M Report
อีเวนต์อื่นๆ

ชวนอบรมหลักสูตร "การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA)" วันที่ 23-24 เม.ย.67 ณ สถาบันยานยนต์

อัปเดตล่าสุด 14 เม.ย. 2567
  • Share :
  • 707 Reads   

สถาบันยานยนต์ (THAILAND AUTOMOTIVE INSTITUTE) จัดฝึกอบรมหลักสูตร "การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA)" ในวันที่ 23-24 เมษายน 2567 ณ สถาบันยานยนต์ กล้วยน้ำไท **มีค่าอบรม 4,280 บาท** 

หลักสูตรการวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ

FMEA Requirement and Implementation Training Course:1st Edition 2019- AIAG-VDA

หลักการและเหตุผล

การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) เป็นข้อกำหนดหลักในขณะนี้ที่ผู้ผลิตและส่งมอบในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการบริหารคุณภาพในองค์กรภายใต้ระบบบริหารคุณภาพ ISO/IATF 16949 ใช้ในการบริหารและวางแผนระบบการผลิตของผู้ส่งมอบ โดยใช้กลวิธีเชิงวิเคราะห์ในขณะการออกแบบผลิตภัณฑ์ DFMEA (องค์กรที่มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์) และ/หรือ ในขณะการออกแบบกระบวนการ PFMEA (ทุกองค์กรที่มีการผลิตและบริการ) โดยผู้เกี่ยวข้อง (คณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายแผนก) ร่วมกันประชุมในการนำกลวิธีวิเคราะห์ไปใช้เป็นแนวทางเพื่อประกันแต่เนิ่น ๆ ต่อขอบเขตที่อาจเป็นไปได้ว่าข้อขัดข้องด้านศักยภาพและกลไก/สาเหตุที่ก่อตัวขึ้นในการสร้างปัญหา จะได้รับการพิจารณาและกำหนดมาตรการดำเนินการ เพื่อให้คุณภาพของชิ้นส่วนที่ได้รับมอบมีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อพนักงานประกอบของลูกค้าและผู้ใช้ (ผู้ขับขี่ยานยนต์) และสอดรับกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

วัตถุประสงค์  เพื่อให้ทราบถึง

  • หลักการวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) และนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างถูกต้อง
  • ความแตกต่างระหว่าง DFMEA และ PFMEA
  • เข้าใจหลักการกำหนด AP (Action priority) แทนการคำนวณผลระดับคะแนนความเสี่ยง (Risk Priority Number)
  • เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของ คณะทำงาน (Crosse Function Team ) การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) และใครบ้างที่ควรร่วมเป็นคณะทำงาน

หัวข้อการฝึกอบรม

  • แนะนำการวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA)
  • รายละเอียดความต้องการ DFMEA การสร้างเอกสาร และทดลองปฏิบัติ ที่ครอบคลุม 6 steps ได้แก่ scope definition, structure analysis, function analysis, failure analysis, risk analysis และ optimization
  • รายละเอียดความต้องการ PFMEA การสร้างเอกสาร และทดลองปฏิบัติ ที่ครอบคลุม 6 steps ได้แก่ scope definition, structure analysis, function analysis, failure analysis, risk analysis และ optimization
  • Step ที่ 7 เรื่องของการจัดทำรายงานและเอกสาร

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการผลิตและคุณภาพ เช่น วิศวกรรม,ฝ่ายผลิต, ควบคุมคุณภาพ, ประกันคุณภาพ,วางแผนการผลิต,การตลาด,จัดซื้อ,คลังสินค้า เป็นต้น

ระยะเวลาการอบรม : จำนวน 2 วัน

วันที่อบรม : 23-24 เมษายน 2567 ณ สถาบันยานยนต์ กล้วยน้ำไท

รายละเอียดหลักสูตรhttps://url.in.th/GUvbH 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : แผนกพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์
E-mail : [email protected] และ [email protected]
โทร : 0-2712-2414 ต่อ 6028-29 โทรสาร 0-2712-2415
 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH