Mazak-Thailand-Takeshi-Nomiyama

Mazak Thailand เผย 3 อุตสาหกรรมที่น่าลงทุน

อัปเดตล่าสุด 27 ก.พ. 2562
  • Share :
  • 768 Reads   

Mazak Thailand หนึ่งในผู้นำโซลูชันเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต อาทิ เครื่องจักรมัลติทาสกิ้ง (Multi-Tasking) , เครื่อง 5 แกน (5-axis) ,เครื่องกัด (milling), เครื่องกลึง (turning) และระบบอัตโนมัติและควบคุมเครื่องจักร CNC (CNC controls และ automation) โดย Mr. Takeshi Nomiyama ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มาซัค (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยกับข่าวออนไลน์ เอ็ม รีพอร์ต (M Report) ว่า 3 อุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพและน่าสนใจต่อนักลงทุน คือ อุตสาหกรรมอากาศยาน (Aerospace) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) ของประเทศไทยมีศักยภาพและโอกาศในการเติบโต โดยมาซัคได้วางเป็นตลาดเป้าหมายของบริษัทฯ เช่นกัน ติดตามรายละเอียดในบทสัมภาษณ์นี้

Mazak-Thailand-Technology-Center

มุมมองต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย
“เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ตามที่หลายสื่อได้รายงานตัวเลขที่ลดลงของอัตราการส่งออก และ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไทยและสำนักวิเคราะห์ต่างประกาศผลการคาดการณ์ไว้ว่า GDP ในปี 2562 จะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 3.75% ซึ่งลดลงจาก 4.1% แต่ผมมองว่าหากเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้ว ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตที่ลดลงนี้เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่แน่ใจส่วนของปี 2020 มากนัก 


ในส่วนของ Machine Tools นั้น ด้วยความต้องการภายในประเทศไทยที่สูงขึ้น ผมจึงมองว่าจะยังคงมีการเติบโตอย่างมั่นคง นอกจากนี้ยังมีความต้องการจากบริษัทญี่ปุ่นส่วนหนึ่งซึ่งชะลอการลงทุน รวมไปถึงการลงทุนจากรัฐบาลท้องถิ่นของไทย ผมจึงมองว่าในปีนี้ แม้ตลาด Machine Tools จะไม่ดีเท่าปีที่แล้ว แต่ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่


นอกจากนี้ ทางเรายังได้รับอานิสงค์จากยอดสั่งซื้อเครื่องจักรที่เข้ามาในปีก่อนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในปีนี้เราจึงจะมุ่งไปที่การผลิตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และจัดส่งให้กับลูกค้าให้เร็วยิ่งขึ้น”

โอกาสและความท้าทายที่ต้องเผชิญ

“โครงการซึ่งภาครัฐให้การสนับสนุน อย่าง EEC ซึ่งมีการผลักดันอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น อากาศยาน เครื่องมือแพทย์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และอื่น ๆ รวมถึง MRO (Maintenance, repair and Overhaul) หรือศูนย์ซ่อมอากาศยานและการบำรุงรักษาที่อู่ตะเภา กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจรายใหญ่หลายรายเข้าลงทุนภายในพื้นที่ อย่างในกรณีของมาซัคเองก็ได้รับประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเราได้รับของสั่งซื้อเครื่องจักรจำนวนมากจากธุรกิจรายใหญ่ค่ายยุโรปที่มาลงทุนก่อตั้งโรงงานในพื้นที่นี้ ซึ่งผมมองว่า การเข้ามาลงทุนของกลุ่มธุรกิจเหล่านี้เอง ที่จะเป็นโอกาสอันดีในช่วงปี - 2 ปีนี้


ส่วนความท้าทายนั้น ผมมองว่าที่ผ่านมา 60 - 70% ของ Machine Tools ที่ใช้ภายในประเทศไทยเป็นของผู้ผลิตเครื่องจักรค่ายญี่ปุ่น ทำให้เกิดการแข่งขันภายในหมู่ผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่แล้ว ผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่นประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน ทำให้การจัดส่งสินค้าเกิดความล่าช้า จึงผลักดันให้ยอดสั่งซื้อไปอยู่ที่ผู้ผลิตค่ายไต้หวันและจีน จนทำให้เครื่องจักรไต้หวันและจีนมีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า และราคาที่ถูกกว่าเป็นจุดแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องตัดเลเซอร์ ทำให้เรามองว่า การแข่งขันกับเครื่องจักรราคาต่ำนี่เอง ที่เป็นความท้าทายสำหรับผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่น”

เป้าหมายและยุทธศาสตร์ขององค์กร

“เป้าหมายของเรา คือ การนำเสนอเครื่องจักร และเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับงานตัดให้กับลูกค้า รวมไปถึงบริการหลังการขายที่รวดเร็ว และการสนับสนุนในด้านแอปพลิเคชัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เรามีศูนย์เทคโนโลยี MAZAK อยู่หลายแห่งทั่วโลก เพื่อทำงานด้าน R&D รองรับการทำวิจัยและพัฒนาโซลูชันที่ก้าวหน้าให้ลูกค้าในแต่ละภูมิภาค ด้วยการลงทุนเช่นนี้ทำให้มาซัคเองจึงเป็นผู้นำโซลูชันเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตได้


สำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้จัดตั้ง”ศูนย์เทคโนโลยี MAZAK ประเทศไทย” เช่นกัน เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของลูกค้าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการโรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตล่าสุด โดยศูนย์เทคโนโลยีแห่งนี้ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมและลูกค้าในประเทศไทย ด้วยการสาธิตและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงรวมถึงการฝึกอบรมที่หลากหลายและครอบคลุม โดยให้บริการทั้งก่อนการขายและหลังการขาย” 


ในช่วง 3 ปีนับจากนี้ “อุตสาหกรรมอากาศยาน” และ “อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์” คืออุตสาหกรรมหลักที่ มาซัคจะมุ่งเน้น และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้มากยิ่งขึ้นจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีความเห็นว่า สองอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อันเป็นปัจจัยภายนอกไม่มากนัก แม้กระทั่งในภาวะที่ตลาดมีการการชะลอตัวก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ยานยนต์ เป็นต้น


นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอากาศยานในไทยยังอยู่ในช่วงจุดเปลี่ยน แม้จะยังมีผู้เล่นน้อยราย แต่ก็มีผู้ผลิตที่หันมาผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์อากาศยานเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกับแนวโน้มการเข้ามาลงทุนของผู้ผลิตอากาศยานค่ายยุโรปในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า อุตสาหกรรมอากาศยานไทย อาจมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในอนาคตอีกด้วย”

Mazak-Thailand-Technology-Center