กรณีศึกษา: กรอบการพัฒนาฯ Horizon Europe ของสหภาพยุโรป สู่การเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมโลก
สหภาพยุโรป (The European Union: EU) เป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีประชาคมโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และสังคม โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา การส่งออกของสหภาพยุโรปขยายตัวร้อยละ 14.78 (%YOY) และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.61 (% YOY) ซึ่งสหภาพยุโรปมีแนวคิดเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องผ่านกรอบการพัฒนาฯ Horizon Europe
โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปกำลังดำเนินการตามกลยุทธ์ภายใต้แผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021-2024) ซึ่งมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ตลอดจนสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและประเทศนอกสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้น แผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะนำเสนอบทวิเคราะห์ตอนที่ 5 (ตอนจบ) กรณีศึกษา: กรอบการพัฒนาฯ Horizon Europe ของสหภาพยุโรปสู่การเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมโลก ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาโดยย่อของกรอบการพัฒนาฯ และโอกาสของสินค้าในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ Smart Factory, Smart Home, Smart Hospital, Smart Farm และ EV เพื่อนำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้
สหภาพยุโรปได้ดำเนินการจัดทำ Horizon Europe ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาทางวิจัยและนวัตกรรมแห่งยุโรปลำดับที่ 9 (ปี 2021 - 2027 และเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของสหภาพยุโรปในการนำไปใช้พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยการเสริมสร้างฐานความรู้ผ่านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพการเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรม โดยในช่วงแรกจะเป็นการจัดทำแผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ซึ่งจะกำหนดแนวทางและเป้าหมายของงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมของสหภาพยุโรป ตลอดจนสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและประเทศนอกสมาชิกสหภาพยุโรป
ภาพรวมการค้าของสหภาพยุโรป
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปปี 2022 มีการเติบโตร้อยละ 11.16 จากปี 2021 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 14,621,342 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี (ปี 2013-2022) ของสหภาพยุโรป สำหรับการนำเข้าสินค้าของสหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 3.97 หรือมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 5,262,667 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เป็น 7,469,306 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022
ขณะที่การส่งออกสินค้าของสหภาพยุโรป มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 2.89 หรือมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 5,536,785 ส้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เป็น 7,152,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 ซึ่งสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (HS 84 และ HS 85) เป็นสินค้าที่สหภาพยุโรปนำเข้าและส่งออกมากที่สุดอันดับ 1 โดยมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 21.1 และร้อยละ 21.8 ตามลำดับ และสินค้าเชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่และผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
การกลั่นสิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขที่ได้จากแร่ (HS 27) เป็นสินค้าที่สหภาพยุโรปนำเข้าและส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีสัดส่วนร้อยละ 17.1 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ส่วนประเทศคู่ค้าหลักของสหภาพยุโรป คือ เยอรมนี
ภาพรวม Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024)
สหภาพยุโรปได้จัดทำแผนกลยุทธ์ Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ภายใต้กรอบการพัฒนาทางวิจัยและนวัตกรรมแห่งยุโรปลำดับที่ 9 หรือ Horizon Europe ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ปี 2021 - 2027 กรอบพัฒนาฯ ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของสหภาพยุโรปในการนำไปใช้พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยการเสริมสร้างฐานความรู้ผ่านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพการเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป ภายใต้แผนกลยุทธ์ Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ได้กำหนดกลยุทธ์เป้าหมายสำหรับการวิจัยและการลงทุนด้านนวัตกรรมไว้ 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมความเป็นอิสระเชิงกลยุทธ์แบบเปิดโดยเป็นผู้นำการพัฒนาในด้านดิจิทัลที่สำคัญ เทคโนโลยีอุบัติใหม่ การพัฒนาของภาคส่วนต่าง ๆ และห่วงโซ่คุณค่ในยุโรปเพื่อเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
กลยุทธ์ที่ 2 ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรปและส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาระดับความมั่นคงทางอาหารและสร้างสังคมไร้มลพิษให้แก่ประชาชน
กลยุทธ์ที่ 3 ทำให้ยุโรปเป็นเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนแห่งแรกที่ใช้ระบบดิจิทัลและความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่านการเปลี่ยนแปลงระบบการเดินทาง พลังงาน การก่อสร้าง และการผลิต
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการสร้างสังคมที่พร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สังคมเพื่อคนทั้งมวลและสังคมแห่งประชาธิปไตย เพื่อต่อสู้และรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติ มุ่งแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคม จัดหาระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพและสร้างขุมพลังให้แก่พลเมืองในการก้าวสู่สังคมดิจิทัลและสังคมสีเขียวไปด้วยกัน
ภายใต้แผนกลยุทธ์ Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) มีการกำหนดคลัสเตอร์ในการพัฒนาไว้ 6 คลัสเตอร์ ได้แก่ 1) คลัสเตอร์สุขภาพ (Health) 2) คลัสเตอร์วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของสังคม (Culture, Creativity and Inclusive Society) 3) คลัสเตอร์ความมั่นคงของประชากรเพื่อสังคม (Civil Security for Society) 4) คลัสเตอร์ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ (Digital, Industry and Space) 5) คลัสเตอร์สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง (Climate, Energy and Mobility) 6) คลัสเตอร์อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม (Food, Bieconomy, Natural Resources, Agriculture and Environment)
ซึ่งทั้ง 6 คลัสเตอร์จะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จตาม 4 กลยุทธ์เป้าหมาย โดยคลัสเตอร์หลักที่มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คือ คลัสเตอร์ที่ 4 คลัสเตอร์ดิจิทัลอุตสาหกรรมและอวกาศ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาตามแผนกลยุทธ์เป้าหมายต่าง ๆ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1: การส่งเสริมความเป็นอิสระเชิงกลยุทธ์แบบเปิดโดยเป็นผู้นำการพัฒนาในด้านดิจิทัลที่สำคัญ เทคโนโลยีอุบัดีใหม่ การพัฒนาของภาคส่วนต่าง ๆ และห่วงโซ่คุณค่า
คลัสเตอร์ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ จะสนับสนุนแนวทางของสหภาพยุโรปในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีที่เนันมนุษย์เป็นศูนย์กลางโดยดำเนินการสอดคล้องกับสังคมและค่นิยมทางจริยธรรมของสหภาพยุโรป ขับเคลื่อนการปฏิวัติปัญญาประดิษรู้ในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญในห่วงโซ่คุณค่าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เทดโนโลยีคอมพิวเตอร์ ข้อมูล และการสื่อสารประสิทธิภาพสูงระดับโลก (รวมถึงการเชื่อมต่อควอนตัมและการสื่อสารที่ไปไกลกว่า 5G) จะได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยจัดการกับการคันหาโซลูซันที่ปลอดภัยและเป็นนวัตกรรมในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตหรือภัยพิบัติ รวมไปจนถึงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล และหุ่นยนต์จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยุโรป ตั้งแต่การผลิตจนถึงการดูแลสุขภาพ
กลยุทธ์ที่ 2: ฟื้นฟูระบบนิเวดและความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรปและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
คลัสเตอร์ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ สนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารและการปกป้องสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยีใหม่ที่
ช่ วยให้สามารถใช้งานขั้นสูงสำหรับการเกษตร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบอาหาร การป่าไม้และการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมรวมไปจนถึงการตรวจสอบพืชผลและการทำฟาร์มที่แม่นยำหรือปรับปรุงการควบคุมการประมงโดยการรวมภาพและข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หุ่นยนต์อัจฉริยะหรือโดรนและข้อมูลจากดาวเทียม
กลยุทธ์ที่ 3: ขับเคลื่อนสหภาพยุโรปให้เป็นเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนแห่งแรกที่ใช้ระบบดิจิทัลและความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาตและเศรษฐกิจ
คลัสเตอร์ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปเพื่อให้มีความเป็นกลางต่อสภาพอากาศ ไร้มลพิษ ประหยัดพลังงาน และแข่งขันได้ทั่วโลกภายในปี 2050 อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการใช้ทรัพยากรของเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรม
กลยุทธ์ที่ 4: ส่งเสริมการสร้างสังคมที่พร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สังคมเพื่อคนทั้งมวลและสังคมแห่งประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
คลัสเตอร์ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ ช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางสังคม การสร้างงานที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงผ่านการใช้นวัตกรรมทางสังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคนงาน ผู้บริโภค และพลเมืองให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างทั่วถึง
นอกจากคลัสเตอร์ที่ 4 ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ ยังมีคลัสเตอร์ที่ 1 สุขภาพ (Health) คลัสเตอร์ที่ 5 สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง (Climate, Energy and Mobility) และดลัสเตอร์ที่ 6 อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Food, Bioeconomy, Natural Resources, Agriculture and Environment) ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสหภาพยุโรปภายใต้แผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) โดยมีรายละเอียดดังนี้
คลัสเตอร์ที่ 1 สุขภาพ มีส่วนช่วยในการพัฒนาทั้ง 4 กลยุทธ์ในการเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ โดยการสนับสนุนเครื่องมือ เทคโนโล่ยีและโซลูชันดิจิทัลที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ราคาไม่แพง และคุ้มค่าสำหรับการส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้น รวมไปจนถึงการป้องกันโรค การวินิจฉัย การรักษา และการติดตามผลตัานสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจะมีเทคโนโลยีและการบริการด้านสุขภาพที่ทันสมัยด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้ระบบการดูแลสุขภาพและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในสหภาพยุโรปมีความยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้มากขึ้น
คลัสเตอร์ที่ 5 สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสีเขียวของสหภาพยุโรป โดยมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งการพัฒนาระบบพลังงาน ระบบขนส่งให้อัจฉริยะ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สหภาพยุโรปรักษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมขนส่งของยุโรปได้
คลัสเตอร์ที่ 6 อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาในหลายกลยุทธ์ เช่น ในกลยุทธ์ที่ 4 จะมีส่วนช่วยในด้านความยั่งยืนผ่านการใช้ความรู้ เครื่องมือ และการคาดการณ์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นตัน ทั้งนี้ การสนับสนนการวิจัยและนวัตกรรมจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืน
ภาพรวมการค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรป
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2013 - 2022) สหภาพยุโรปเป็นผู้นำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดของโลกมาโดยตลอด เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีอำนาจการซื้อสูงอันตับต้น ๆ ของโลก โตยเมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) พบว่า CAGR ของการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 6.79 หรือมูลค่าการนำเข้าจาก 596,333 ล้านตอลลาร์สหรัฐ ในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 1,077,293 ล้านตอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 และ CAGR ของการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรป อยู่ที่ร้อยละ 4.49 หรือมูลค่าการส่งออกจาก 609,320 ล้านตอลลาร์สหรัฐ ในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 904,953 ล้านตอลลาร์สหรัฐในปี 2022
สำหรับภาพรวมการค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรปในปี 2022 ที่ผ่านมา พบว่า สหภาพยุโรปมีการค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ารวม 1,982,246 ล้านตอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการนำเข้ามูลค่า 1,077,293 ล้านตอลลาร์สหรัฐ และการส่งออกมูลค่า 904,953 ล้านตอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่สหภาพยุโรปนำเข้าสูงสุด 3 อันตับแรก ไต้แก่ สินค้า เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ สินค้าวงจรรวมและสินค้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งนำเข้าจากจีน เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์เป็นหลัก ขณะที่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่สหภาพยุโรปส่งออกสูงสุด 3 อันตับแรก ได้แก่ สินค้าวงจรรวม สินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์และสินค้าเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังเยอรมนี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เป็นหลัก
แผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ของสหภาพยุโรปกับการสนับสนุนการเติบโตของ Smart Domain
สหภาพยุโรปมีแผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาทางวิจัยและนวัตกรรมโดยสนับสนุนการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพการเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรม เพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยการเสริมสร้างฐานความรู้ผ่านการวิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ยังมีการสนับสนุนการเดิบโตของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5 กลุ่ม ได้แก่ ได้แก่ โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) เกษตรอัจฉริยะ (smart Farm) ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อยกระดับใหัสหภาพยุโรปเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมโลก
กลยุทธ์ภายใต้แผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ของแต่ละคลัสเตอร์จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา Smart Factory ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคลัสเตอร์ ที่ 4 จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้เพื่อการเป็นโรงงานอัจฉริยะ ได้แก่ การใช้หุ่นยนต์ เพื่อประกอบรถยนต์ เป็นตัน อย่างไรก็ตาม นอกจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแล้ว การเพิ่มทักษะด้านความรู้ (Hard skills) และทักษะด้านอารมณ์และสังคม (Soft skills) ให้กับประชาชนก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน
แม้ว่าจากแผนกลยุทธ์ Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) จะไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Smart Home โดยตรง แต่จะมีความเชื่อมโยงกันผ่านการใช้ดิจิทัลและบริการสุขภาพ ซึ่งจะเป็นรากฐานของการพัฒนา Smart Home ที่สำคัญ
จากคลัสเตอร์ที่ 1 สุขภาพมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการพัฒนา Smart Hospital โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ ตันแบบที่สำคัญของการนำไปสู่การพัฒนา Smart Hospital และสนับสนุนบริการด้นสุขภาพที่ยั่งยืนให้กับประชาชน ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับสู่การเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ เช่น การใช้ AI ตรวจติดตามสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย เป็นต้น
จากการพัฒนาคลัสเตอร์ที่ 4 ดิจิทัล อุตสาหกรรมและอวกาศ และคลัสเตอร์ที่ 6 อาหาร จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้งานด้านการเกษตรมีการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น เช่น การตรวจสอบพืชผลและการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ซึ่งเป็นหนึ่งของการพัฒนาด้าน Smart Farm
ตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น การใช้ข้อมูลหรือภาพ (Image and Data) การใช้หุ่นยนต์หรือโดรน (Robots or Drones) ตลอดจนการใช้ดาวเทียมบอกตำแหน่งต่าง ๆ (Satellites) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการพัฒนา Smart Farm ได้ นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังมีแนวทางการใช้ข้อมูลจากเรือธงในอวกาศของยุโรป Copernicus, Galileo และ EGNOS เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในด้านการตรวจสอบบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยอย่างมากต่อการพัฒนา Smat Farm
สหภาพยุโรปให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EV) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ไม่ได้ปรากฏแผนพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมในกรอบการพัฒนาฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ แนวทางการเน้นพัฒนาด้นพลังงานสะอาด (Clean Energy) และการลดการปล่อยก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคตเพื่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีขึ้น สามารถบอกได้ว่าการพัฒนายานยนต์ไฟฬาจะมีส่วนสําคัญในสนับสนุนตามแนวทางการพัฒนาของสหภาพยุโรปในอนาคต
บทสรุป...แผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024)
สหภาพยุโรปมุ่งเนันการพัฒนาทางวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้กรอบการพัฒนาทางวิจัยและนวัตกรรม (Horizon Europe) ปี 2021 - 2027 เพื่อการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี โดยได้จัดทำแผนกลยุทธ์ Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์เป้าหมายสำหรับการวิจัยและการลงทุนด้านนวัตกรรมไว้ 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมความเป็นอิสระเชิงกลยุทธ์แบบเปิดโดยเป็นผู้นำการพัฒนาในด้านดิจิทัลที่สำคัญ เทคโนโลยีอุบัติใหม่ การพัฒนาของภาคส่วนต่างห่วงโซ่คุณค่าในยุโรป 2) ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรปและส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 3) ทำให้ยุโรปเป็นเครษฐกิจแบบหมุนเวียนแห่งแรกที่ใช้ระบบติจิทัลและความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและ 4) ส่งเสริมการสร้างสั งคมที่พร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
นโยบายกรีนดีล (European Green Deal)
นอกจากแผน Horizon Europe Strategic Plan (ปี 2021 - 2024) แล้ว สหภาพยุโรปยังให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศที่ควบคู่กับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้กำหนดแนวนโยบายต้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย เช่น นโยบายกรีนดีล (European Green Deal) ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊ซเรือนกระจกลงร้อยละ 50-55 ภายในปี 2030 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เป็นต้น โดยตัวอย่างมาตรการสิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบายกรีนดี เช น 1) กลไกการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) 2) ข้อเสนอสำหรับการปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับแบตเตอรี่ของสหภาพยุโรปให้ทันสมัยภายใต้ Circular Economy Action Plan 3) ฉลากพลังงาน (Energy Labels) และ 4) ระเบียบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และขยะจากเครื่องใช้ไฟฟ้า (WEEE) เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย แม้ว่ากฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญอย่างมากมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้ประกอบการ แต่หากมองอีกต้านหนึ่งก็อาจเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เช่น แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
ปัจจุบันสหภาพยุโรปเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญและเป็นตลาดส่งออกอันตับตัน ๆ ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภายใต้กรอบการพัฒนาฯ หรือนโยบายทางด้านสิ่งแวคล้อมดังกล่าว เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยหลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยสามารถเตรียมความพร้อมและปรับตัวได้เร็วก็จะเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการขยายการลงทุนในตลาดสหภาพยุโรปได้ด้วย
บทสรุปโอกาสของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไทยในตลาดโลก
จากการศึกษาแผนยุทธตาสตร์ของประเทศที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของโลก ได้แก่ เกาหลีไตั (South Korea) สิงคโปร์ (Singapore) สหรัฐฯ (USA) ไต้หวัน (Taiwan) และสหภาพยุโรป (EU) ทำให้เห็นทิศทางการพัฒนาที่มาจากยุทธตาสตร์ระดับชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งทุกประเทศล้วนให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีดวบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยควรศึกษายุทธตาสตร์ระดับชาติของแต่ละประเทศรวมถึงนโยบายอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการปรับรูปแบบสินค้าสู่การเป็นสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงแสวงหาโอกาสในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิเลีกทรอนิกส์อัจฉริยะทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ Smart Factory, Smart Home, Smart Hospital,Smart Fam ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและขยายส่วนแบ่งทางการตลาดของไทยในตลาดโลกให้มากขึ้นและมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะโลก
บทความนี้จัดทำโดย
แผนกนโยบายและแผน ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)