในไทยแบบคสัสเตอร์ และให้ไทยเป็นฐานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรพิมพ์ส่งออกตลาดโลก นอกจากนี้ สมาคมผู้ผสิตแผงวงจรพิมพ์ ฮ่องกงและไต้หวัน ได้เดินทางมาไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับการลงทุนการผลิตแผงวงจรพิมพ์ในไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของไทยสำหรับผู้ประกอบการแผงวงจรพิมพ์และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และกลุ่มอุปกรณ์สื่อสาร โดยการลงทุนในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้บริษัทแผงวงจรพิมพ์ในไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนให้บริษัทในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทยสามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมนี้ได้ด้วย




 

บทความนี้จัดทำโดย

แผนกนโยบายและแผน ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH